ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการก่อกลายพันธุ์ และการเป็นพิษต่อเซลล์ ของลองกอง

เปลือกผลแห้ง และเมล็ดผงแห้งของลองกองด้วยเอทานอล 50% และ 90% และสารสกัดที่ได้มาจากการนำสารสกัดหยาบที่ได้มาสกัดต่อด้วยไดคลอโรมีเทน 50%เอทานอล น้ำ และเอทิลอะซิเตด มาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการก่อกลายพันธุ์ และการเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัด พบว่าส่วนสกัดด้วยน้ำที่แยกได้จากสารสกัดหยาบด้วย 50%เอทานอล จากเปลือกผลแห้งลองกอง (LDSK50-H2O) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด รองลงมาคือส่วนสกัดด้วยเอทิลอะซิเตทที่แยกได้จากสารสกัดหยาบด้วย 50%เอทานอล จากเปลือกผลแห้งลองกอง (LDSK50-EA) เมื่อทดสอบด้วยวิธี superoxide anion radical scavenging และ hydroxyl radical scavenging ส่วนการเป็นพิษกับเซลล์พบว่าส่วนสกัด LDSK50-H2O และส่วนสกัด LDSK50-EA มีความเป็นพิษต่อเซลล์ลิมโฟบลาสต์ของมนุษย์ชนิด TK6 และ เซลล์ V79 เมื่อทดสอบด้วยวิธี MTT assay ในขณะที่ส่วนสกัด LDSK50-EA เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ด้วยวิธี micronucleus assay พบว่ามีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์เมื่อทดสอบกับเซลล์ลิมโฟบลาสต์ของมนุษย์ชนิด TK6 จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าส่วนสกัดด้วยน้ำ และเอทิลอะซิเตทที่แยกได้จากสารสกัดหยาบด้วย 50%เอทานอล จากเปลือกผลแห้งลองกองมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการก่อกลายพันธุ์ และเป็นพิษต่อเซลล์ ชนิด TK6 และ เซลล์ V79 ซึ่งอาจนำไปใช้ทำการวิจัยต่อเพื่อใช้เป็นยาต้านมะเร็ง และช่วยให้มีสุขภาพที่ดีได้

Thai J Pharm Sci 2012;36:77-80.