1.  ชื่อสมุนไพร          กานพลู

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium aromaticum (L.) Merr. & Perry      

          ชื่อวงศ์           MYRTACEAE

ชื่อพ้อง           Eugenia caryophyllata Thunb.

                             Eugenia caryophyllus (Spreng.) Bullock & Harrison,  

                             Eugenia aromatica Kuntze

          ชื่ออังกฤษ        Clove, Clove tree

ชื่อท้องถิ่น                  -

 

2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้น ขนาดกลาง เปลือกเรียบ สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปขอบขนาน แกมไข่กลับ ปลายแหลม โคนสอบเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบมันเป็นเงา ด้านล่างมีต่อมน้ำมันหนาแน่น ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง มีสีแดงกระจาย เชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ 4 กลีบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลสดรูปไข่กลับแกมรูปรี สีแดงเข้ม

 

3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          -ส่วนดอกและน้ำมัน       รักษาอาการปวดฟัน

 

4. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์

สารออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ คือ 3,4-dihydroxyphenethyl alcohol และ 3,4-dihydroxybenzoic acid จากใบกานพลู (1) และสารยูจีนอล (eugenol) นอกจากนี้สารยูจีนอลยังมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ (2, 3) ขับลม (4) ขับน้ำดี (5) ลดการบีบตัวของลำไส้ (4) ต้านเชื้อแบคทีเรีย (6-17, 19)

 

5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

 5.1 ฤทธิ์ลดการอักเสบ

       สารสกัดด้วยน้ำจากดอก (6)  สารสกัดด้วยเฮกเซนจากผล (18)  สารสกัดด้วยเมทานอลจากเปลือกต้น (19) และสารสกัดด้วยเมทานอลจากเปลือกของลำต้น (20)  และน้ำมันกานพลู (21, 22)  มีฤทธิ์ลดการอักเสบ (6, 18-22)  โดยไปยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin (19, 20, 23-27) โดยยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-1 (18), cyclooxygenase-2 (18-20) และเพิ่มการสังเคราะห์ nitric oxide (19) 

5.2   ฤทธิ์แก้แพ้

       เมื่อฉีดสารสกัดด้วยน้ำจากดอกเข้าช่องท้องหนูแรท พบว่ามีฤทธิ์แก้แพ้ที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้แบบเฉียบพลันของระบบต่างๆ ในร่างกาย (systemic anaphylaxis) ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ด้วยสารประกอบ 48/80  และเมื่อฉีดเข้าทางเส้นเลือดในหนูแรท พบว่ามีฤทธิ์แก้แพ้แบบ passive cutaneous anaphylaxis ที่ถูกกระตุ้นด้วย immunoglobulin E (IgE) โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ไปยับยั้งการหลั่งฮีสตามีน  (28)

5.3   ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุอาการแน่นจุกเสียดจากท้องเสียและแผลในกระเพาะอาหาร

       สารสกัดด้วยเอทานอล (29) สารสกัดด้วยเอทานอล:น้ำ ในอัตราส่วน 3:1 (9)  สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ เมทานอลและน้ำจากดอก (6-8)  สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากดอกที่กลั่นเอาน้ำมันหอมระเหยออกแล้ว (7)  และน้ำมันกานพลู (7-17)  มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียด ได้แก่  Escherichia coli (6-11, 17), Salmonella typhi (9), S. typhosa (7, 11, 17), S. enteritidis (13), S. paratyphi (8), Shigella (9,30), Sh. paradysenteriae (17), Sh. dysenteriae (8), Sh. flexneri (7), Bacillus anthracis (31), B. subtilis (8), B. mesentericus (13), B. cereus (6, 7, 13), Proteus vulgaris (13, 17), Rabbit Cholera (32), Vibrio comma (17, 32), V. cholerae (9,30), V. parahemolyticus (9), Helicobacter pyroli (33) และ Clostridium botulinum (29)  ส่วนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากดอกมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. typhimurium และ P. vulgaris ต่ำ  และสารสกัดด้วยน้ำและสารสกัดด้วยเฮกเซนจากดอกไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อทั้งสองชนิด (34) 

5.4   ฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่

       กานพลูมีสาร eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ (2, 3) มีการใช้น้ำมันกานพลูเป็นส่วนผสมในตำรับยาเพื่อลดอาการปวด (22, 35นอกจากนี้ สาร eugenol ในน้ำมันกานพลูยังออกฤทธิ์เป็นยาสลบในปลาหลายชนิด (36-55)

5.5   ฤทธิ์ขับลม ขับน้ำดี

       กานพลูช่วยขับลมได้เนื่องจากฤทธิ์ของ eugenol (4)  ส่วนสารสกัดกานพลูด้วยอะซีโตน มีฤทธิ์ช่วยขับน้ำดี ทำให้ช่วยย่อยอาหาร  (5)

5.6   ฤทธิ์ป้องกันเยื่อบุกระเพาะ

       น้ำมันกานพลู (56) และสาร eugenol ในกานพลู (56, 57) กระตุ้นให้เยื่อบุเซลล์กระเพาะอาหารมีการหลั่งสารเมือก (mucin) ออกมาเพื่อป้องกันเยื่อบุกระเพาะ (56, 57)

5.8   ฤทธิ์เพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้

                 น้ำมันกานพลูจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กของกระต่าย (58)

5.9  ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

       กานพลูมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยลดอาการปวดเกร็งได้ (59-63)

6. อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

 7.1 การทดสอบความเป็นพิษ

       เมื่อป้อนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50% จากดอกให้หนูเม้าส์ ไม่พบพิษใดๆ และการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูเม้าส์มีพิษเล็กน้อย (64) จากการทดสอบพิษแบบเรื้อรัง  โดยให้กระต่ายกินกานพลูบดแห้งครั้งละ 60 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกันนาน 5 สัปดาห์ ก็ไม่พบพิษต่อตับ ไต และระบบเม็ดเลือด (65)

