มะกล่ำตาหนู* |
||
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
|
||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
Abrus precatorius L. | |
วงศ์ : |
FABACEAE (LEGUMINOSAE) | |
ชื่อพ้อง : |
||
ชื่อไทย : |
มะกล่ำตาหนู*, กล่ำเครือ, กล่ำตาไก่, เกมกรอม, ชะเอมเทศ, ตากล่ำ, มะกล่ำเครือ, มะกล่ำแดง, มะขามเถา, มะแค๊ก, ไม้ไฟ | |
ชื่ออังกฤษ : |
AMERICAN PEA, CRAB'S EYE VINE, CRAB'S EYES, JEQUIRITY BEAN, PRECATORY BEAN, ROSARY PEA, WILD LICORICE | |
ออกฤทธิ์ : |
ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร | |
ส่วนที่เป็นพิษ : |
เมล็ด | |
สารพิษ : |
โปรตีน | |
อาการ : |
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง อ่อนเพลีย จุกเสียด กระหายน้ำ ปวดศีรษะ อาจถ่ายเป็นเลือด ความดันเลือดต่ำ อัมพาต ผิวหนังแดง ชัก ม่านตาขยาย และสั่น อาจมีอาการเคลิ้มฝันในเด็ก เลือดออกใน retina | |
วิธีการรักษา : |
1. พยายามทำให้อาเจียน
2. รับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้ 3. รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อล้างท้อง 4. ให้รับประทานยาถ่ายประเภทเกลือ เช่น ดีเกลือ เพื่อลดการดูดซึมสารพิษ และให้น้ำเกลือเพื่อทดแทนน้ำ 5. ลดการอุดตันต่อทางเดินในไตเนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่เกาะรวมตัวกัน โดย ให้รับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนต เช่น โซดามินท์วันละ 5-15 กรัม (17-50 เม็ด) เพื่อทำให้ปัสสาวะมีสภาพเป็นด่าง 6. ระหว่างนี้ต้องให้อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น น้ำหวาน งดอาหาร ไขมัน เพื่อลดอาการตับอักเสบ หมายเหตุ ต้องระวังอาการไตวาย และหมดสติด้วย |
|
(ภาพสมุนไพรส่วนหนึ่งได้รับความอนุเคราะห์จาก ภาควิชาเภสัชพฤษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) |