การศึกษาทางคลินิกผลของกากองุ่นและทับทิมต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสและภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วนผิดปกติ

การศึกษาทางคลินิก (controlled acute, cross-over clinical study) ผลของการรับประทานกากองุ่น (Vitis vinifera L., cv Tempranillo; grape) และทับทิม (Punica granatum L., cv Mollar de Elche; pomegranate) ต่อเมแทบอลิซึมของกลูโคสในผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วน จำนวน 20 คน อายุ 40-60 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test; OGTT) 75 กรัม หลังจากรับประทานกากองุ่นและทับทิม 10 ก. ที่มีสารประกอบโพลีฟีนอล (extractable 0.4 ก. และ non-extractable 1.4 ก.) เป็นเวลา 10 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานกากองุ่นและทับทิม ผลการทดสอบพบว่าการรับประทานกากองุ่นและทับทิมไม่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและอินซูลินในช่วงเวลาที่สุ่มตรวจ ไม่มีผลในการปรับปรุงความสามารถของการต้านอนุมูลอิสระในพลาสมาและในปัสสาวะ ไม่มีผลในการเพิ่มการขับสารโพลีฟีนอลทางปัสสาวะ นักวิจัยระบุว่าจากข้อมูลงานวิจัยการรับประทานกากองุ่นและทับทิมก่อนทำการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล 10 ชั่วโมง อาจจะมีแนวโน้มช่วยปรับปรุงความไวต่ออินซูลิน สำหรับการทดสอบครั้งนี้ การรับประทานกากองุ่นและทับทิมเพียงครั้งเดียว ไม่มีผลต่อการปรับปรุงการเมแทบอลิซึมของกลูโคส ควรมีการทดสอบการรับประทานกากองุ่นและทับทิมแบบต่อเนื่องกับผลต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของกลูโคสต่อไป

Int J Food Sci Nutr. 2020;71(1):94-105.