ผลของดอกทับทิมต่อการเกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบ

การทดสอบผลของสารสกัดเมทานอล-น้ำ (3:1) จากส่วนดอกทับทิม (Punica granatum  ) ซึ่งอุดมไปด้วย ellagic acid ในหนูเม้าส์ ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในลำไส้ใหญ่ด้วยการดื่มน้ำที่มี 2% dextran sulfate sodium (DSS) เป็นเวลา 7 วัน และฆ่าหนูในวันที่ 8 เพื่อตรวจระดับสาร histamine, myeloperoxidase (MPO) และ superoxide anion (อนุมูลอิสระ) พบว่าการเหนี่ยวนำด้วย DSS ทำให้ระดับของ histamine, MPO และอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ซึ่ง MPO เป็นตัวชี้วัดการเกิดภาวะการอักเสบ และสาร histamine เป็นตัวชี้วัดการเกิด mast cell degranulation การป้อนสารสกัดจากดอกทับทิมในขนาด 100 มก./กก. และ 200 มก./กก. ติดต่อกันทุกวัน โดยเริ่มป้อนก่อนการดื่ม 2% DSS 2 วัน สามารถลดการอักเสบที่เกิดขึ้น โดยลดระดับของ histamine, MPO และอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้น ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวเทียบเท่ากับการได้รับยา sulphasalazine (ยารักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่) ในขนาด 100 มก./กก. และยา sodium cromoglycate (ยาแก้แพ้และเป็น mast cell stabilizing) ในขนาด40 มก./กก. ทำให้สามารถสรุปได้ว่า สกัดดอกทับทิมซึ่งอุดมไปด้วย ellagic acid มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการของภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบในหนูเม้าส์ ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย DSS ด้วยกลไกในการเป็น mast cell stabilizing ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

Phytother Res 2009;23(11):1565-74