การตอบสนองความไวของสารกลิเซอร์ไรซินจากชะเอมเทศเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวอ้วนที่มีภาวะทางจิต (anorexia nervosa) และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานชะเอมเทศหรือไม่

เป็นการรายงานในผู้ป่วยหญิงอายุ 18 ปี ที่เป็นโรคกลัวอ้วนที่มีภาวะทางจิต (anorexia nervosa) น้ำหนักช่วงที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 35.8 กก. (ดัชนีมวลกาย 12.7 กก./ม.2) 6 เดือน ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลน้ำหนักร่างกายลดลง 17 กก. ซึ่งเป็นผลมาจากผู้ป่วยจำกัดอาหารและการออกกำลังกายที่มากเกินไป แพทย์ทำการรักษาโดยให้รับประทานอาหารที่มีพลังงานเริ่มต้นที่ 4,000 กิโลจูล ใน 2 สัปดาห์แรกจนถึง 10,000 กิโลจูล จนกระทั่งดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้นเป็น 14.5 กก./ม.2 ภายใน 6 สัปดาห์ และผู้ป่วยได้รับการรักษาทางจิตด้วย ซึ่งในขณะนั้นความดันโลหิตและอิเลคโตรไลต์ในเลือดอยู่ในระดับปกติ ในช่วงแรกที่เข้ารับการรักษาพบว่าผู้ป่วยมีภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำและเริ่มมากขึ้นภายใน 1 เดือน แพทย์ทำการรักษาโดยให้โปแตสเซี่ยมคลอไรด์ 6,000 มก./วัน ซึ่งแพทย์พยายามหาสาเหตุของภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) และร่างกายมีภาวะเป็นด่างเกิน (hypokalemic metabolic alkalosis) และพบว่าผู้ป่วยได้รับประทานชะเอมเทศในรูปของขนมหวาน ประมาณ 20 กรัม/วัน มานานมากกว่า 2 เดือน เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าชะเอมเทศมีผลต่อภาวะที่คล้ายกับ hyperaldosteronism (ระดับฮอร์โมนแอลโดสเตอโรนสูงเกินไป และระดับอิเลคโตรไลต์ผิดปกติ ได้แก่ hypokalemia, hypokalemic metabolic alkalosis) แพทย์จึงให้ผู้ป่วยรับประทานชะเอมเทศในรูปขนมหวานขนาด 20 กรัม/วัน (เทียบเท่ากับสารกลิเซอร์ไรซิน 70 มก./วัน) ร่วมกับการให้โปแตสเซียมคลอไรด์ทดแทนขนาด 2,250 มก./วัน นาน 7 วัน พบว่าในช่วงที่รับประทานชะเอมเทศอัตราส่วนระหว่างฮอร์โมนคอร์ติซอล/คอร์ติโซนในปัสสาวะสูงขึ้นเป็น 1.40 และลดลงเป็น 0.85 เมื่อหยุดรับประทานชะเอมเทศ และระดับของโปแตสเซียมในกระแสเลือดอยู่ในระดับปกติในช่วงที่รับประทานชะเอมเทศร่วมกับการให้โปแตสเซียมคลอไรด์ทดแทน จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการรับประทานชะเอมเทศในขนาดที่ต่ำ (น้อยกว่า 100 มก./วัน) จะมีผลต่อความไวของการตอบสนองสารกลิเซอร์ไรซินจากชะเอมเทศซึ่งมีผลกับผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวอ้วนที่มีภาวะทางจิต (anorexia nervosa) และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำได้

Nutrition 2011;27:855-8.