ผลของสารสกัดมะละกอดิบและมะละกอสุกต่อการหายของแผลและผลต่อหนูที่ตั้งครรภ์

เมื่อทาสารสกัดน้ำผงแห้ง (freeze-dried powder) ของผนังผลมะละกอดิบ (Green papaya epicarp : GPE) และมะละกอสุก (Ripe papaya epicarp : RPE) ผสมกับน้ำสะอาด (Sterile deionized water) ขนาด 5 มก./มล. ให้กับหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่หลังขนาด 6 มม. โดยใช้ปริมาณ 10 มคล./วัน ทาที่แผล 2 ครั้ง/วัน ในขณะที่กลุ่มควบคุมให้ทาแผลด้วยน้ำสะอาด (sterile deionized water) และอีกกลุ่มให้ทาด้วยยา solcoseryl ointment และทำการวัดขนาดแผลทุกๆ 72 ชม. ในตอนเช้า พบว่าหนูที่ทาแผลด้วย GPE, RPE น้ำสะอาด และ solcoseryl ointment ขนาดของแผลหายภายใน 13, 17, 18 และ 21 วัน ตามลำดับ ซึ่งสารสกัดของผนังผลมะละกอดิบ (GPE) มีผลทำให้แผลหายเร็วกว่ายาแผนปัจจุบัน solcoseryl ointment และหากป้อนสารสกัด GPE, RPG ให้กับหนูถีบจักรที่ตั้งครรภ์ ทางสายยางให้อาหารขนาด 0.5 มก./ก.นน.ตัว/วัน (แบ่งให้ 2 ครั้ง/วัน) ในขณะที่กลุ่มควบคุมให้ deionized water และอีกกลุ่มให้ยาแผนปัจจุบันที่ทำให้เกิดการแท้ง misoprostol ขนาด 0.2 มคก./ก.นน.ตัว/วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัด GPE ทำให้หนูเกิดอาการแท้ง (คลอดก่อนกำหนด) เร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับยา misoprostol 5 วัน และจำนวนลูกหนูที่รอดชีวิตในกลุ่มที่ได้รับ GPE, RPE, misoprostol และน้ำเท่ากับ 13, 25, 22 และ 72 ตัว ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวหนูเมื่อแรกเกิดของแต่ละกลุ่มเท่ากับ 1.12 ± 0.04, 1.29 ± 0.03, 1.27 ± 0.06 และ 1.38 ± 0.05 ก. ตามลำดับ ซึ่งจากการศึกษาสรุปได้ว่าสารสกัดผนังผลมะละกอดิบจะมีผลช่วยให้แผลหายได้ดีกว่าสารสกัดผนังมะละกอสุกและดีกว่ายาแผนปัจจุบัน solcoseryl ointment แต่สารสกัดผนังผลมะละกอดิบก็จะมีฤทธิ์ทำให้แท้ง (คลอดก่อนกำหนด) ในหนูถีบจักรที่ตั้งครรภ์มากกว่าสารสกัดผนังผลมะละกอสุก และยาแผนปัจจุบัน (misoprostol)

Food Chem Toxicol 2008;46:2384-9