1. ชื่อสมุนไพร           ขิง

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe.

          ชื่อวงศ์           ZINGIBERACEAE

          ชื่อพ้อง          -

          ชื่ออังกฤษ        Ginger

          ชื่อท้องถิ่น        ขิงแกลง, ขิงแดง, ขิงเผือก, สะเอ

 

2.  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          พืชล้มลุก ขึ้นเป็นกอ มีเหง้าใต้ดินเป็นข้อๆ เนื้อในสีขาวหรือเหลืองอ่อน ปลายสุดของข้อจะเป็นที่แทงยอดหรือลำต้นเทียม ลำต้นเทียมสูงพ้นพื้นดินขึ้นมา 50-100 เซนติเมตร ลำต้นเทียมมีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอก ปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบและจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม ดอกช่อ ทรงกระบอก แทงขึ้นมาจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองอมเขียว อุ้มน้ำและหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออก ใบประดับสีเขียว มีแต้มแดงตรงโคน ดอกเกสรผู้มี 6 อัน ผลแห้ง แข็ง มี 3 พู

 

3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          -ส่วนเหง้าสด     รักษาอาการแน่นจุกเสียดและอาการอาเจียน

 

4. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์

อนุพันธ์ของ gingerol, shogaol และ diarylheptanoids  มีฤทธิ์ต้านการอาเจียน (1) และช่วยขับลม (2,3) นอกจากนี้สารในน้ำมันหอมระเหย เช่น menthol, cineole มีผลลดอาการจุกเสียดได้ (4,5)  

 

5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

5.1   ฤทธิ์ในการแก้อาเจียน   ขิงมีฤทธิ์แก้อาเจียนจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 

       5.1.1      การอาเจียนจากเมารถเมาเรือ

          ขิงผงไม่ระบุขนาด มีผลลดอาการวิงเวียนในอาสาสมัคร 8 คน ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการวิงเวียนและตากระตุกด้วยความร้อน (6) และขิงผง 940 มิลลิกรัมให้ผลต้านการอาเจียนดีกว่ายา dimenhydrinate ในอาสาสมัครที่ถูกปิดตาแล้วให้นั่งเก้าอี้หมุน (7) เมื่อให้อาสาสมัคร 80 คน รับประทานขิง 1 กรัม/วัน พบว่าเกิดอาการเมาคลื่นน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับยาหลอก (8) นอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานแคปซูลขิงวันละ 1 และ 2 กรัมต่อวัน จะมีผลลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ในอาสาสมัครที่มีประวัติเมารถเมาเรือได้ดี (9)

                 5.1.2       การอาเจียนในระหว่างตั้งครรภ์

          ขิงมีผลลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์ได้ดีเทียบเท่ากับวิตามินบี 6 และไม่พบผลข้างเคียง (10-13) เมื่อให้หญิงตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก จำนวน 187 คน รับประทานขิงในรูปแบบต่างๆ เช่น แคปซูล ชาชง ขิงสด และ ขิงดอง เป็นต้น พบว่ามีฤทธิ์ปานกลางในการแก้คลื่นไส้ อาเจียน ในขณะที่ไม่มีผลต่อการพิการของทารก (14)

       5.1.3      การอาเจียนจากยามะเร็งแลการฉายรังสี

                   สารสกัดขิงด้วยอะซีโตนและ เอทานอลร้อยละ 50 มีฤทธิ์แก้อาเจียนในสุนัขที่ถูกเหนี่ยวนำให้อาเจียนด้วยยาฉีด cisplatin ซึ่งสารสกัดด้วยอะซีโตนจะมีฤทธิ์มากกว่าสารสกัดด้วย เอทานอลร้อยละ 50 ในขณะที่สารสกัดด้วยน้ำไม่มีผล  อย่างไรก็ตามสารสกัดทั้งสองมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาต้านอาเจียน granisetron และไม่มีประสิทธิภาพในการต้านอาเจียนที่เกิดจากการกระตุ้นด้วย apomorphine (15) ขิงสามารถต้านการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับยา compazine ได้ (16)

