ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพซึ่งเป็นสาเหตุของการบูดเน่าในอาหารจากน้ำมันยูคาลิป

การทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปต่อเชื้อแบคทีเรีย เช่น Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, P. fluorescens, Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus เชื้อรา เช่น Penicillium digitatum, Aspergillus flavus, A. niger, Mucor spp., Rhizopus nigricans, Fusarium oxysporum และยีสต์ เช่น Candida albicans, Sacchromyces cerevisiae  ด้วยวิธี agar dilution/well diffusion และ disc volatilization พบว่าน้ำมันยูคาลิปทั้งในรูปแบบของของเหลวและไอระเหย สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ได้ โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) 2.25 - 9 มก./มล. สำหรับเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา และ 1.13 - 2.25 มก./มล. สำหรับยีสต์ และเมื่อนำน้ำมันยูคาลิปไปวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าในน้ำมันที่อยู่ในรูปของของเหลวประกอบไปด้วย 1,8-cineole (45.4%), limonene (17.8%), p-cymene (9.5%), γ-terpinene (8.8%), α-pinene (4.2%) และ α-terpineol (3.4%) ในขณะที่ไอระเหยประกอบไปด้วย 1,8-cineole (34.6%), limonene (29.9%), p-cymene (10.5%), γ-terpinene (7.4%), α-pinene (4.0%) และ α-phellandrene (2.4%)

Food Chemistry 2011;126:228-35