1. ชื่อสมุนไพร           มะขาม

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica L. 

          ชื่อวงศ์           LEGUMINOSAE (FABACEAE) – CAESALPINIOIDEAE

          ชื่อพ้อง           ไม่มี

          ชื่ออังกฤษ        Indian date, Tamarind

          ชื่อท้องถิ่น        ตะลูบ, ม่องโคล้ง, มอดแล, ส่ามอเกล, หมากแกง, อำเปียล

 

2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 มิลลิเมตร ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง มีลายสีม่วงแดง ผลเป็นฝัก มีเนื้อหุ้มเมล็ด สีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ

 

3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          - ส่วนเมล็ด       รักษาอาการท้องเสีย ขับพยาธิตัวกลม

          - ส่วนเนื้อ        รักษาอาการท้องผูก

 

4. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์

แทนนินในเมล็ด (1-6) มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเสีย (7) ส่วนในเนื้อมะขามมีกรดทาทาริก (8-18) ซึ่งช่วยระบายท้อง (7)

 

5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 

          5.1   ฤทธิ์ขับพยาธิ-ส่วนเมล็ด

       เมล็ดมะขามมีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนของพยาธิตัวกลม (19)

5.2   ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย-ส่วนเนื้อมะขาม

                 สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในหลอดทดลองที่เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง ได้แก่  Bacillus subtilis (20, 21), Escherichia coli และ Salmonella typhi (20) แต่สารสกัดด้วยคลอโรฟอร์ม (20) และสารสกัดด้วยน้ำ (22) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดังกล่าวอย่างอ่อน (20)

          5.3   ฤทธิ์ระบาย-ส่วนเนื้อมะขาม

                 เมื่อให้หนูแรทกินสารสกัดด้วยน้ำจากฝักมะขาม พบว่ามีการบีบตัวของลำไส้เล็กเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน (23)

 

6. อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

7.1  การทดสอบความเป็นพิษ

                 ไม่พบความเป็นพิษในหนูแรททดลองที่กินอาหารผสมโพลีแซคคาไรด์หรือสีจากเมล็ดมะขาม (24-26)   ในไก่ที่กินอาหารผสมด้วยเนื้อมะขามสุก 2% และ 10% นาน 4 สัปดาห์ พบว่ามีน้ำหนักลดลง มีพิษต่อตับและไต (27) ส่วนการฉีดสารสกัดด้วยน้ำจากเนื้อมะขามให้หนูที่ตั้งครรภ์ ยังไม่พบความผิดปกติกับตัวอ่อนในท้องแต่อย่างใด (28, 29)

7.2  ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

       สารสกัดจากฝักมะขามก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรียบางชนิดในหลอดทดลองได้ (30) 

 

8.  วิธีการใช้

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

                 วิธีการใช้เมล็ดมะขามรักษาอาการท้องเสีย และขับพยาธิตัวกลม

                 ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม กระเทาะเปลือกเอาส่วนเนื้อเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนิ่ม รับประทานแก้ท้องเสีย (31)

       นำเมล็ดที่คั่วและกระเทาะเปลือกออก เอาส่วนเนื้อในเมล็ดแล้วมาแช่ในน้ำเกลือจนนิ่มรับประทานประมาณ 20-30 เมล็ด สามารถขับพยาธิตัวกลมได้ (31)

                 วิธีการใช้เนื้อมะขามรักษาอาการท้องผูก

       สามารถทำได้ 3 วิธี คือใช้เนื้อจากฝักละลายน้ำแล้วผสมเกลือสวนเข้าทางทวาร (32) หรือใช้เนื้อจากฝักผสมเกลือรับประทาน (31, 33) หรือ เอาเนื้อจากฝักผสมเกลือเล็กน้อย แล้วปั้นเป็นลูกกลอนรับประทาน (34)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

1.             Kumararaj R, Narahari D, Kothandaraman P. Chemical composition and nutritive value of differently processed tamarind (Tamarindus indica) seed meal in chick rations. Indian J Poult Sci 1981;16(4):358-63.

2.             Krishna S, Rao PS.  Tamarind seed kernel powder-standard specifications for the commercial product. Indian Textile J 1949;59:314-5.

3.             Narayanamurti D, Dhamaney CP. Adhesive mixtures of cashew nut shell oil, tannin, and formaldehyde. Adhesion 1965;9(10):398-400.

4.             Narayanmurti D, Rao PR, Ram R. Adhesives from tamarind seed testa. J Sci Ind Res 1957;16B:377-8.

5.             Council of Scientific and Industrial Research (India). Obtaining good tanning material from tamarind seed testa. Indian Patent 144,202 (C1. C14C3/12), 1978.

6.             Narayanamurti D, George J, Gupta RC, Ratra YS. Tannin formaldehyde resins: tamarind seed testa tannin. Paintindia 1964;13(12):16-96.

