ผลของไอโซฟลาโวนอยด์จากถั่วเหลืองต่อสมรรถนะด้านความจำ กรดอะมิโนที่กระตุ้นตื่นตัวของสมอง และการทำงานของเอนไซม์อะเซตทิลโคลีนเอสเทอเรสในหนูเม้าส์ที่ได้รับสารอะลูมิเนียมแบบเรื้อรัง

การศึกษาในหนูเม้าส์ 48 ตัว แบ่งหนูโดยการสุ่มออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 16 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารอะลูมิเนียม (ขนาด 100 มล./กก.) ฉีดเข้าทางช่องท้องวันละ 1 ครั้ง กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารอะลูมิเนียม (ขนาด 100 มล./กก.) และรักษาด้วยสารไอโซฟลาโวนอยด์จากถั่วเหลืองขนาด 60 มล./กก.ฉีดเข้าทางช่องท้องวันละ 1 ครั้ง นาน 60 วัน พบว่าหนูเม้าส์กลุ่มที่ได้รับสารสารอะลูมิเนียมแต่เพียงอย่างเดียวความจำไม่ดี 62.5% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับสารอะลูมิเนียมและรักษาด้วยสารไอโซฟลาโวนอยด์จากถั่วเหลือง ความจำไม่ดีเพียง 12.5% ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม (7.5%) ในขณะที่เมื่อดูผลการทำงานของเอนไซม์อะเซตทิลโคลีนเอสเทอเรสในชั้นเยื่อหุ้มสมองของสมองส่วนหน้า และสมองส่วน hippocampus พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารอะลูมิเนียมและรักษาด้วยสารไอโซฟลาโวนอยด์จากถั่วเหลืองจะลดการทำงานของเอนไซม์อะเซตทิลโคลีนเอสเทอเรสเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับสารอะลูมิเนียมแต่เพียงอย่างเดียว และเมื่อดูระดับของกรด aspartic และกรด glutamic ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมองของสมองส่วนหน้า และสมองส่วน hippocampus พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารอะลูมิเนียมและรักษาด้วยสารไอโซฟลาโวนอยด์จากถั่วเหลืองระดับของกรด aspartic และกรด glutamic จะเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับสารอะลูมิเนียมเพียงอย่างเดียวแต่ยังไม่เท่ากับกลุ่มควบคุม จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าสารไอโซฟลาโวนอยด์จากถั่วเหลืองสามารถเพิ่มสมรรถนะด้านความจำในระยะยาว และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซตทิลโคลีนเอสเทอเรสซึ่งจะมีผลให้สารอะเซตทิลโคลีนในสมองไม่ถูกทำลายทำให้ความจำดีขึ้น และยังช่วยเพิ่มสารสื่อประสาทพวกกรด aspartic และกรด glutamic ในหนูเม้าส์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารไอโซฟลาโวนอยด์จากถั่วเหลืองมีศักยภาพในการใช้รักษาหรือป้องกันอาการความจำเสื่อมในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้

Phytotherapy Research 2010;24:1451-6.