       5.1.4      การอาเจียนจากสาเหตุอื่น

                   ในการศึกษาที่ให้ผู้ป่วยหญิงรับประทานแคปซูลขิงขนาด 1 กรัม (17) หรือขิงผงขนาด 1 กรัม (18) ก่อนการผ่าตัดทางนรีเวช เปรียบเทียบกับยา metoclopramide และยาหลอก พบว่าขิงและยา metocyclopramide สามารถต้านอาเจียนได้ดีกว่ายาหลอก (17, 18) มีผู้ศึกษาฤทธิ์แก้อาเจียนของขิงเทียบกับ droperidol ในผู้หญิงที่ผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้อง พบว่าการใช้ขิง 2 กรัม หรือ droperidol 1.25 มิลลิกรัม หรือทั้งสองอย่างมีผลลดการอาเจียนไม่แตกต่างกัน (19)

                             เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำจากตำรับยาที่มีขิงผสมแป๊ะก๊วยและน้ำในอัตราส่วน 5:2:3 ให้หนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้อาเจียนด้วย lithium chloride พบว่าสามารถต้านอาเจียนได้ (20) นอกจากนี้สารสกัดแอลกอฮอล์จากเหง้าและตำรับยาที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ มีผลต้านการอาเจียนในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย  copper sulfate และในสุนัขที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย dehydroemetine hydrochloride (21)

          5.2   ฤทธิ์ขับลม

                 ขิงสามารถลดอาการจุกเสียดได้ดีเนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งช่วยขับลม (4, 22) โดยมีสารออกฤทธิ์ คือ menthol และ cineole (4, 5)   นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดด้วยอะซีโตน (2) ได้แก่ shogaol และ gingerol (3) สามารถทำให้เกิดการบีบรูดของลำไส้ได้ จึงช่วยขับลม (2, 3)

          5.3   ฤทธิ์ขับน้ำดี

       สารสกัดขิงด้วยอะซีโตน และขิงผงมีฤทธิ์ขับน้ำดี ทำให้ช่วยย่อยอาหาร (23, 24) โดยมีสาร borneol (25-27), fenchone (28), 6-gingerol และ 10-gingerol ที่มีฤทธิ์ขับน้ำดี (29)

          5.4   ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

       สารสกัดด้วยน้ำและเอทานอลร้อยละ 95 มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กของหนูตะเภาที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการหดเกร็งด้วยยาบางชนิด (30-33)

       สารสกัดด้วยน้ำจากตำรับที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ 2 ตำรับในความเข้มข้น 0.1 กรัม/มิลลิลิตร (34) และ 1-5 มิลลิกรัม/มิลลิตร (35) มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กของหนูตะเภา กระต่าย (36) และหนูเม้าส์ (35) ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการหดเกร็งด้วย acetylcholine (34), barium (34, 35) และ histamine (35)

5.5   ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

       เมื่อป้อนสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 และสารสกัดด้วยอะซีโตน ให้แก่หนูแรท มีผลต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารทำลายเนื้อเยื่อ, แอสไพริน, indomethacin และความเย็น (36-38)  สารสกัดด้วยอะซีโตน และสารสกัดด้วย เอทานอลร้อยละ 70 มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยความเครียดและการผูกกระเพาะอาหาร (39)

       สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากเหง้าขิง และตำรับยาตรีกฏุกซึ่งมีขิงเป็นส่วนประกอบ เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ จะมีผลลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารของกระต่าย และลดการเกิดแผลในกระเพาะของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยแอสไพรินได้ (21,40)  เมื่อป้อนตำรับยาที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ ให้แก่หนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลด้วย indomethacin พบว่ามีผลยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยจะลดขนาดของแผล ลดปริมาณและความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังเพิ่มปริมาณ hexosamine และลดปริมาณโปรตีนในน้ำย่อย แสดงถึงการเพิ่มการหลั่งเยื่อเมือกจากเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการปกป้องกระเพาะอาหาร (41) 

ตำรับยาที่มีขิงเป็นส่วนประกอบใช้เป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหารและกระเพาะอาหารอักเสบได้ (42) แคปซูลที่มีสารสกัดขิงประกอบอยู่ร้อยละ 10-70 ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งการหลั่งกรด ลดความเป็นกรดตลอดจนยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ pepsin และบรรเทาอาการปวดเกร็งในกระเพาะได้ (43)

