ศึกษาฤทธิ์ลดไขมันของสารสกัด polyphelol จากดอกเก๊กฮวย ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดและในตับสูง โดยการเลี้ยงด้วยนมที่มีไขมันสูง จากนั้นป้อนสารสกัด polyphenol จากดอกเก๊กฮวยขนาดวันละ 75, 150 และ 300 มก./กก. ตามลำดับ นาน 6 สัปดาห์ เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองทำการชำแหละซาก แยกเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อตับเพื่อตรวจวิเคราะห์ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเทคนิคทางจุลกายวิภาคศาสตร์ (histological techniques) วิเคราะห์การแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างและสลายไขมันด้วยเทคนิค reverse transcription polymerase chain reaction และ western blot analysis และเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมีที่เปลี่ยนแปลง จากการทดลองพบว่า หนูที่ถูกป้อนด้วยสารสกัด polyphenol ขนาด 300 มก./กก. มีน้ำหนักของตับและไขมันสะสมในตับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับหนูที่ถูกป้อนด้วยนมที่มีไขมันสูงเพียงอย่างเดียว และพบว่า ค่าคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในตับลดลงอย่างมีนัยสำคัญในหนูกลุ่มที่ป้อนด้วยสกัด polyphenol ขนาด 150 และ 300 มก./กก. เช่นเดียวกับค่าคอเลสเตอรอลและกรดไขมันในเลือด ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญในหนูกลุ่มที่ป้อนด้วยสกัด polyphenol ขนาด 150 และ 300 มก./กก. แต่ไม่พบความแตกต่างของค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของหนูที่ได้รับสารสกัด polyphenol และหนูที่ถูกป้อนด้วยนมที่มีไขมันสูงเพียงอย่างเดียวแต่อย่างใด นอกจากนี้การป้อนสารสกัด polyphenol ยังมีผลลดการแสดงของโปรตีน sterol regulatory element binding protein-1c และ fatty acid synthase ซึ่งเป็นโปรตีนและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ไขมัน และเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน peroxisome proliferator-activated receptor α, lipoprotein lipase และ cholesterol 7α-hydroxylase ซึ่งเป็นโปรตีนและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายไขมันอีกด้วย จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารสกัด polyphenol จากดอกเก๊กฮวยมีฤทธิ์ลดไขมันในตับและเลือดได้
Nutr Res 2014; 34(3): 268-75