ปริมาณแร่ธาตุหลักและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Anti-LDL oxidation) จากใบมันเทศ

จากการศึกษาวัดปริมาณแร่ธาตุหลักได้แก่ เหล็ก, แคลเซียม และแมกนีเซียม รวมทั้งแร่ธาตุรองได้แก่ โครเมียม, โคบอลต์, นิกเกิล, ทองแดง และสังกะสี ในใบของมันเทศ 11 สปีชีส์ ด้วยเทคนิค Inductively-Coupled Plasma - Mass Spectrometry (ICP-MS) ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์แร่ธาตุที่อาศัยกระบวนการคายพลังงานของอะตอม (atomic emission) โดยใช้พลังงานจากพลาสมาในการยิงอิเล็กตรอนให้หลุดจากวงแหวนชั้นนอกของอะตอม ทำให้เกิดไอออนประจุบวกของสารตัวอย่างทำให้ทราบปริมาณของแร่ธาตุได้ จากการทดสอบพบว่าใบมันเทศมีปริมาณแร่ธาตุคล้ายคลึงกับผักใบเขียวทั่วไป ใบมันเทศจำนวน 7 สปีชีส์มีอัตราส่วนของโปแทสเซียมสูงกว่าผักปวยเล้ง จึงมีการแนะนำให้รับประทานใบมันเทศสำหรับต้านภาวะความดันโลหิตสูง และพบว่าใบมันเทศทุกสปีชีส์มีปริมาณของซีลีเนียมและแมงกานีสสูงกว่าผักใบเขียวชนิดอื่นเช่น ผักปวยเล้งและผักบุ้ง จากการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมุลอิสระ ด้วยการวิเคราะห์ออกซิไดซ์ LDL-oxidation induction system พบว่าอนุพันธ์ Caffeoylquinic acid (QCA) ในใบมันเทศมีฤทธิ์ต้าน LDL oxidation ที่ความเข้มข้นต่ำ (1-5 µM) โดยเฉพาะ 3,4,5-triCQA แสดงปฎิกิริยาที่สูงกว่า 5-CQA และ diCQA ได้แก่ 4,5-diCQA, 3,5-diCQA และ 3,4-diCQA ค่าความสัมพันธ์(Correlation Analysis) ระหว่างใบมันเทศและอนุพันธ์ CQA อยู่ที่ r = 0.69-0.75 จากผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบมันเทศ พบว่าใบมันเทศอาจมีฤทธิ์ในการป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวซึ่งมีสาเหตุมาจากการเกิดออกซิเดชั่นของ LDL และนำมาใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพเพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารโพลีฟีนอลที่มีประโยชน์มากมาย

Journal of Food Composition and Analysis 2013;29:117-125