5.6   ฤทธิ์ลดการอักเสบ

       จากการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ ข้อเสื่อม และมีอาการผิดปกติทางกล้ามเนื้อ (muscular discomfort) เมื่อให้รับประทานขิงผงในหลายๆ ขนาด เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2.5 ปี พบว่าร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคข้อมีอาการปวดข้อและบวมลดลง และผู้ป่วยที่มีอาการทางกล้ามเนื้อทั้งหมดหายปวด ซึ่งกลไกในการลดอาการปวดสันนิษฐานว่ามาจากการยับยั้งการสร้าง prostaglandin และ leukotriene (44)  เมื่อให้ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรับประทานขิง ขนาด 5 กรัม/วันติดต่อกันนาน 3 เดือน พบว่ามีผลลดอาการอักเสบ ปวดบวม และข้อขัดของผู้ป่วยได้ (45) 

                 นอกจากนี้ในการศึกษาผลของขิงในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมเปรียบเทียบกับยา ibuprofen และยาหลอก พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่รับประทานสารสกัดขิง และกลุ่มที่ได้รับยา ibuprofen จะมีอาการปวดบวม และอักเสบที่ข้อน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก แต่ขิงและยา ibuprofen ให้ผลในการรักษาไม่แตกต่างกัน (46)  ในปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรตำรับยาที่มีขิงเป็นส่วนประกอบสำหรับใช้ในการรักษาโรคไขข้ออักเสบโดยไม่มีผลข้างเคียง (47)

       เมื่อป้อนสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 80 (48) และสารสกัดด้วยน้ำ (49) ให้แก่หนูแรท พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบที่อุ้งเท้าของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย carrageenan (48) และ formalin (49)  เมื่อป้อนหนูแรทด้วยน้ำมันหอมระเหยจากขิง ก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงที่เข่าและอุ้งเท้าของหนูด้วย Mycobacterium tuberculosis bacilli พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบและบวมได้ (50สารสกัดด้วยเมทานอล, เอทิลอะซีเตท และเฮกเซน จากเหง้าขิงสดและขิงแห้ง เมื่อเอามาทาที่ใบหูของหนูเม้าส์ จะมีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดใบหูอักเสบด้วยสาร 12-O-tetradecanoylphorbol-13-acetate (TPA) (51)

       สารสกัดด้วยไดคลอโรมีเทนจากขิงพันธุ์สีขาวและสีเหลือง เมื่อนำมาแยกส่วนสกัด พบว่าส่วนสกัดซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีเป็นสารกลุ่ม gingerol และอนุพันธ์ของสารกลุ่มนี้ และกลุ่ม shogaol มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง PGE2 ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบ (52)  

          5.7   ฤทธิ์แก้ไอ

       ตำรับยาที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ มีฤทธิ์แก้ไอในแมวได้ (53) ขิงในรูปแบบของเครื่องดื่มร้อน มีฤทธิ์แก้ไอและรักษาอาการหวัดได้ (54) ซึ่งมีรายงานว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ 6-shogaol (2, 55)   เมื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไอ รับประทานยาแก้ไอสมุนไพรที่มีขิงเป็นหนึ่งในส่วนประกอบร่วมกับยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 7 วัน พบว่าผู้ป่วยมีอาการไอลดลงได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานยาแก้ไอสมุนไพร (56)

 

6.  อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ

                 เมื่อฉีดสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 50 เข้าทางช่องท้องหนูเม้าส์ พบว่ามีความเป็นพิษมาก (57) ส่วนสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 90 (58) สารสกัดด้วยเบนซีน (59) น้ำคั้นที่ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ (60) และการป้อนสารสกัดด้วยอัลกอฮอล์ (61) ให้แก่หนูเม้าส์ และสารสกัดด้วยน้ำและเอทานอลไม่ระบุวิธีให้ เมื่อทดสอบในหนูแรทพบว่ามีพิษปานกลาง (62) 

       เมื่อฉีดสารสกัดด้วย เอทานอลร้อยละ 95 เข้าทางหลอดเลือดดำของสุนัข จะมีผลเพิ่มการทำงานของหัวใจ ชีพจร และทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น แต่การศึกษาในสุนัขและกระต่ายด้วยขิง ไม่มีผลดังกล่าว (63)

                 เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำจากตำรับเบญจกูลที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ ให้แก่หนูแรททั้ง 2 เพศ พบว่าหนูเพศผู้มีน้ำหนักตัว และจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่ากลุ่มควบคุม หนูเพศเมียที่ได้รับสารสกัดทุกขนาดและเพศผู้ที่ได้รับสารสกัด ขนาด 0.75 และ 4.5 กรัม/น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม/วัน จะมีค่า creatinine ต่ำ แต่ยังไม่พบความผิดปกติของอวัยะภายใน น้ำหนักของตับและไตมากกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความผิดปกติของค่าทางชีวเคมีของตับและไต (64) เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำจากตำรับตรีกฎุกที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ พบว่าระดับอัลบูมินและโปรตีนรวมของกลุ่มที่ได้ขิงสูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความผิดปกติของตับและไต (65) สารสกัดด้วยน้ำและอัลกอฮอล์จากตำรับประสะไพลที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ ไม่พบพิษเมื่อป้อนให้แก่หนูแรท (66)

