ฤทธิ์สมานแผลของครามป่า

เมื่อทำการทดสอบสารสกัดด้วยเอทานอลจากส่วนเหนือดินของครามป่า ในรูปของยาเตรียมน้ำมัน 5% (สารสกัด 5 ก. ในน้ำมัน 100 ก.) ในแผลผ่าตัด (incision wound model) แผลเปิดที่เกิดจากการตัดผิวหนังส่วน full thickness ออกไป (excision wound model) และแผลที่เกิดจากการตัด granuloma tissue ที่เกิดขึ้นบนหลอดโพลีโพรไพลีนที่ฝังอยู่บริเวณผิวหนังส่วนหลัง (dead space wound model) ของหนูขาว ทาวันละ 2 ครั้ง พบว่าในวันที่ 4 ของการทดลองแผลของหนูในกลุ่มยามาตรฐาน (0.005% Fluticasone propionate) และกลุ่มน้ำมันครามป่า เริ่มมีการหดตัวของแผล ในวันที่ 16 แผลในกลุ่มยามาตรฐานจะสมานเรียบร้อย และกลุ่มน้ำมันครามป่าแผลสมานเกือบสมบูรณ์ และจะสมาน 100% ในวันที่ 18 ของการทดลอง ส่วนกลุ่มควบคุม (ใช้ simple oinment base) แผลสมาน 95.71% วัดค่า tensile strength วันที่ 20 ของการทดลอง ในกลุ่มยามาตรฐานและน้ำมันครามป่ามีค่าแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เมื่อพิจารณาพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อ พบว่าแผล incision และ dead space wound ในหนูกลุ่มน้ำมันครามป่าและยามาตรฐาน จะพบการสร้าง epithelial cell คอลลาเจน เซลล์ ไฟโบบราส และหลอดเลือดอย่างเห็นได้ชัด ระดับโปรตีนและไฮดรอกซีโปรลีนเพิ่มขึ้น และน้ำหนักของ granuloma cell เพิ่มขึ้น ในขณะที่กลุ่มควบคุมกระบวนการสมานแผลไม่สมบูรณ์ มีการสร้างคอลลาเจน เซลล์ไฟโบบราส และเส้นเลือดต่ำ

J Ethnopharmacol 2006;108:204-10