การออกฤทธิ์ต้านอาการแพ้และอาการของโรคหอบหืดของสารสกัดจากใบตำแยแมว

การศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านอาการแพ้และอาการของโรคหอบหืดของสารสกัดเอทานอลจากใบตำแยแมว (ethanolic extracts of Acalypha indica leaves; EAIL) ด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ การเหนี่ยวนำให้เกิดการหดตัวของเนื้อเยื่อหลอดลมแพะด้วยสาร acetylcholine และ histamine (acetylcholine and histamine induced contraction of goat tracheal chain) โดยใช้ EAIL ขนาด 100 มคก./มล., การเหนี่ยวนำให้เกิดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อในหนูเม้าส์ด้วยสาร clonidine (clonidine-induced catalepsy in mice) โดยให้หนูกิน EAIL ขนาด 140-560 มก./กก. เปรียบเทียบกับการฉีดยามาตรฐาน chlorpheniramine maleate (CPM) เข้าทางช่องท้องขนาด 10 มก./กก., การเหนี่ยวนำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวชนิดลิวโคไซต์และชนิดอีโอซิโนฟิลในหนูเม้าส์ด้วยนม (milk-induced leucocytosis and eosinophilia in mice) โดยให้หนูกิน EAIL ขนาด 140-560 มก./กก., การเหนี่ยวนำให้เกิดการแตกของ mast cell ในหนูแรทด้วยสาร clonidine (clonidine-induced mast cell degranulation in rats) โดยให้หนูกิน EAIL ขนาด 100-400 มก./กก. เปรียบเทียบกับการฉีดสารมาตรฐาน sodium cromoglycate (SCG) เข้าทางช่องท้องขนาด 50 มก./กก., การเหนี่ยวนำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงบริเวณอุ้งเท้าของหนูแรท (passive paw anaphylaxis in rats) โดยให้หนูกิน EAIL ขนาด 100-400 มก./กก. เปรียบเทียบกับการฉีดยามาตรฐาน dexamethasone (DEX) เข้าทางช่องท้องขนาด 0.5 มก./กก., การเหนี่ยวนำให้เกิดการหดตัวของหลอดลมในหนูตะเภาด้วยสาร histamine (histamine-induced bronchoconstriction in guinea pigs) โดยให้หนูกิน EAIL ขนาด 174-696 มก./กก. เปรียบเทียบกับการกินยา CPM ขนาด 2 มก./กก.,, และการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื่อของหนูเม้าส์ด้วยสาร ovalbumin (ovalbumin (OVA)-induced histopathological alterations in mice) โดยให้หนูกิน EAIL ขนาด 140-560 มก./กก. เปรียบเทียบกับการฉีดยา DEX เข้าทางช่องท้องขนาด 2 มก./กก. ผลการทดลองพบว่า EAIL ยับยั้งการออกฤทธิ์ของ acetylcholine และ histamine ส่งผลให้การหดตัวของเนื้อเยื่อหลอดลมแพะลดลง, EAIL ทำให้ระยะเวลาที่หนูเกิดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และที่ขนาด 560 มก./กก. ให้ผลใกล้เคียงกับยามาตรฐาน CPM, EAIL ที่ขนาด 560 มก./กก. สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวชนิดลิวโคไซต์และชนิดอีโอซิโนฟิลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ที่ขนาด 140 มก./กก. ยังไม่สามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิลได้อย่างชัดเจน, EAIL สามาถยับยั้งการแตกของ mast cell ได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และที่ขนาด 400 มก./กก. ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่าสารมาตรฐาน SCG, EAIL สามาถยับยั้งอาการบวมบริเวณอุ้งเท้าของหนูแรทได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และที่ขนาด 696 มก./กก. ให้ผลใกล้เคียงกับยามาตรฐาน DEX, EAIL ทำให้ระยะเวลาก่อนเกิดอาการชัก (latent period of convulsion) เนื่องจากเกิดภาวะหายใจลำบาก (dyspnea) ของหนูตะเภายาวนานขึ้น โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ ซึ่งประสิทธิภาพในการป้องกันอาการชักจะดีที่สุดหลังจากหนูได้รับสารทดสอบ 4 ชม. และที่ขนาด 696 มก./กก. ให้ผลใกล้เคียงกับยามาตรฐาน CPM, EAIL สามาถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์ที่เกิดการอักเสบ (inflammatory cell) และ goblet cell รวมทั้งยับยั้งการหลั่งสารเมือก (mucus) ในปอดของหนู ซึ่งประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และที่ขนาด 560 มก./กก. ให้ผลใกล้เคียงกับยามาตรฐาน DEX จากผลการทดลองทั้งหมดทำให้สามารถสรุปได้ว่า สารสกัดเอทานอลจากใบตำแยแมวออกฤทธิ์ต้านอาการแพ้และอาการของโรคหอบหืดด้วยกลไกในการต้านการออกฤทธิ์ของ cholinergic และ histamine, ยับยั้ง H1 receptor, ยับยั้งอาการแพ้, ยับยั้งการแตกของ mast cell, ป้องกับภาวะ anaphylactic, ขยายหลอดลม, และยับยั้งการอักเสบ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สำหรับรักษาอาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจหรืออาการของโรคหอบหืดต่อไป

J Ethnopharmacol. 2022;290:115093. doi:10.1016/j.jep.2022.115093.