          7.2   ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

                 สารสกัดด้วยน้ำ (67) สารสกัดด้วยน้ำร้อน (68) และสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 (69-71) และน้ำมันหอมระเหย (72) มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ในเชื้อ Salmonella typhimurium   ขิงไม่ระบุชนิดของการสกัด ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัม/จานเพาะเชื้อ มีผลก่อกลายพันธุ์ในเชื้อ Micrococcus flavus (72)  น้ำคั้นขิง ความเข้มข้น 0.1 มิลลิลิตร จะเพิ่มฤทธิ์ในการก่อกลายพันธุ์ในเชื้อ E. coli HS-30 ของสาร 2(2-furyl)-3-(5-nitro-2-furyl) acryl amid และ N-methyl-N¢-nitrosoquanidine (73)

          7.3   พิษต่อเซลล์

            สารสกัดจากใบ ความเข้มข้นร้อยละ 3.75 มีผลทำให้การเจริญของเซลล์ไฟโบรบลาสจากเหงือกลดลงร้อยละ 50 และพบว่าเซลล์มีรูปร่างเปลี่ยนไป (74) สารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 90จากเหง้า ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตรมีความเป็นพิษต่อเซลล์ lymphocytes ของคน (75)

          7.4   พิษต่อตัวอ่อน

            เมื่อป้อนหนูแรทซึ่งตั้งท้องด้วยสารสกัดขิง (76) และน้ำขิง (77) ในช่วงวันที่ 6-15 ของการตั้งครรภ์ พบว่าไม่เป็นพิษต่อแม่หนูและไม่มีผลต่อตัวอ่อน (76,77) แต่กลับพบว่าตัวอ่อนมีน้ำหนักและพัฒนาการของกระดูกอกและฝ่ามือมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำขิง (77)

                 เมื่อป้อนสารสกัดด้วยเอทานอล (78) และสารสกัดด้วยขิง (76) แก่หนูแรทที่ตั้งท้อง พบว่าไม่ทำให้แท้ง

          7.5   การทำให้แพ้

       มีรายงานว่าขิงผง (79) และน้ำคั้นจากขิง (80) ทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นคันได้

 

8.  วิธีการใช้

          8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

                 1   วิธีการใช้ขิงรักษาอาการอาเจียน

                 ใช้เหง้าสดขนาดหัวแม่มือทุบให้แตก แล้วต้มเอาส่วนน้ำมาดื่ม (81)

                 2   วิธีการใช้ขิงรักษาอาการแน่นจุกเสียด

                 ใช้เหง้าสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาส่วนน้ำมาดื่ม (82)

                 นำขิงสดสามหัวโตประมาณ 5 นิ้ว ทุบพอแหลกใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว รินเอาน้ำมาดื่ม (83)

                 ดื่มในรูปน้ำกระสายขิง โดยนำขิง 30 กรัม มาชงกับน้ำเดือด 500 มิลลิลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองเอาเฉพาะน้ำรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ แก้ท้องขึ้นและปวดท้อง (84)

                 ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำรับประทาน (85)

                 จขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไป 1/2 แก้ว ปิดฝาตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำดื่มระหว่างมื้ออาหาร (86)

                 3   วิธีการใช้ขิงรักษาอาการไอ

                 ใช้ขิงฝนกับน้ำมะนาว และเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ (82)

          8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                 ยาแคปซูลที่มีผงเหง้าขิง (แห้ง) 250 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม

                 ยาผงที่มีผงเหง้าขิง (แห้ง) ซองละ 1 กรัม

                 ฤทธิ์บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม จุกเสียด แน่นท้อง รับประทานวันละ 2 – 4 กรัม

                 ฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเมารถเมาเรือ รับประทานวันละ 1 – 2 กรัม

                 ฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่อนไส้อาเจียนหลังผ่าตัด รับประทานครั้งละ 1 กรัม ก่อนการผ่าตัด 1 ชั่วโมง

 

เอกสารอ้างอิง 

 

1.             Yang Y, Kinoshita K, Koyama K. Takahashi K, Kondo S, Watanabe K. Structure-antiemetic-activity of some diarylheptanoids and their analogues. Phytomedicine 2002;9(2):146-52.

