การยับยั้งการสังเคราะห์พรอสต้าแกลนดินโดยสาร genistein ในถั่วเหลืองต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากในคน และสารไอโซฟลาโวนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

สาร genistein ซึ่งเป็นสารกลุ่มไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองขนาด 10 ไมโครโมล เมื่อศึกษาในเซลล์ PCa และเซลล์เยื่อบุต่อมลูกหมาก พบว่าสามารถลดระดับ mRNA และปริมาณเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (COX-2) (เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก และการสังเคราะห์สารพรอสต้าแกลนดินอี 2) นอกจากนี้ยังพบว่าสาร genistein มีผลลดการหลั่งพรอสต้าแกลนดินอี 2 (Prostaglandin E2) แก่ตัวรับพรอสต้าแกลนดินได้ด้วย และเมื่อทำการศึกษาทางคลินิกแบบ double blind randomized placebo controlled ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก 25 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับสารไอโซฟลาโวนชนิดเม็ด (1 เม็ด เทียบเท่าสารไอโซฟลาโวน 27.2 มก.) วันละ 3 เม็ด เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะได้รับการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก กลุ่มที่ 2 ได้รับยาหลอก พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับสารไอโซฟลาโวนระดับ mRNA ของเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (COX-2) ลดลง แต่ระดับ mRNA ของ p -21 ที่ทำให้เซลล์ตายแบบอะพอพโทซิส (apoptosis) มีค่าเพิ่มมากขึ้น จาการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า การยับยั้งการสร้างสารพรอสต้าแกลนดินของสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองสามารถใช้ในการรักษา/ป้องกันในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากได้

Int J Cancer 2009;124:2050-9