มะระขี้นก

 

ชื่อวิทยาศาสตร์            Momordica charantia L.

วงศ์                         Cucurbitaceae

ชื่อพ้อง                    -

ชื่ออื่นๆ                        ผักเหย  ผักไห  มะระ  มะร้อยรู  มะห่อย  มะไห่  สุพะซู  สุพะเด  Balsam apple, Balsum pear, Bitter cucumber, Bitter gourd, Bitter melon, Carilla fruit

สารออกฤทธิ์                ไม่มีรายงานการวิจัย

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเกี่ยวกับแก้ไข้

1. ฤทธิ์ลดไข้

มีการศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของมะระขี้นก  โดยใช้สารสกัดเอทานอลและน้ำในอัตราส่วน 1:1 ให้เข้าทางกระเพาอาหาร (gastric intubation) ของกระต่าย พบว่ามีฤทธิ์ลดไข้ (1) และยังได้ทดลองกรอกเข้าทางกระเพาะอาหาร (intragastric) ของหนูขาว สามารถลดไข้ได้ (2)

2. ฤทธิ์แก้ปวด

          สารสกัดเมทานอล  มีฤทธิ์แก้ปวด (3) สารสกัดจากเมล็ดมีฤทธิ์แก้ปวดในหนูขาวและหนูถีบจักร นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้สารสกัดเมทานอลฉีดเข้าใต้ผิวหนังในหนูถีบจักรที่ 50% ของขนาดที่ทำให้หนูตาย (LD50) เท่ากับ 5 มก./กก. มีฤทธิ์แก้ปวด (4) สารสกัดเอทานอลและน้ำในอัตราส่วน 1:1 กรอกเข้าทางกระเพาะอาหาร(intragastric) ของหนูถีบจักรไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว (2)

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

 

1.       การทดสอบความเป็นพิษ

          เมื่อฉีดสารสกัดพืชทั้งต้น ด้วยเอทานอล (50%) เข้าใต้ผิวหนังในขนาด 20 ./กก. หรือให้หนูถีบจักรกินในขนาด 10 ./กก. ไม่พบพิษ (5)  สารสกัดส่วนเหนือดินและไม่ระบุส่วนที่ใช้ด้วยเอทานอล (50%) เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 681 มก./กก. (2, 6) และมีค่าสูงกว่า 1,000 มก./กก. (7) แอลคาลอยด์ที่แยกได้จากมะระขี้นก เมื่อให้กระต่ายกินขนาด 56 มก./ตัว หรือฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร 14 มก./กก. ไม่พบพิษ (8) ฉีดน้ำคั้นจากผลเข้าช่องท้องหนูขาวขนาด 15 ซีซี/กก. (9) หรือ 40 ซีซี/กก. พบว่าทำให้สัตว์ทดลองตายภายใน 18 .. และเมื่อฉีดน้ำคั้นผลเข้าช่องท้องของกระต่ายในขนาด 15 ซีซี/กก. พบว่าทำให้กระต่ายตายภายใน 18.. (10) แต่เมื่อให้เข้าทางกระเพาะของกระต่ายในขนาด 6 ซีซี/กก. พบว่ากระต่ายตายหลังจากได้รับสารสกัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 23 วัน (9) ขณะที่อีกการทดลองหนึ่งให้สารสกัด (ไม่ระบุชนิด) เข้าทางกระเพาะในขนาด 8 ./กก. กับกระต่ายไม่พบพิษ (11) เมื่อให้คนรับประทานน้ำคั้นจากผลในขนาด 50 ซีซี/วัน (10) น้ำต้มผลแห้ง ขนาด 500 มก. (12) ไม่พบพิษ