2.             Yamahara J, Huang Q, Li Y, Xu L, Fujimura H. Gastriointestinal motility-enhancing effect of ginger and its active constituents. Chem Pharm Bull 1990;38(2):430-1.

3.             Suekawa M, Ishige A, Yuasak K, Sudo K, Aburada M, Hosoya E. Pharmacological studies on ginger I. Pharmacological actions of pungent constituents, 6-gingerol and 6-shogaol. J Pharmacobio-Dyn 1984;7(11):836-48.

4.             Haginiwa J, Harada M, Morishita I. Pharmacological studies on crude drugs VII. Properties of essential oil components of aromatics and their pharmacological effect on mouse intestine. Yakugaku Zasshi 1963;83:624.

5.             Evans BK, James KC, Luscombe DK. Quantitative structure-activity relationships and carminative activity.  J Pharm Sci 1978;67:277.

6.             Grontved A, Hentzer E. Vertigo-reducing effect of ginger (Zingiber officinale) root.  A controlled clinical study. ORL 1968;48(5):282-6.

7.             Mowrey DB, Clayson DE. Motion sickness, ginger, and psychophysics. Lancet 1982:655-7.

8.             Grontved A, Brask T, Kambskard J, Hentzer E. Ginger root against seasickness: A controlled trial on the open sea. Acta Otolaryngol 1988;105:45-9.

9.             Lien HC, Sun WM, Chen YH, Kim H, Hasler W, Owyang C. Effects of ginger on motion sickness and gastric slow-wavw dysrhythmias induced by circular vection. Am J Physiol Gastrointest Liver Physiol 2003; 284: G481-G489.

10.     Niebyl JR. Drug therapy during pregnancy. Curr Opin Obstet Gynecol 1992;4(1):43-7.

11.         Smith C, Crowther C, Willson K, et al. A randomized controlled trial of ginger to treat nausea and vomiting in pregnancy. Obstet Gynecol 2004;103(4):639-45.

12.         Fischer-Rasmussen W, Kjaer SK, Dahl C, Asping U. Ginger treatment of hyperemesis gravidarum. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 1991;38:19-24.

13.         Borrelli F, Capasso R, Aviello G, Pittler MH, Izzo AA. Effectiveness and safety of ginger in the treatment of pregnancy-induced nausea and vomiting.A mer Col Obstetr Gynecol 2005;105:849-56.

14.         Portnoi G, Chng L-A, Karimi-Tabesh L, et al. Prospective comparative study of the safety and effectiveness of ginger for the treatment of nausea and vomiting in pregnancy.  Am J Obstet Gynecol 2003;189(5):1374-7.   

15.         Sharma SS, Kochuphillai V, Gupta SK, Seth SD, Gupta YK. Antiemetic efficacy of ginger Zingiber officinale against cisplatin-induced emesis in dog. J Ethnopharmacol 1997;57:93-6.

16.         Pace JC. Oral ingestion of encapsulated ginger and reported self-care actions for the relief of chemotherapy-associated nausea and vomiting. Diss Abstr Int 1987;47:3297.

17.         Bone ME, Wilkinson DJ, Young JR, et al. The effect of ginger root on postoperative nausea and vomiting after major gynaecological surgery. Anaesthesia 1990;45:669-71.

18.         Phillips S, Ruggier R, Hutchinson SE. Zingiberaceae officinale (ginger) an antiemetic for day case surgery. Anaesthesia 1993;48(12):715-7.

19.         Visalyputra S, Petcpaisit N, Somcharoen K, Choavaratana R. The efficacy of ginger root in the prevention of postoperative nausea and vomiting after outpatient gynecological laparoscopy. Anaesthesia 1998;53(5):506-10.

20.    Frisch C, Hasenohrl RU, Mattern CM, Hacker R, Huston JP. Blockade of lithium chloride-induced conditioned place aversion as a test for antiemetic agents: comparison of metoclopramide with combined extracts of Zingiber officinale and Ginkgo biloba. Pharmacol Biochem Behav 1995;52(2):321-7.

