การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำผึ้งและน้ำมันสมุนไพรไทยในการรักษาแผลกดทับ

การศึกษาประสิทธิภาพในการบรรเทาแผลกดทับของการรักษาแบบการแพทย์แผนไทยโดยใช้น้ำผึ้งและน้ำมันสมุนไพรไทย ซึ่งเตรียมด้วยวิธีการทอดใบพญายอ (Clinancnathus nutans (Burm. F.) Lindau) และเหง้าไพล (Zingiber montanum Link ex A. Dietr.) ในน้ำมันปาล์ม ทำการศึกษาแบบ open-label randomized controlled trial ในผู้ป่วยที่มีกดทับ ที่มีแผลกดทับความรุนแรงระดับ 2-4 หรือไม่สามารถระบุได้ (unstageable) ตามเกณฑ์การประเมินของ National Pressure Ulcer Advisory Panel และ European Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP/EPUAP) จำนวน 66 คน แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม สุ่มให้การรักษาแบบการแพทย์แผนไทยโดยกำหนดให้ หลังจากการทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือ (normal saline) ให้ใช้ผ้าก๊อซที่ชุบด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำมันสมุนไพรไทยปิดแผล จากนั้นปิดทับด้วยผ้าก๊อซแห้งและแผ่นฟิล์ม และเปลี่ยนแผ่นปิดแผลทุก 1-2 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการแพทย์ปัจจุบัน ซึ่งให้ปิดแผลด้วย hydrogel, alginate, silver-impregnated หรือแผ่นแปะ hydrocolloid ตามแต่ชนิดของแผล เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการประเมินผลโดยประเมินการหายของแผลด้วย Pressure Ulcer Scale for Healing (PUSH) ผลการศึกษาพบว่าค่าการหายของแผล (PUSH score) ในทั้งสองกลุ่มมีค่าลดลงและไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทั้งสองกลุ่ม โดยค่า PUSH score เท่ากับ 2.58±3.38 (95% CI 1.34–3.82) และ 3.24±3.49 (95% CI 1.91–4.57) ในกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบันตามลำดับ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรักษาตามหลักการแพทย์แผนไทยสามารถการรักษาแผลกดทับในผู้ป่วยได้เช่นเดียวกับการักษาแผนปัจจุบัน

Contemp Clin Trials Commun. 2020;17:100538.