ฤทธิ์ป้องกันภาวะเกล็ดเลือดต่ำของใบมะละกอ

การศึกษาฤทธิ์ป้องกันเกล็ดเลือดต่ำของใบมะละกอ (Carica papaya L.) ในหนูแรทที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenic) จากการได้รับยาบูซัลแฟน (Busulfan) พบว่าเมื่อป้อนส่วนสกัดอัลคาลอยด์ด้วยปีโตรเลียมอีเธอร์ หรือส่วนสกัดอัลคาลอยด์ด้วยเอธิลอะซีเตทจากใบมะละกอ ขนาด 200 มก./กก.น้ำหนักตัว หรือสาร carpaine ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ที่แยกได้จากสารสกัดใบมะละกอ ขนาด 20 มก./กก.น้ำหนักตัว ติดต่อกัน 20 วัน สามารถป้องกันการเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำในหนูแรทที่ได้รับยาบูซัลแฟนได้ โดยหนูแรทที่ได้รับสารสกัดจากมะละกอทั้ง 3 รูปแบบ จะคงปริมาณเกร็ดเลือดให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปกติ คือ 662.25±33.12x109/ล., 584.02±29.20x109/ล., 555.5±27.77x109/ล. ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มที่ได้ยาบูซัลแฟนจะเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (78.00x109/ล.) โดยไม่พบรายงานการเกิดพิษหรือความผิดปกติในสัตว์ทดลองที่ได้รับสารสกัดมะละกอ การศึกษานี้จึงเป็นการยืนยันถึงประสิทธิภาพของใบมะละกอและสาร carpaine ในการป้องกันการเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

J Ethonopharmacol 2016;181:20-5