ฤทธิ์ลดน้ำตาลและต้านการอักเสบของเพชรสังฆาต

การศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลและต้านการอักเสบของลำต้นเพชรสังฆาต (Cissus quadrangularis L.) ในหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเกิดการอักเสบและชักนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีด nicotinamide/ streptozotocin จากนั้นทำการป้อนหนูแรทด้วยส่วนสกัด ethyl acetate จากลำต้นเพชรสังฆาต (CQSF) ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว ติดต่อกันเป็นเวลา 60 วัน พบว่า CQSF ป้องกันการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด และค่าน้ำตาลสะสมในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน รวมทั้งช่วยปกป้องตับ ยับยั้งการอักเสบ โดยลดปริมาณ mRNA ของ tumor necrosing factor-alpha, interleukin-6 และ nuclear kappa-beta ในส่วนเนื้อเยื่อสะสมไขมันลง และลดการเกิด lipid peroxidation ควบคู่กับการเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ CQSF ยังช่วยปกป้องตับ โดยลดดัชนีชี้วัดความเป็นพิษต่อตับลง และเมื่อตรวจสอบลักษณะทางกายวิภาคพบว่า CQSF ช่วยป้องกันความเสียหายทางโครงสร้างของตับและตับอ่อน ซึ่งฤทธิ์ลดน้ำตาลและต้านการอักเสบของเพชรสังฆาตของ CQSF นี้ให้ผลเทียบเท่าการให้ป้อนยารักษาเบาหวาน metformin 100 มก./กก. น้ำหนักตัว และเมื่อทำการวิเคราะห์สารสำคัญใน CQSF ด้วย ESI-MS และ GC-MS พบว่ามี quercetin และ phenol, 2,4-bis(1,1-dimethylethyl) ตามลำดับ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าส่วนสกัด ethyl acetate จากลำต้นเพชรสังฆาตสามารถรักษาอาการเบาหวานได้โดยอาศัยกระบวนการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการอักเสบเป็นสำคัญ

Phytomedicine 2015;22:592-60