21.         Annamalai AR, Manavalan R. Effects of Trikatu and its individual components and piperine on gastro intestinal tracts: Trikatu - a bioavailable enhancer. Indian Drugs 1990;27(12):595-604.

22.    Ross MSF, Brain KK. An introduction to phytopharmacy. London: Pithman Medical Publishing Co. Ltd., 1977. p.158-76.

23.         Bhat GC, Sambaiah K, Chaudrasekhara N. The effect of feeding fenugreek (Trigonella foenum-graecumr) and ginger (Zingiber officinale) on bile composition in the albino rat.  Natr Rep Int 1985;32(5):1145-52.

24.         Yamahara J, Miki K, Chisaka T, et al. Cholagogic effect of ginger and its active constituents. J Ethnopharmacol 1985;13(2):217-26.

25.         Vogel G. Predictability of the activity of drug combinations. Yes or No. Arzneimforsch 1975:1356.

26.         Yamachara J, Kobayashi M, Yamasaki T, Sawada T, Uji A. Pharmacological effects of traditional preparation "Kiogan". Shoyakugaku zasshi 1987;38(4):297-301.

27.         Bell GD, Clegy RJ, Cohn MR, et al. Terpene therapy for gallstones effects of individual monoterpenes on bile flow, bile composition and hepatic cholesterogenesis in the rat. Brit J Pharmacol 1981;71(1):104-6.

28.         Opeyke DL J. Monographs on fragrance raw material fenchone. Food Cosmet Toxicol 1976;14:769-71.

29.         Yamahara J, Miki K, Chisaka T, et al. Cholagogic effect of ginger and its active constituents. J Ethnopharmacol 1985;13(2):217-26.

30.    Hong ND, Chang IK, Kim NJ, Lee IS. Studies on the efficacy of combined preparations of crude drug. (XXXIX). Effects of ngsayangwee-tang on the stomach and intestinal disorder. Korean J Pharmacog 1989;20(3):188-95.

31.    Ketusinh O, Wimolwattanapun S, Nilvises N. Smooth muscle actions of some Thai herbal carminatives. Thai J Pharmacol 1984;6(1):11-9.

32.         Itokawa H, Mihashi S, Watanabe K, Natsumoto H, Hamanaka T. Studies on the constituents of crude drugs having inhibitory activity against contraction of the ileum caused by histamine or barium chloride (1) screening test for the activity of commercially available crude drugs and the related plant materials.  Shoyakugaku Zasshi 1983;37(3):223-8.

33.    Kato M, Nagao J, Hayashi M, Hayashi E. Pharmacological studies on saiko-prescriptions. I. Effects of Saiko-prescriptions on the isolated smooth muscles. Yakugaku Zasshi 1982;102:371-80.

34.         Hong ND, Chang IK, Kim JW, Ryu SK, Kim NJ. Studies on the efficacy of combined preparation of crude drugs (XXII). Korean J Pharmacog 1985;16(2):73-80.

35.    Hong ND, Chang IK, Jung HC, Kim NJ. Studies on the efficacy of combined preparation of crude drugs (XII). Korean J Pharmacog 1983;14(1):9-16.

36.         Al-Yahya MA, Rafatullah S, Mossa JS, Ageel AM, Parmar NS, Tariq M. Gastroprotective activity of ginger Zingiber officinale Rosc. in albino rats. Amer J Chinese Med 1989;17(1/2):51-6.

37.         Yamahara J, Mochizuki M, Rong H, Matsuda H, Fujimura H. The anti-ulcer effect in rats of ginger constituents. J Ethnopharmacol 1988;23(2-3):299-304.

38.         El-Abhar HS, Hammad LNA, Gawad HAS. Modulating effect of ginger extract on rats with ulverative colitis. J Ethnopharmacol 2008;118:367-72.

39.         Sertie JAA, Basile AC, Oshiro TT, Silva FD, Mazella AAG. Preventive anti-ulcer activity of the rhizome extract of Zingiber officinale. Fitoterapia 1992;63(1):55-9.

40.    สุภาพร ล้ำเลิศธน ศักดิ์ชัย วิทยาอารีย์กุล ดวงตา กาญจนโพธิ์ และคณะ. การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและการพัฒนารูปแบบวัตถุดิบพร้อมใช้ของสารสกัดจากขิง พริกไทย และดีปลี. การสัมมนาเรื่องการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการพัฒนาสมุนไพรเพื่ออุตสาหกรรม, 28-29 กันยายน, กรุงเทพฯ, 2549. หน้า 401-5.

