ผลของสารสกัดใบมะรุมต่อการเพิ่มจำนวนและการเคลื่อนย้ายเซลล์ผิวหนังในกลไกการรักษาแผล

ศึกษาผลของสารสกัดเมทานอลจากใบมะรุมต่อการเพิ่มจำนวนและการเคลื่อนย้ายเซลล์ผิวหนังมนุษย์ (human skin fibroblast) ด้วยการนำสารสกัดดังกล่าวผสมลงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ความเข้มข้น 0.01, 0.1, 1, 10, 100 และ 500 มคก./มล. บ่มเซลล์ที่อุณหภูมิ 37ºC นาน 24 ชม.พบว่า สารสกัดเมทานอลจากใบมะรุมที่ความเข้มข้น 0.01 และ 0.1 มคก./มล. มีผลทำให้เซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการเลี้ยงเซลล์ด้วยอาหารปกติไม่ผสมสารสกัดใดๆ คิดเป็น 17 และ 21% ตามลำดับ ในขณะที่การให้สารสกัดที่ความเข้มข้นสูงสุด (500 มคก./มล.) มีผลยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์ และการบ่มเซลล์เป็นเวลานาน 48 ชม. ด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีสารสกัดเมทานอลจากใบมะรุมเข้มข้น 0.01 และ 0.1 มคก./มล. พบว่า ที่เวลา 24 ชม. มีผลทำให้การเคลื่อนย้ายเซลล์เพิ่มขึ้นคิดเป็น 64.4 และ 50.1% ตามลำดับ และที่เวลา 48 ชม. การเคลื่อนย้ายเซลล์เพิ่มขึ้นคิดเป็น 98.9 และ 83.4% ตามลำดับ ซึ่งเมื่อนำสารสกัดเมทานอลจากใบมะรุมมาวิเคราะห์หาสารออกฤทธิ์ด้วยวิธี HPLC พบว่าเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ myricetin 3-O-xylopyranoside, neohesperidin, rutin, quercetin-3-O-glucoside (isoquercitrin), apigenin 6,8-di-C-glucoside (vicenin-2), kaempferol-3-O-glucoside (astragalin) และ quercetin-3-O-(6″-malonyl) glucoside ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากใบมะรุมมีผลช่วยเพิ่มจำนวนและเคลื่อนย้ายเซลล์ผิวหนังมนุษย์ชนิด fibroblast ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการต่อยอดพัฒนาเพื่อใช้เป็นยารักษาแผลได้

Rev Bras Farmacogn. 2021;31:302-9.