7.             Reynolds JEF, ed.  Martindale: The extrapharmacopocia. London: The Pharmaceutical Press, 1989.

8.             Lewis YS, Neelakantan S, Bhatin DS. Determination of free and combined tartaric acid in plant products. Food Sci 1961;10:49-50.

9.             Lewis YS, Neelakantan S. Nature of tartaric acid in tamarind. Food Sci 1960;9(12):405.

10.         Hasan K, Salam A, Wahid MA. A reinvestigation of tamarind fruit. Pak J Sci 1978;30(1-6):71-3.

11.         Ghosh GP, Pathak AK. Studies on complex formation of phosphoric acid with fruits, tartaric and citric acids. Proc Nat Acad Sci IndianSect A 1981;51(2):209-12.

12.         Ranjan S, Patnaik KK, Laloraya MM. Enzymic conversion of meso-tartrate to dextro-tartrate in tamarind. Naturwissenschaften 1961;48:406.

13.         Verhaar LG. Tartaric acid and other constituents in the fruits of Tamarindus indica. Chronica Naturae 1948;104(1):8-11.

14.         Herrana JF. Study of the fruits of some Papilionaceae. Quimca 1946;4:96-7.

15.         Rosentialer L. Chemical characterization of drugs. Pharm Acta Helv 1926;1:72-9.

16.         Sudborough JJ, Vridhachalam PN. Tartaric acid from tamarinds. J Indian Inst Sci 1920;3:61-80.

17.         Marsden F.  Utilization of tamarind.  J Ind Inst Sci 1923;5:157-62.

18.         Batham HN, Nigam LS. Tamarind as a source of alcohol and tartaric acid.  Agr Research Inst, Pusa, Bull 1924;153:10.

19.         Husain SI, Anwar M. Effect of some plant extracts on larval hatching of Meloidogyne incognita (Kofoid and White Chitwood). Acta Bot Indica 1975;2:142-6.

20.         Alian A, El-Ashwah E, Eid N. Antimicrobial properties of some Egyptian non-alcoholic beverages with special reference to tamarind.  Egypt J Food Sci 1983;11(1-2):109-14.

21.         Ahmad I, Mehmood Z, Mohammad F. Screening of some Indian medicinal plants for their antimicrobial properties. J Ethnopharmacol 1998;62:183-93.

22.         Adamu HM, Abayeh OJ, Agho MO, Abdullahi AL, Uba A, Dukku HU, Wufem BM. An ethnobotanical survey of Bauchi state herbal plants and their antimicrobial activity. J Ethnopharmacol 2005;99:1-4.

23.         Panthong A, Khonsung P, Kunanusorn P, Wongcome T, Pongsamart S. The laxative effect of fresh pulp aqueous extracts of Thai Tamarind cultivars. Planta Medica Issue 09 Volume 74 July 2008, 7th Joint Meeting of GA, AFERP, ASP, PSE & SIF, 3–8 August, Athens, Greece, 2008. p.404418.

24.         Iida M, Matsunaya Y, Matsuoka N, Abe M, Ohnishi K,Tatsumi H. Two year feeding toxicity study of tamarind seed polysaccharide in rats. J Toxicol Sci 1978;3(2):163-92.

25.         Noda T, Morita S, Ohgaki S, Shimizu M, Yamano T, Yamada A. Acute oral toxicities of natural food additives. Seikatsu Eisei 1988;32(3):110-5.

26.         Sano M, Miyata E, Tamano S, Hagiwara A, Ito N, Shirai T. Lack of carcinogenicity of tamarind seed polysaccharide in B6C3F1 mice. Food Chem Toxicol 1996;34(5):463-7.

27.         Mohamedain KM, Mohamed OSA, ElBadwi SMA, Adam SEI. Effect of feeding Tamarindus indica ripe fruit in Brown Hisex chicks. Phytother Res 1996;10:631-3.

28.          Prakash AO, Gupta RS, Mathur R. Effect of oral administration of forty-two indigenous plant extracts on early and late pregnancy in albino rats. Probe 1979;17:315-23.

29.         Runnebaum B, Rabe T, Kiesel L, Prakash AO. Biological evaluation of some medicinal plant extracts for contraceptive efficacy in females. In Future aspects in contraception. Part 2. Female contraception. Boston:MTP Press, Ltd., 1984. p.115-28.

30.         Sivaswamy SN, Balachandran B, Balanehru S, Sivaramakrishnan VM.  Mutagenic activity of south Indian food items. Indian J Exp Biol 1991;29(8):730-7.

31.         กองวิจัยทางการแพทย์. สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1.  กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2526.

32.         บวร เอี่ยมสมบูรณ์ดงไม้กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2518.

33.         . กุลฑล.  ยาพื้นบ้านกรุงเทพฯ:ปรีชาการพิมพ์, 2524.

34.         พระเทพวิมลโมลีตำรายากลางบ้านกรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มงกุฏราชวิทยาลัย, 2524.