41.         Manonmani S, William S, Subramanian S, et al. Biochemical evaluation of the antiulcerogenic effect of Cauvery-100 (an ayurvedic formulation) in rats. J Ethnopharmacol 1994;42:1-5.

42.         Wang W. Chinese medicinal composition for treating severe gastric ulcer and preparation method thereof. Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1857708, 2006:3pp.  

43.         Cai J. Manufacture and application of soft capsule for treating stomach ache. Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu Cn 1733291, 2006:20pp.   

44.    Srivastava KC, Mustafa T. Ginger (Zingiber officinale) in rheumatism and musculoskeletal disorders. Med Hypoth 1992;39(4):342-8.

45.         Srivastava KC, Mustafa T. Ginger (Zingiber officinale) and rheumatic disorders.  Med Hypoth 1989;29(1):25-8.

46.         Haghighi M, Khalvat A, Toliat T, et al. Comparing the effects of ginger (Zingiber officinale) extract and ibuprofen on patients with osteoarthritis. Arch Iran Med 2005;8(4):267-71.

47.         Liu J. Chinese medicinal compositions containing powders of actinolite and sulfur and others for treating rheumatoid arthritis. Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1931355, 2007:3pp.

48.    Mascolo N, Jain R, Jain SC, Capasso F. Ethnopharmacologic investigation of ginger (Zingiber officinale). J Ethnopharmacol 1989;27(1/2):129-40.

49.    Basavarajaiah CR, Lucas DS, Anadarajashekhar R, Parmesh RR. Fundamentals of ayurvedic pharmacetuicals: anti-inflammatory activity of different preparations of three medicinal plants. J Res Edu Ind Med 1990;9(3):25-30.

50.    Sharma JN, Srivastava KC, Gan EK. Suppressive effects of eugenol and ginger oil on arthritic rats. Pharmacology 1994;49(5):314-8.

51.    Okuyama T, Matsuda M, Masuda Y. Studies on cancer bio-chemoprevention of natural resources. X. Inhibitory effect of spices on TPA-enhanced 3H-choline incorporation in phospholipid of C3H10T1/2 cells and on TPA-induced ear edema. Zhonghua Yaoxue Zazhi 1995;47(5):421-30.

52.         Jolad SD, Lantz RC, Solyom AM, et al. Fresh organically grown ginger (Zingiber officinale): composition and effects on LPS-induced PGE2 production.  Phytochemistry 2004;65:1937-54.

53.    Hong ND, Rho YS, Cho YW, Joo SM. Studies on the efficacy of combined preparation of crude drugs. XXIX. Effects of kilkyungjigak-tang on the respiratory system, blood pressure and isolated ileum. Korean J Pharmacog 1985;16(4):266.

54.         Kake M. Manufacture of ginger-containing hot beverages. Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 11 155,538 [99 155,538], 1999:3pp.

55.         Aburada M, Ishige A, Yuasa K, et al. Pharmacological studies on ginger. Pharmacological actions of the aromatic constituents [6]-gingerol and [6]-shogaol.  Wakanyaku Shinpojumu, [Kiroku] 1982;15:162-73.

56.         Jayaram S, Walwaikar PP, Rajadhyaksha SS. Double blind trial of a herbal cough syrup in patients with acute cough. Indian Drugs 1994;31(6):239-41.

57.    Aswal BS, Bhakuni DS, Goel AK, Kar K, Mehrotra BN, Mukherjee KC. Screening of Indian plants for biological activity: part X. Indian J Exp Biol 1984;22(6):312-32.

58.         Woo WS, Lee EB, Han BHBiological evaluation of Korean medicinal plants. III. Arch Pharm Res 1979;2:127-31.

59.    Vishwakarma SL, Pal SC, Kasture VS, Kasture SB. Anxiolytic and antiemetic activity of Zingiber officinale.  Phytother Res 2002;16(7):621-6.

60.    Hantrakul M, Tejason P. Study of the acute toxicity and cardiovascular effects of ginger (Zingiber officinale Roscoe). Thai J Pharm Sci 1976;1(6):517-30.

61.         Jagetia G, Baliga M, Venkatesh P. Ginger (Zingiber officinale Roscoe.), a dietary supplement, protects mice against radiation-induced lethality: mechanism of action. Cancer Biother Radiopharm 2004;19(4):422-35.

