ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของสารสกัดอัลคาลอยด์จากต้นสบู่เลือด

สารสกัดน้ำ (SA) สารสกัดสกัดไดคลอโรมีเทน (SD1 และ SD2) สาร dehydroroemerine, tetrahydroalmatine, xylopinine และ cepharanthine จากต้นสบู่เลือด เมื่อนำไปทดสอบในหลอดทดลองต่อการต้านเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium falciparum   W2 พบว่าสาร dehydroroemerine, cepharanthine และ SD1 มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ P. falciparum   W2 ได้ดีที่สุด ซึ่งค่าความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ยับยั้งได้ 50% (IC50) มีค่าเท่ากับ 0.36, 0.61 ไมโครโมล และ 0.7 มคก./มล. ตามลำดับ (ในขณะที่ IC50 ของ chloroquine ต่อเชื้อมาลาเรียเท่ากับ 0.516 ไมโครโมล) และ IC50 ต่อการทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวในคนมีค่าเท่ากับ 10.8, 10.3 ไมโครโมล และมากกว่า 250 มคก./มล.ตามลำดับ ในขณะที่สาร cepharanthine, SD1 และ SA เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิด P. berghei   ในหนูถีบจักร พบว่าสาร SD1 และ SA ขนาด 150 มก./กก. สามารถลดระดับเชื้อมาลาเรียในเลือดได้ 89 และ 74% เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้อง และ 62.5 และ 46.5% เมื่อป้อนให้หนูกินในขณะที่ cepharanthine ขนาด 10 มก./กก. สามารถลดระดับเชื้อมาลาเรียในเลือดได้ 47% เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้อง และ 50% เมื่อป้อนให้หนูกิน ซึ่ง chloroquine ลดระดับเชื้อมาลาเรียได้ 96% ทั้งฉีดและกิน และปฏิกริยาสัมพันธ์การใช้ยาร่วมระหว่าง chloroquine cepharanthine และ tetrahydropalmatine-xylopinine จะช่วยเสริมฤทธิ์ในการต้านเชื้อมาลาเรีย ดังนั้นสารดังกล่าวจากต้นสบู่เลือดสามารถนำมาใช้รักษามาลาเรียได้

J Ethnopharmacol 2007;112:132-7