ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของชาตะไคร้

การทดสอบฤทธิ์ของชาใบตะไคร้ (Cymbopogon citratus ) ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอลเป็นเวลา 1 ชม. โดยแบ่งหนูออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำ 1 ชม. ก่อนถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำอย่างเดียว กลุ่มที่ 3 ได้รับชาอย่างเดียว กลุ่มที่ 4 และ 5 ได้รับชา ขนาด 28 และ 56 มก./กก.นน. ตัว ตามลำดับ เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล กลุ่มที่ 6 ได้รับชา ขนาด 28 มก./กก. เป็นเวลา 2 ชม. ก่อนถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล กลุ่มที่ 7 และ 8 ได้รับชา ขนาด 28 และ 56 มก./กก. ตามลำดับ เป็นเวลา 1 ชม. หลังถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล และกลุ่มที่ 9 ได้รับชา ขนาด 28 มก./กก. เป็นเวลา 2 ชม. หลังถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล ผลพบว่าชาใบตะไคร้ทั้ง 2 ขนาด มีฤทธิ์ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ทั้งก่อนและหลังการถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับชา ซึ่งผลที่ได้ไม่ขึ้นกับขนาดที่ใช้ นอกจากนี้ยังพบว่า ประสิทธิภาพในการป้องกันจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อระยะเวลาที่อยู่ในกระเพาะอาหารของชาใบตะไคร้เพิ่มขึ้น

J Ethnopharmacol 2015;173:134-8.