การดื่มชาเขียวเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม

การศึกษาแบบ case-control ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 3,454 ราย และอาสาสมัคร 3,474 ราย อายุ 20-74 ปี ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ระหว่างปี 1996-2005 โดยสัมภาษณ์ลักษณะนิสัยในการดื่มชา ซึ่งรวมถึงอายุที่เริ่มดื่มชา ระยะเวลาในการดื่มชา ความเข้ม-อ่อนในการชงชา และปริมาณชาที่ดื่ม พบว่าผู้ที่ดื่มชาเป็นประจำมีอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่มชา ในกลุ่มหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนพบว่าอัตราเสี่ยงลดลง เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับระยะเวลานานและปริมาณการดื่มชา แต่ไม่พบว่าอัตราเสี่ยงลดลงในหญิงวัยหมดประจำเดือน และเมื่อตรวจสอบด้วยยีน COMTrs4680 AA จีโนไทป์ในอาสาสมัครและผู้ป่วยมะเร็งเต้านม (จีโนไทป์นี้ทำให้ Catechol-O -methyltransferase (COMT) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ catalyzes สารโพลีฟีนอลทำงานลดลง) ผู้ที่มีจีโนไทป์นี้อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณโพลีฟีนอลในชา และอาจมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างชาเขียวและการลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม จากการทดสอบไม่พบว่าอาสาสมัครและผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีจีโนไทป์นี้ มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณโพลีฟีนอลที่ได้รับจากชา จึงคาดได้ว่าการดื่มชาเขียวเป็นประจำมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม

The Journal of Nutritional 2008; 139(2):310-6