การทดลองแบบ ramdomized, double-blind, placebo-controlled ในอาสาสมัครชาวจีนสุขภาพดี อายุระหว่าง 55-72 ปี จำนวน 50 คน (ชาย 25 คน และหญิง 25 คน) แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มแรก (ชาย 12 คน และหญิง13 คน) ให้รับประทานน้ำเกากีฉ่าย 60 มิลลิลิตร วันละ 2 เวลาพร้อมอาหาร (วันละ 120 มิลลิลิตร ที่มี Lycium barbarum polysaccharide 1,632 มิลลิกรัม) นาน 30 วันกลุ่มที่สองให้รับประทานยาหลอกที่มีสี กลิ่น รสชาติเหมือนน้ำเกากีฉ่ายในเวลาและปริมาณที่เท่ากัน แล้วทำการวัดปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดทั้งก่อนและหลังการทดลอง พบว่ากลุ่มที่รับประทานน้ำเกากีฉ่ายมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระเปลี่ยนแปลงไปจากการก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ โดยมี superoxide dismutase และ glutathione peroxidase เพิ่มขึ้น 8.4 % และ 9.9 % ตามลำดับ และ malondialdehyde ลดลง 8.7 % เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่รับประทานยาหลอกและกลุ่มที่รับประทานน้ำเกากีฉ่าย พบว่ากลุ่มที่รับประทานน้ำเกากีฉ่ายมี superoxide dismutase เพิ่มขึ้น 8.1 % glutathione peroxidase เพิ่มขึ้น 9.0 % และ madondialdehyde ลดลง 6.0 % ซึ่งเป็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และในกลุ่มควบคุมเองไม่พบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง การบริโภคเกากีฉ่ายติดต่อกันนาน 30 วันช่วยเพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย และอาจช่วยป้องกันโรคที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้
Nutr Res. 2009 ;29(1):19-25.