62.         Kim C-H. Tooth pastes containing ginger extracts. Patent: Ger Offen DE 10,102,881, 2002:6pp.

63.         Emig HM. The pharmacological action of ginger. J Amer Pharm Ass 1931;20:114-6.

64.         Chavalittumrong P, Attawish A, Rugsamon P, et al. Sub-acute toxicity of traditional medicinal benjakul. Thai J Pharm Sci 1996;20(1):39-51.

65.    ปราณี ชวลิตธำรง เอมมนัส อัตตวิชญ์ พัช รักษามั่น ปราณี จันทเพ็ชร. การศึกษาความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลันของยาแผนโบราณตรีกฏุก. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1996;38(4):273-92.

66.    สมศักดิ์ นวลแก้ว วันดี กฤษณพันธ์ จงกล เที่ยงดาห์. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและความเป็นพิษเฉียบพลันของตำรับยาประสะไพล. การประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 3, 30 ส.ค.-3 กันยายน, นนทบุรี, 2549.

67.         Morimoto I, Watanabe F, Osawa T, Okitsu T, Kada T. Mutagenicity screening of crude drugs with Bacillus subtilis Rec-assay and Salmonella/microsome reversion assay. Mutat Res 1982;97:81-102.

68.    Yamamoto H, Mizutani T, Nomura H. Studies on the mutagenicity of crude drug extracts. I. Yakugaku Zasshi 1982;102:596-601.

69.    Nagabhushan M, Amonkar AJ, Bhide SV. Mutagenicity of gingerol and shogaol and antimutagenicity of zingerone in Salmonella/microsome assay. Cancer Lett 1987;36(2):221-33.

70.         Mahmoud I, Alkofahi A, Abdelaziz A. Mutagenic and toxic activities of several spices and some Jordanian medicinal plants. Int J Pharmacog 1992;30(2):81-5.

71.         Hosono A, Suzuki H, Otani H. Mutagenicities of selected spices and desmutagenic compounds in regard to spice-induced mutagenicity. Jpn J Zootech Sci 1987;58(5):413-20.

72.         Sivaswamy SN, Balachandran B, Balanehru S, Sivaramakrishnan VM. Mutagenic activity of south Indian food items. Indian J Exp Biol 1991;29(8):730-7.

73.    Nakamura H, Yamamoto T. Mutagen and anti-mutagen in ginger, Zingiber officinale.  Mutat Res 1982;103(2):119-26.

74.    ฤดี สุราฤทธิ์ สุวรรณา อุทยาภมรวัฒน์ เทอดพงษ์ ตรีรัตน์. ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อเซลล์ไฟโบรบลาสของเหงือก. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19, 27-29 ตุลาคม, สงขลา, 2536. หน้า 434-5.

75.         Unnikrishnan MC, Kuttan R. Cytotoxicity of extracts of spices to cultured cells.  Nutr Cancer 1988;11(4):251-7.

76.         Weidner MS, Sigwart K. Investigation of the teratogenic potential of Zingiber officinale extract in the rat. Report Toxicol 2001;15(1):75-80.

77.         Wilkinson JM. Effect of ginger tea on the fetal development of Sprague-Dawley rats. Reproduct Toxicol 2000;14(6):507-12.

78.         Runnebaum B, Rabe T, Kiesel L, Prakash AO. Biological evaluation of some medicinal plant extracts for contraceptive efficacy in females. Future aspects in contraception.  Part 2.  Female contraception. Boston:MTP Press, Ltd, 1984:115-28.

79.         Stager J, Wuthrich B, Johansson SGO. Spice allergy in celery-sensitive patients.  Allergy 1991;46(6):475-8.

80.         Seetharam KA, Pasricha JS. Condiments and contact dermatitis of the finger-tips.  Indian J Dermatol Venereol Leprol 1987;53(6):325-8.

81.         สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. คู่มือสมุนไพรประจำตู้ยา. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2531. หน้า 63.

82.    กองวิจัยทางการแพทย์สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1.  กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2526. หน้า 25.

83.         พระมหาบุญยงค์แบบสัมภาษณ์ผู้ใช้โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง.

84.         ขุนนิเทสสุขกิจอายุรเวทศึกษากรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พร้อมจักร, 2516. หน้า 272.

85.         พระเทพวิมลโมลีตำรายากลางบ้านกรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มงกุฏราชวิทยาลัย, 2524. หน้า 35.

86.         วีณา ศิลปอาชาตำรายากลางบ้านกรุงเทพฯ: โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง, 2529. หน้า 74.