สารสำคัญในกานพลูแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อเอช ไอ วี

เมื่อนำสารสกัดเมทานอลจากดอกตูมแห้งของกานพลู (Eugenia caryophyllata  Thunb.) มาแยกด้วยเทคนิคทางโครมาโตรกราฟฟีจะได้สารกลุ่มแทนนิน 4 ชนิด ซึ่งให้ผลยับยั้งกระบวน การเกิด giant cell หรือ syncytia ของเชื้อเอช ไอ วี สารที่มีฤทธิ์แรงที่สุด คือ tellimagrandin ขนาดของสารที่ยับยั้งการเจริญของเซลล์ได้ 50 % (IC50) = 16.12 ไมโครกรัม/มล. ส่วน dextran sulfate ซึ่งใช้เป็นสารเปรียบเทียบมีค่า IC50 = 21.45 ไมโครกรัม/มล. การเกิด giant cell หรือ syncytia เป็นขบวนการขยายพันธุ์ของไวรัสเอช ไอ วี แบบหนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นจากกลัยโคโปรตีน gp120 ที่ผิวของไวรัสรวมตัวกับโปรตีนCD4 ที่ผิวของเซลล์ เม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อจะแสดงโปรตีน gp120 ที่ผิวเซลล์และเชื่อมกับโปรตีน CD4 ที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติอื่นต่อไปเกิดเป็น giant cell หรือ syncytia

Planta Med 2001; 67: 277-9