สารสกัดจากทับทิมส่งเสริมการสร้างกระดูกในลูกหนูในครรภ์

การศึกษาผลของสารสกัดจากน้ำและเปลือกผลทับทิมต่อกระดูกในลูกหนูเม้าส์ในครรภ์ โดยหนูเม้าส์ ท้องถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว คือ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารใด กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากน้ำทับทิม (PJE) ขนาด 3.3 มล./กก./วัน กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากเปลือกผลทับทิม (PHE) ขนาด 1.0 ก./กก./วัน และกลุ่มที่ได้รับทั้งสารสกัดจากน้ำทับทิมและเปลือกผลทับทิม (PME) โดยจะได้รับการป้อนวันละ 1 ครั้ง ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 วันจนถึง 18 วันและในวันที่ 19 ของอายุครรภ์ ลูกหนูเม้าส์ที่อยู่ในครรภ์จะถูกวัดปริมาณของแคลเซียมในกระดูก ความยาวขา และ osteogenesis index (คำนวณจากความยาวของกระดูกแข็ง (ossified length) หารด้วยความยาวทั้งหมดของกระดูกท่อนนั้น) พบว่าลูกหนูในกลุ่ม PJE มีปริมาณของแคลเซียมในกระดูกมากกว่ากลุ่มควบคุม ขณะที่กลุ่ม PHE และ PME ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ลูกหนูที่ได้รับสารสกัดทั้งสามกลุ่มมีความยาวของกระดูกขาท่อนบน (femur) และค่า osteogenesis index มากกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังทำการศึกษาในหน่อขา (limb-bud) ในหลอดทอลอง พบว่าจำนวนของเซลล์ mesenchymal และปุ่มกระดูกอ่อน (cartilage nodules) และความกว้างของกระดูกในกลุ่ม PJE, PHE และ PME มากกว่าในกลุ่มควบคุม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัตราการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลง (proliferation and differentiation) ที่เพิ่มขึ้น สรุปได้ว่าทับทิมสามารถส่งเสริมกระบวนการสร้างกระดูกในลูกหนูเม้าส์

British Journal of Nutrition 2012;107:683-90