ฤทธิ์ชะลอการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวของสารลิกแนนจากลินิน

การศึกษาในกระต่ายที่เหนี่ยวนำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูง โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมที่กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 กินอาหารที่มีไขมันสูง (คอเลสเตอรอล 2.5%) นาน 2 และ 4 เดือน ตามลำดับ และกลุ่มที่ 4 กินอาหารที่มีไขมันสูง นาน 2 เดือน จากนั้นให้กินอาหารที่มีไขมันสูง ร่วมกับสารลิกแนนจากลินิน ขนาด 40 มก./กก. อีก 2 เดือน ผลการทดลองพบว่าสารลิกแนนไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว และระดับของไขมันในเลือด (คอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ LDL-cholesterol, HDL-cholesterol และอัตราส่วนของคอเลสเตอรอลรวมต่อ HDL-cholesterol) ของกระต่าย แต่มีผลลดระดับของ malondialdehyde เพิ่มการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant reserve) ในเนื้อเยื่อของเส้นเลือด aorta (aortic tissue) และลดการสร้างอนุมูลอิสระ (oxygen radical) จากเซลล์เม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ยังมีผลลดการเกิดแผลในเส้นเลือด aorta (atherosclerotic lesion) ได้ 31% สรุปว่าสารลิกแนนมีผลช่วยชะลอการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวกระต่ายที่เหนี่ยวนำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูงได้ โดยมีผลเนื่องมาจากฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระนั่นเอง

J Cardiovasc Pharmacol Ther 2009;14:38-48