 |
ลำโพงขาว |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Datura metel L. var. metel |
วงศ์ |
Solanaceae |
ชื่ออื่น ๆ |
มะเขือบ้า มั่งโต๊ะโล๊ะ ละอังกะ ลำโพง เลี๊ยก Apple of peru, Green thorn apple, Hindu datura, Metel, Thorn apple |
ลักษณะของพืช |
ไม้พุ่ม ขนาด 1.5-1.8 เมตร ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบหรือง่ามกิ่ง มีสีขาวหรือขาวนวล เป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกมีขนาด 11.5-12.5 เซนติเมตร ใบเป็นรูปไข่ เส้นขอบใบหยัก ฐานใบไม่เท่ากัน ใบมีขน ผลเป็นรูปทรงกลมมีหนามแหลม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เป็นรูปไต สีน้ำตาล-เหลือง |
ส่วนที่เป็นพิษ |
ทุกส่วน โดยเฉพาะเมล็ด |
สารพิษที่พบ |
สารกลุ่ม tropane alkaloids ซึ่งสารสำคัญได้แก่ hyoscine และ hyoscyamine |
อาการพิษ |
ปากคอแห้ง กระหายน้ำอย่างรุนแรง ตาพร่า รูม่านตาขยาย สู้แสงไม่ได้ น้ำลายแห้ง กลืนน้ำลายลำบาก และพูดไม่ชัด ผิวหนังร้อนแดง และแห้ง มีไข้ร่วมกับปวดหัว ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสน ตื่นเต้น กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน มึนงง มีอาการประสาทหูและตาหลอน และอาจมีพฤติกรรมคล้ายโรคจิต ในเด็กบางคนมีอาการชัก ชีพจรเต้นเร็วและอ่อน นอกจากนี้ยังมีอาการปัสสาวะคั่ง ท้องผูก ในรายที่รุนแรง ผู้ป่วยอาจหมดสติและโคม่า |
ตัวอย่างผู้ป่วย |
- มีรายงานความเป็นพิษในผู้ใหญ่รับประทานต้น และผลสดของลำโพงขาว
- ชายชาวต่างประเทศ 4 คน ดื่มชาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของเมล็ดลำโพงขาว พร้อมกับสูบดอกแห้งของลำโพงขาว อาการพิษที่พบในผู้ป่วยทั้ง 4 ราย เป็นอาการพิษที่คล้ายกับอาการพิษเนื่องจากสารอะโทรปีน ผู้ป่วยมีอาการทางประสาทเป็นหลัก กล่าวคือ มีอาการกระสับกระส่าย เพ้อ เดินเซ ประสาทหลอน รูม่านตาขยาย มีอาการคั่งของปัสสาวะ นอกจากนั้นยังพบอาการอื่น ๆ เช่น มีไข้ ปากแห้ง กระหายน้ำ และหัวใจเต้นแรง
- เด็กไทยอายุประมาณ 10-12 ปี รับประทานดอกลำโพงขาว ผู้ป่วยมีอาการปากแห้ง ม่านตาขยาย ผิวหน้าร้อนแดง และมีไข้ |
การรักษา |
1. ในกรณีที่รับประทานเข้าไปควรรีบขัดขวางการดูดซึมสารกลุ่มโทรเปนแอลคาลอยด์โดยเร็ว ซึ่งอาจทำได้โดยล้างท้อง หรือให้ผงถ่าน แล้วให้ยาถ่าย
2. ใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าจำเป็น
3. ลดไข้โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว
4. ให้ยา physostigmine (เด็ก ขนาด 0.5-1.0 มิลลิกรัม ผู้ใหญ่ ขนาด 1-4 มิลลิกรัม) เข้าเส้นเลือดดำช้า ๆ ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 นาที ขนาดยาอาจเพิ่มขึ้นโดยฉีดซ้ำทุก 5 นาที แต่ขนาดยาทั้งหมดรวมกันแล้ว เด็กไม่เกิน 2 มิลลิกรัม และผู้ใหญ่ไม่เกิน 6 มิลลิกรัม
5. ควรมี atropine (1 มิลลิกรัม) เตรียมไว้ เพื่อแก้ไขกรณีที่ให้ physostimine มากเกินไป จนทำให้เกิดหัวใจเต้นช้า ชัก ปรือ ทำให้หลอดลมเกร็งตัวอย่างมาก
6. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการตื่นเต้นมากและชัก อาจให้ยา diazepam ได้ แต่ต้องระวังอย่าใช้ในขนาดสูง เพราะในระยะหลังการเกิดพิษเนื่องจากสารกลุ่มโทรเปนแอลคาลอยด์จะกดการทำงานของสมองส่วนกลางร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสริมฤทธิ์กับ diazepam ได้
|
บรรณานุกรม |
- นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. พืชพิษ (Poisonous Plants). ใน รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล และคณะ (บรรณาธิการ). สมุนไพร: ยาไทยที่ควรรู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ๊งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2542.
- ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน จำกัด, 2544.
- นันทวัน บุณยะประภัศร: บรรณาธิการ. จุลสารโครงการศูนย์ข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล 2527;1(3):18-20.
- Council of Scientific and Industrial Research. The wealth of India: A Dictionary of Indian Raw Materials and Industrial Products. Vol III: D-E. New Delhi: The United Press, 1952.
- Bruneton J. Toxic Plants: Dangerous to Humans and Animals. Paris: Lavoisier Publising Inc., 1999.
- Djibo A, Bouzou SB. Acute intoxication with sobi-lobi (Datura ). Four cases in Niger. Bull Soc Pathol Exot 2000;93(4):294-7.
- Fernando R. Plant poisoning in Sri Lanka. Toxicon 1988;26(1):20.
- Hiraoka N, Tashimo K, Kinoshita C, Hirooka M. Genotype and alkaloid contents of Datura metel varieties. Biol Pharm Bull 1996;19(8):1086-9.
- Morton J. Plants Poisonous to People in Florida and Other Warm Areas. 3rd ed. Miami: Hallmark Press, 1995.
- Opawoye MAD, Haque MT. Datura alba (Shajarah aibing) poisoning. Ann Saudi Med 1996;16(2):228.
- Fleming T. (ed.) PDR for Herbal Medicines. 2nd ed. New Jersey: Medical Economic Company, 2000:858pp.
- Wee YC, Gopalakrishnakone P, Chan A. Poisonous plants in Singapore - a colour chart for identification with symptoms and signs of poisoning. Toxicon 1988;26(1):47.
|