ส่วนน้ำต้มผลสดฉีดเข้าช่องท้องหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร ค่า LD50 เท่ากับ 16 มคก./ซีซี และ 270 มคก./ซีซี ตามลำดับ (13)  เมื่อฉีดสารสกัดผลด้วยเอทานอล (50%) เข้าช่องท้องหนูถีบจักรพบว่า LD50 เท่ากับ 681 มก./กก. (14) ให้หนู gerbil กินสารสกัดผลด้วยเอทานอล (95%) ขนาด 1.1./กก. นานติดต่อกัน 30 วัน (15) และสารสกัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ด้วยเอทานอล (95%) เมื่อผสมอาหารในขนาด 50 มคก./ตัว ให้หนูถีบจักรกิน (16) พบว่าไม่ทำให้เกิดพิษ เมื่อฉีดสารสกัดเมล็ดด้วยน้ำเข้าช่องท้องหนูขาวพบว่า LD50 เท่ากับ 25 มก./กก. (17,18) สารสกัดผลด้วยคลอโรฟอร์ม เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องหนูถีบจักรในขนาด 1000 มก./กก. ทำให้สัตว์ทดลองอ่อนแรงและตายหลังได้รับสารสกัดเป็นเวลา 24 .. ในขณะที่ส่วนสกัดที่ได้จากสารสกัดส่วนผลของมะระด้วยเอทานอล (80%) เมื่อฉีดให้หนูถีบจักรในขนาด 15 มล./กก. พบว่าทำให้สัตว์ทดลองตายภายหลังได้รับสารสกัด 4 .. และส่วนสกัดที่ได้จากสารสกัดส่วนใบ ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรในขนาด 24.3 มล./กก. หลังฉีด 10 นาที หนูมีอาการชักและอ่อนแรงและตายภายใน 1.. 15 นาที (19)

2.   พิษต่อระบบสืบพันธุ์

          เมื่อให้น้ำคั้นจากผลในขนาด 6 ซีซี/กก. ในกระต่ายที่ตั้งท้องทำให้มีเลือดออกจากมดลูกและมีกระต่ายตายจากการตกเลือด (9) เมื่อฉีดสารสกัดผลซึ่งมีสาร charantin และเมล็ดซึ่งมีสาร vicine เข้าทางช่องท้องของสุนัขในขนาด 1.75 ./ตัว พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งขบวนการสร้างอสุจิ และในหนูถีบจักรเพศเมียเมื่อได้รับสารสกัด (ไม่ระบุชนิด) พบว่ามีผลยับยั้งการผสมพันธุ์ เมื่อให้ใบและเปลือกลำต้น (ไม่ระบุขนาด) เข้าทางกระเพาะในหนูขาวที่ตั้งท้องพบว่ามีเลือดออกผิดปกติจากมดลูก (10) น้ำคั้นผลสด เมื่อให้ในหนูถีบจักรเพศเมียมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญพันธุ์ (20)  และน้ำคั้นผลสดเมื่อให้เข้าทางกระเพาะของหนูขาวเพศผู้ในขนาด 5 ซีซี/กก. เป็นเวลา 49 วัน พบว่ามีผลยับยั้งการผสมพันธุ์ และพบว่ามีผลฆ่าอสุจิในหนูขาว เมื่อให้น้ำคั้นจากผล (ไม่ระบุขนาด) (21)

          สารสกัดด้วยน้ำ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ในขนาด 200 มก./กก. เมื่อให้หนูขาวที่ท้องกินไม่พบว่าเป็นพิษต่อตัวอ่อนหรือทำให้แท้ง (22) และสารสกัดด้วยเอทานอลในขนาดที่เท่ากันก็ไม่พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อนหรือทำให้แท้ง (23) น้ำต้มจากใบเมื่อให้หนูขาวเพศเมียกินในขนาด 500 มก./กก. พบว่าไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน และไม่เป็นพิษต่อตัวอ่อน (24) สารสกัดด้วยเบนซิน สารสกัดด้วยเอทานอล และสารสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) เมื่อให้ทางกระเพาะหรือฉีดเข้าทางช่องท้องหนูขาวในขนาด 250 มก./กก. พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างอสุจิ (25) สารสกัดน้ำจากเมล็ด มีผลทำให้แท้งเมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องหนูขาวที่ตั้งท้องในขนาด 8 มก./กก. (26) และหนูถีบจักรในขนาด 0.04 มก./ซีซี (27)  สารสกัดเมล็ดด้วยอะซีโตน ซึ่งประกอบด้วยสาร 0.08% b-momorcharin  และ 0.10% a-momorcharin เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องหนูถีบจักรที่ตั้งท้องได้ 12 วัน ในขนาด 4 มคก./. ทำให้แท้ง (28) อีกรายงานหนึ่งพบว่าสารสกัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ด้วยน้ำเมื่อฉีดในขนาด 80 มก./กก. มีผลทำให้แท้ง (29) สาร momorcharins ในเมล็ดมะระขี้นกพบว่าทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนหนูถีบจักรในระยะแรกของการสร้างอวัยวะโดยทำให้เกิดความผิดปกติส่วนหัว ลำตัว และแขนขา (30)

