คำถาม : วิธีการสกัดเมล็ดสะเดาและขมิ้นชัน
  • วิธีการสกัดสะเดาให้เป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อแยกสาร azadiachtin ออกมาแล้วจะนำไปทดลองต่อนะคะ อยากทราบวิธีการสกัดค่ะ
    ส่วนขมิ้นชันนั้น ทราบมาว่าต้องสกัดด้วย 20% in ethanol แต่ยังไม่ทรายถึงขั้นตอนการสกัดเลย
    รบกวนตอบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

  • Date : 12/8/2556 11:25:00
คำตอบ : ขอตอบเรียงตามลำดับดังนี้ค่ะ
1. วิธีการสกัดสะเดาให้เป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อแยกสาร azadiachtin ออกมาแล้วจะนำไปทดลองต่อนะคะ อยากทราบวิธีการสกัดค่ะ
ตอบ หากหมายถึงวิธีการสกัดสาร azadirachtin ในเมล็ดสะเดา โดยทั่วไปจะเริ่มด้วยการเลือกผลสะเดาที่แก่ (แต่ไม่สุกจนร่วงลงสู่พื้นดินเพื่อป้องกันการปนเปื้อน) จากนั้นให้แยกเอาส่วนเนื้อออก นำเฉพาะส่วนเมล็ดไปผึ่งแดดให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้วนำไปอบเพื่อลดความชื้น นำไปกะเทาะเปลือกแล้วจึงนำเฉพาะส่วนเนื้อในเมล็ดไปใช้ นำส่วนที่ได้นี้ไปบดละเอียด แล้วนำผงที่ได้ไปบีบอัดเพื่อแยกส่วนน้ำมันออก จากนั้นจึงนำส่วนกากที่เหลือไปสกัดต่อด้วยเอทานอล เนื่องจากส่วนกากที่เหลือนี้เป็นส่วนที่มีสาร azadirachtin อยู่มากค่ะ หลังจากที่ได้สารสกัดเอทานอลแล้วให้นำไประเหยตัวทำละลายออกเพื่อให้ได้สารที่เข้มข้น จากนั้นจึงนำไปทำการแยกให้ได้สารบริสุทธิ์ด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น column chromatography, TLC หรือเทคนิคสมัยใหม่อื่นๆ แล้วจึงนำสารบริสุทธิ์ที่ได้ไปตรวจสอบเอกลักษณ์ ด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น UV spectroscopy, IR spectroscopy, HPLC เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้จากหนังสือ เทคโนโลยีการผลิตสารสกัดสะเดา ของ อ.อัญชลี สงวนพงษ์ หรือมาสืบค้นข้อมูลที่สำนักงานฯ ค่ะ

2. ส่วนขมิ้นชันนั้น ทราบมาว่าต้องสกัดด้วย 20% in ethanol แต่ยังไม่ทรายถึงขั้นตอนการสกัดเลย
ตอบ การที่จะสกัดสมุนไพรด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่คุณต้องการว่ามีคุณสมบัติอย่างไร เช่น หากต้องการได้สารในกลุ่ม curcuminoid ควรเลือกวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายในกลุ่มแอลกอฮอล์ เช่น เอทานอล, เมทานอล โดยนำผงแห้งของขมิ้นชันมาหมักกับตัวทำละลายดังกล่าว นำมากรอง เก็บส่วนของเหลวแยกไว้ แล้วนำกากส่วนที่เหลือไปหมักต่อ ทำซ้ำจนของเหลวที่ได้มีสีจางหรือใสไม่มีสี จากนั้นจึงนำสารที่กรองได้มารวมกัน แล้วนำไประเหยแห้ง เพื่อให้ได้สารที่เข้มข้น จากนั้นจึงนำไปแยกและตรวจสอบเอกษลักษณ์ตามวิธีที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่หากต้องสารในกลุ่มน้ำมันหอมระเหยควรเลือกวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำหรือสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน ซึ่งคุณสามารถมาสืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานฯ ค่ะ