คำถาม : หนานเฉาเหว่ยและเชียงดา- รบกวนขอข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรหนานเฉาเหว่ย และเชียงดาด้วยครับ ส่วนมากผมมีแต่ข้อมูลจากอินเตอเน็ต ผมเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจผมอยากเผยแพร่ข้อมูลของหนานเฉาเว่ย เพราะป้าผมเป็นโรคเบาหวานอาการหนักหลังจากทานใบหนานเฉาเหว่ยแล้วอาการดีขึ้นมาก แต่ผมก็ยังไม่มั่นใจเพราะไม่มีงานวิจัยรองรับสมุนไพรตัวนี้จึงอยากขอความกรุณารบกวนขอข้อมูลสมุนไพรตัวนี้ด้วยครับผม ขอบคุณครับ
- Date : 30/6/2561 11:26:00
คำตอบ : หนานเฉาเหว่ย หรือป่าช้าเหงา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vernonia amygdalina สรรพคุณแผนโบราณ ใช้เข้าตำรับรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคขาง โรคสาน (โรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย) และใช้แก้พิษ ส่วนงานวิจัยระบุว่าสารสกัดน้ำของใบมีผลในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย และต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงการทดสอบระดับเซลล์และสัตว์ทดลองเท่านั้น สำหรับการศึกษาความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง พบว่าเมื่อป้อนสารสกัดน้ำ สารสกัดเมทานอล และผงใบ ให้หนูแรท ขนาด 100-1,000 มก./วัน เป็นเวลา 28-65 วัน ให้แก่สัตว์ทดลอง ไม่ความผิดปกติของตับและไต และผลต่อค่าชีวเคมีอื่นในเลือด อย่างไรก็ตามยังไม่พบการศึกษาถึงขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมในรับประทานในมนุษย์รวมถึงการศึกษาความเป็นพิษหากรับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและหมั่นพบแพทย์อยู่เสมอค่ะ
สำหรับฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของเชียงดา พบการศึกษาในสัตว์ทดลองว่าสาร gymnemic acid จากผักเชียงดามีฤทธิ์ยับยั้งการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ และกระตุนใหมีการหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ส่วนการศึกษาทางคลินิกพบว่าเมื่อให้อาสาสมัครปกติดื่มชาเชียงดา ที่เตรียมจากใบเชียงดาอบแห้ง 1.5 ก.ชงกับน้ำร้อน 150 มล. มีผลลดน้ำตาลในเลือดเมื่อรับประทานหลังอาหารทันทีหรือหลังมื้ออาหารไม่เกิน 15 นาที แต่เมื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ดื่มชาที่เตรียมจากใบเตรียมจากใบเชียงดาแห้ง 1.2 ก. ชงในน้ำร้อน 150 มล. วันละ 3 ครั้งหลังมื้ออาหาร ติดต่อกัน 8 สัปดาห์ ควบคู่กับการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง กลับไม่พบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของเชียงดา จะเห็นว่ารายงานการวิจัยยังมีค่อนข้างน้อยและไม่เห็นผลในผู้ป่วยเบาหวาน แต่ผักเชียงดาเปนผักพื้นบานที่มีการรับประทานเปนอาหารมาชานานและไมปรากฏรายงานความเปนพิษจากการรับประทาน หากผูปวยเบาหวานที่รับประทานยาแผนปจจุบันตองการรับประทานผักเชียงดา
นอกจากนี้การรับประทานสมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่รักษาโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ที่รักษา และควรใชด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจจะเสริมฤทธิ์กับยา จนทําใหเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินทำให้เกิดอาการวูบ และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
สามารถอ่านบทความบอกกล่าวเล่าเรื่อง เชียงดาลดน้ำตาลได้จริงหรือ ?? ได้ที่ http://www.medplant.mahidol.ac.th/document/hotnews.asp?id=75 และติดตามบทความเต็มของฤทธิ์ลดน้ำตาลของผักเชียงดาและ Gymnema sylvestre พืชอินเดียที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลและถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผักเชียงดาของไทย เพิ่มเติมไดในจุลสารขอมูลสมุนไพร ฉบับ 34(4)กรกฏาคม 2560 ค่ะ