3.   ผลต่อเม็ดเลือดขาว

น้ำคั้นจากผลในขนาดที่มีผลทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวปกติ (lymphocyte) ตายครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 0.35 มก./จานเพาะเชื้อ (31)  สารสกัดด้วยน้ำเกลือ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) เมื่อทดสอบกับเซลล์เม็ดเลือดขาว (lymphocyte) ในขนาด 40 มคก./จานเพาะเชื้อ  พบว่ามีความเป็นพิษต่อยีน (32) lectin และโปรตีนบางชนิดในเมล็ดของมะระมีผลยับยั้งบางขั้นตอนการสังเคราะห์ DNA ของทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติและเซลล์มะเร็ง (33)  ป้อนน้ำคั้นจากผลสดและเมล็ดของมะระให้หนูขาวเพศผู้ในขนาด 1 ซีซี/น้ำหนักตัว 100 . เป็นเวลา 30 วันพบว่าทำให้ enzyme serum g-glutamyltransferase และ alkaline phosphatase มีความเข้มข้นสูงขึ้น จึงคาดว่าน่าจะมีสารที่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ (34)

 

การทดลองเรื่องแก้ไข้เป็นฤทธิ์เบื้องต้นของผล ส่วนอื่นยังไม่มีข้อมูล จึงยังไม่ควรส่งเสริมให้ใช้ในผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งเป็นไข้เรื้อรัง แต่ใช้เสริมเรื่องลดการใช้ยาแก้ไข้  

 

เอกสารอ้างอิง

1.       Mokkhasmit M, Ngarmwathana W, Sawasdimongkol K, Permpipat U.  Pharmacological evaluation of Thai medicinal  plants. (continued).  J Med Ass Thailand 1971;54(7):490-504.

2.       Bhakuni DS, Goel AK, Jain S, Mehrota BN, Patnaik GK, Prakash V.  Screening of Indian plants for biological  activity: part XIII.  Indian J Exp Biol 1988;26(11):883-904.

3.       Raman A, Lau C.  Anti-diabetic properties and phytochemistry of Momordica charantia L. (Curcubitaceae).   Phytomedicine 1996;2(4):349-362.

4.       Biswas AR, Ramaswamy S, Bapna JS.  Analgesic effect of Momordica charantia seed extract in mice and rats.  J  Ethnopharmacol 1991;31(1):115-8.

5.       Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P.  Study on toxicity of Thai medicinal plants.  Bull Dept Med Sci  1970;12(2/4):36-65.

6.       Dhawan BN, Dubey MP, Mehrotra BN, Rastogi RP, Tandon JS.  Screening of Indian plants for biological activity.  Part IX.  Indian J Exp Biol 1980;18:594-606.

7.       Aswal BS, Bhakuni DS, Goel AK, Kar K, Mehrotra BN, Mukherjee KC.  Screening of Indian plants for bilogical  activity: part X.  Indian J Exp Biol 1984;22(6):312-32.

8.       Rivera G.  Preliminary chemical for pharmacological studies on “Cundeamor”, Momordica charantia. II.  Amer J  Pharm 1942;114:72.

9.       Sharma VN, Sogani RK, Arora RB.  Some observations on hypoglycaemic activity of Momordica charantia.  Indian  J Med Res 1960;48(4):471-7.

10.    Raman A, Lau C.  Anti-diabetic properties and phytochemistry of Momordica charantia L. (Curcubitaceae).   Phytomedicine 1996;2(4):349-62.

11.    Akhtar MS.  Hypoglycaemic activities of some indigenous medicinal plants traditionally used as antidiabetic drugs.   J Pak Med Ass 1992;42(11):271-7.

12.    Khan AH, Burney A.  A preliminary study of the hypoglycaemic properties of indigenous plants.  J Pak Med Res  1962;2:100-16.

13.    Jilka C, Strifler B, Fortner GW, Hays EF, Takemoto DJ.  In vivo antitumor activity of the bitter melon (Momordica  charantia).  Cancer Res 1983;43(11):5151-5.

14.    Ogunlana EO, Ramstad E.  Investigations into the antibacterial activities of local plants.  Planta Med 1975;27:354.

15.    Dixit VP, Khanna P, Bhargava SK.  Effects of Momordica charantia fruit extract on the testicular function of dog.   Planta Med 1978;34:280-6.

