คำถาม : คาร์ดิแอกไกลโคไซด์
  • ในการทดสอบหาคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ เติมสารละลายเฟอริกคลอไรด์ จากนั้นเติมกรดอะซิติก และสุดท้ายเติมซับฟิวริก ทำไมต้องเติมสารทั้ง 3 ตัว เติมไปเพื่ออะไร
  • Date : 27/11/2562 15:29:00
คำตอบ : การทดสอบหาคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ จะแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ส่วนตามโครงสร้างพื้นฐานคือ สเตียรอยด์ และน้ำตาลดีออกซี การทดสอบสเตียรอยด์ ทำได้โดยการเติมกรดแกลเชียลอะซีติก และกรดซัลฟิวริก ถ้าปรากฎสีน้ำเงินหรือน้ำเงินเขียวแสดงว่าพบสเตียรอยด์ ส่วนการทดสอบน้ำตาลดีออกซี ทำได้โดยการทดสอบเคลเลอร์คิเลียนิ (Keller-Kiliani test) ซึ่งประกอบด้วยกรดอะซีติก 1 มล. และสารละลายเฟอริกคลอไรด์ (10% FeCl3) 1-2 หยด ผสมให้เข้ากัน เอียงหลอดทดลอง ค่อยๆ หยดกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 1 มล. ลงไปตามผนังด้านในของหลอดทกลองให้เกิดการแยกชั้น หากปรากฎวงแหวนสีน้ำตาลแดงบริเวณรอยต่อระหว่างสารสกัดกับกรดซัลฟิวริกแสดงว่าพบส่วนน้ำตาลดีออกซี
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
งานวิจัย พฤกษเคมีและฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงร้าคาญของสารสกัดดอกและใบยี่โถสีชมพู
http://scijournal.kku.ac.th/files/Vol_45_No_3_P_521-530.pdf