ฤทธิ์ต้านไวรัสของสารสกัดจากต้นกล้วย

การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเฮกเซน อะซีโตน เอทานอล และน้ำ จากส่วนใบ ลำต้นเทียม และลำต้นใต้ดินของกล้วย (Musa spp.) สายพันธุ์ต่างๆ จำนวน 10 สายพันธุ์ ได้แก่ กล้วยหอมทอง, กล้วยตานี, กล้วยหิน, กล้วยเทพรส, กล้วยน้ำว้าค่อม, Cachaco, Pelipita, Fougamou, Petite Naine, Giant Cavendish และ Mbwazirume ต่อการต้านเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในมนุษย์ ได้แก่ เชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) เชื้อไวรัสไข้เหลือง (yellow fever virus) และเชื้อไวรัสมือเท้าปาก (enterovirus 71) ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดอะซีโตนและสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบของกล้วยน้ำว้าค่อม กล้วยเทพรส กล้วย Pelipita, Fougamou มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (EC50 ไม่เกิน 10 มคก./มล.) ส่วนสารสกัดเอทานอลจากลำต้นใต้ดินและลำต้นเทียมของกล้วยน้ำว้าค่อม และสารสกัดอะซีโนจากลำต้นใต้ดินของกล้วย Fougamou มีฤทธิ์อย่างแรงในการต้านไวรัสไข้เหลือง ด้วยค่า EC50 เท่ากับ 5.9±5.4, 0.79±0.1 และ 2.5±1.5 มคก./มล. ตามลำดับ อย่างไรก็ตามไม่พบว่าสารสกัดจากกล้วยสายพันธุ์ใด (ความเข้มข้น 1-100 มคก./มล.) ที่มีผลต้านเชื้อ enterovirus 71 และผลการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์พบว่าสารสกัดเหล่านี้ไม่แสดงความเป็นพิษ เมื่อใช้ในขนาด 5-10 เท่าของขนาดที่ใช้ยับยั้งเชื้อไวรัส ผลจากการศึกษานี้จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาเป็นยาต้านไวรัสในอนาคต

Viruses. 2020;12(5):549.