16.  Frame AD, Riosolivares E, De Jesus L, Ortiz D, Pagan J, Mendez S.  Plants from Puerto Rico with anti- Mycobacterium tuberculosis properties.  P R Health Sci J 1998;17(3):243-53.

17.    Ruiz AR, De La Torre RA, Alonso N, Villaescusa A, Betancourt J, Vizoso A.  Screening of medicinal plants for  induction of somatic segregation activity in Aspergillus nidulans.  J Ethnopharmacol 1996;52(3):123-7.

18.    Gasperi-Campani A, Barbieri L, Morelli P, Stirpe F.  Seed extracts inhibiting protein synthesis in vitro.  Biochem J  1980;186:439-41.

19.    Kintanar QL, Sison F.  Pharmacological screening of Philippine plants using a multidimensional observation  technique in mice.  Philippine J Sci 1978;107(1-2):71-94.

20.    Stepka W, Wilson KE, Madge GE.  Antifertility investigation on Momordica.  Lloydia 1974;37(4):645.

21.    Koentjoro-Soehadi T, Santa IGP.  Perspectives of male contraception with regards to Indonesian traditional  drugs.  Proc Second National Congress of Indonesian Society of Andrology, Bali, Indonesia, August 2-6,  1982:12pp.

22.    Prakash AO, Mathur R.  Screening of Indian plants for antifertility activity.  Indian J Exp Biol 1976;14:623-6.

23.    Runnebaum B, Rabe T, Kiesel L, Prakash AO.  Biological evaluation of some medicinal plant extracts for  contraceptive efficacy in females.  Future aspects in contraception. Part 2. Female contraception.  Boston:MTP  Press, Ltd, 1984:115-28.

24.    Saksena SK.  Study of antifertility activity of the leaves of Momordica (Karela).  Indian J Physiol Pharmacol  1971;15:79-80.

25.    Naseem MZ, Patil SR, Patil SR, Patil SB.  Antispermatogenic and androgenic activities of Momordica charantia  (Karela) in albino rats.  J Ethnophamacol 1998;61(1):9-16.

26.    Shum LKW, Coi VEC, Yeung HW.  Effects of Momordica charantia seed extract on the rat mid-term placenta.   Abstr International Symposium on Chinese Medicinal Materials Research, Hong Kong, June 12-14, 1984:78.

27.    Dong TX, Ng TB, Wong RNS, Yeung HW, Xu GJ.  Ribosome inactivating protein-like activity in seeds of diverse  Cucurbitaceae plants.  Int J Biochem 1993;25(3):415-9.

28.    Yeung HW, Li WW, Law LK, Chan WY.  Purification and partial characterization of momorcharins, abortifacient  proteins from the Chinese drug, Kuguazi (Momordica charantia seeds).  Chang HM, Yeung HW, Tso WW, Koo A  (eds): In Advances in Chinese medicinal materials research.   Philadelphia:Philadelphia World Scientific Press,  1984:311-8.

29.    Ng TB, Feng Z, Li WW, Chan SH, Yeung HH.  Investigation of ribosome inactivating protein-like activity in tissues  of Cucurbitaceae plants.  Int J Biochem 1989;21(2):  1353-8.

30.  Chan WY, Tam PP, Choi HL, Ng TB, Yeung HW.  Effects of momorcharins on the mouse embryo at the early  organogenesis stage.  Contraception 1986;34(5):573-44.

31.    Takemoto DJ, Dunford C, Mc Murray MM.  The cytotoxic and cytostatic effects of the bitter melon (Momordica  charantia) on human lymphocytes.  Toxicon 1982;20: 593-9.

32.    Basaran AA, Yu TW, Plewa MJ, Anderson D.  An investigation of some Turkish herbal medicines in Salmonella  typhimurium and in the comet assay in human lymphocytes.  Teratogen Carcinogen Mutagen 1996;16(2):125-38.

33.    Lincastro F, Franceschi C, Barbieri L, Stirpe F.  Toxicity of Momordica charantia lectin and inhibitor for human  normal and leukaemic lymphocytes.  Virchows Arch B Cell Pathol Incl Mol Pathol 1980;33(3):257-65.

34.    Tennekoon KH, Jeevathayaparan S, Angumawala P, Karunnayako EH, Jayasinghe KSA.  Effect of Momordica  charantia on key hepatic enzymes.  J Ethnopharmacol 1994;44:93-7.