ฤทธิ์ปกป้องตับของสารสกัดเกากีฉ่าย

ทดสอบฤทธิ์ปกป้องตับของสารสกัดผลเกากีฉ่าย (Lycium chinense Mill.) หรือโกจิเบอร์รี ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะตับอักเสบจากไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Steatohepatitis; NASH) ด้วยการให้อาหารที่ขาดเมไทโอนีน (methionine) และโคลีน (choline) และให้สารสกัดเกากีฉ่ายขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก./วัน ผ่านทางปาก เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมปกติ กลุ่มควบคุมลบ และกลุ่มควบคุมบวกที่ให้สารเบตาอีน (betaine) ขนาด 10 มก./กก. ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบได้ในเกากีฉ่าย และมีงานวิจัยระบุว่ามีฤทธิ์ปกป้องความเป็นพิษของตับ ผลการทดสอบพบว่าเกากีฉ่ายมีผลลดน้ำหนักของตับและลดการสะสมของไขมันในตับ ลดการอักเสบและการเกิดพังผืด (fibrosis) รวมทั้งช่วยเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในตับ นอกจากนี้ยังพบว่ามีผลลด c-Jun N-terminal kinases (JNK) และเพิ่ม extracellular signal-regulated kinase (ERK) ในวิถีการส่งสัญญาณไมโทเจน-แอคทิเวเตทโปรตีนไคเนส (Mitogen-activated protein kinases; MAPK) ในการควบคุมการทํางานของเซลล์ จากผลการทดสอบจึงสรุปได้ว่าเกากีฉ่ายอาจมีผลช่วยปกป้องตับจากภาวะ NASH ได้ อย่างไรก็ตามควรมีข้อมูลการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติมต่อไป

J Funct Foods 2017;31:1-8