       มีผู้ศึกษาพบว่าการป้อน eugenol ให้หนูแรท หนูตะเภา และหนูเม้าส์ จะมีพิษปานกลาง   อาการที่พบ คือ อัมพาต โดยเริ่มที่ขาหลัง และกรามล่าง ส่วนอาการเป็นอัมพาตที่ขาหน้าจะเป็นเมื่อมีอาการโคม่า หรือเหนื่อยมากๆ อาจมีปัสสาวะเป็นเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว มีน้ำคั่งในอวัยวะสำคัญ (66)  และพบว่าถ้าให้หนูแรทกิน eugenol 0.1% ขนาด 24 มิลลิลิตร และ 1% ขนาด 6 มิลลิลิตร พบว่ามีการทำลายตับอ่อน ขาดไขมันในช่องท้อง ต่อมไธมัสมีขนาดเล็กลง ม้ามโต และต่อมในกระเพาะอาหารฝ่อ (67)  ส่วนการทดสอบพิษในสุนัข พบว่าเมื่อกรอก eugenol เข้ากระเพาะ สุนัขจะมีอุณหภูมิร่างกายลดลง ชีพจรเต้นแรง แต่อัตราการหายใจไม่เปลี่ยน อาจมีการอาเจียนเมื่อให้ขนาด 0.25 กรัม/กิโลกรัม ขนาดสูงสุดที่ให้คือ 0.5 กรัม/กิโลกรัม ซึ่งจะพบพิษดังกล่าวถึง 65%    อาจพบการเคลื่อนไหวของขาหลังผิดปกติ และอาจทำให้สุนัขตายได้ 2 ใน นาที  ขนาดที่ปลอดภัย คือ 0.2 กรัม/กิโลกรัม (68)

       การฉีด eugenol เข้าระบบไหลเวียนโลหิตโดยตรง จะทำให้ความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจลดลงชั่วขณะ โดยไม่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลง (69)   eugenol สามารถทำลายโปรตีนในเซลล์ของเนื้อเยื่ออ่อนในปาก การจับตัวของเซลล์ลดลง บวม และเกิดเป็นไต  ชั้นใต้ผิวหนังชั้นนอกบวมและกล้ามเนื้ออ่อนแอ (70)

       เมื่อฉีดสาร oleanolic acid จากกานพลู เข้าช่องท้องหนูขาวไม่พบอาการพิษ แต่จะมีท้องเสียเล็กน้อย (71)  และเมื่อฉีดสารโพลีแซคคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงและที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำซึ่งสกัดแยกจากดอกกานพลูเข้าเส้นเลือดบริเวณหางหนูเม้าส์ พบว่า โพลีแซคคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง จะมีพิษปานกลาง ส่วนโพลีแซคคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ไม่พบพิษ แม้ว่าจะให้ในขนาดที่สูง (72

7.2   ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

       สารสกัดด้วยน้ำของกานพลู และส่วนผสมของกานพลูกับคาเฟอีน ไม่สามารถทำให้แมลงหวี่ตัวผู้ (Drosophila melanogaster) ก่อกลายพันธุ์ (73)  ในขณะเดียวกันสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากกานพลู  ก็ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อทดสอบใน Salmonella typhimurium TA98, TA100 และ TM677 และ Bacillus subtilis H17 และ M45 (74)  แต่สารสกัดด้วยเอทานอล 95% จากดอก ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA98 และ TA102 (75)  และเมื่อทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากกานพลู ใน S. typhimurium TA98 สายพันธุ์ 510 และ 4 พบว่าสารสกัดเป็นพิษต่อเชื้อดังกล่าว (76)

          7.3   ฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อน

                 เมื่อป้อนน้ำมันจากใบขนาด 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้หนูแรทเพศเมียที่ตั้งท้องได้ 1-10วันพบว่ามีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อน 20% (77)

 

8. วิธีการใช้กานพลูรักษาอาการปวดฟัน

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

       1.  กลั่นเอาเฉพาะส่วนน้ำมันใช้ใส่ฟัน หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณฟันที่ปวด เพื่อระงับอาการปวดฟัน (78)

       2.  ตำกานพลูพอแหลก ผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะ ใช้สำลีจิ้มอุดฟันที่ปวดและใช้แก้โรครำมะนาด (79, 80)

       3.  เอาดอกกานพลูแช่เหล้าหยอดฟัน (81, 82)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                              ไม่มี

 

 

เอกสารอ้างอิง  

 

1.             Kim HM, Lee EH, Hong SH, Song HJ, Shin MK, Kim SH, Shin TY. Effect of Syzygium aromaticum extract on immediate hypersensitivity in rats. J Ethnopharmacol 1998;60:125-31. 

2.             Ishioka H, Fukuhara O, Sakaguchi S. Studies on the anesthetic effects of eugenol to kurumsa prawn juveniles. Nasei Kaiku Suisan Kenkyusho Kenkyo Hokoku 1974;7:31.  

3.             Laekeman GM, Van Hoof L, Haemers A, Vanden Berghe DA, Herman AG, Vliftinch AJ. Eugenol, a valuable compound for in vitro experimental research and worthwhile for further in vivo investigation. Phytother Res 1990;4(3):90-6.  

4.             Evans BK, James KC, Luscombe DK. Quantitative structure activity relationships and carminative activity. J Pharm Sci 1978;67:277.  

5.             Yamahara J, Kobayashi M, Saiki Y, Sawada T, Fujimura H. Biological active principles of crude drugs: pharmacological evaluation of cholagogue substances in clove and its properties. J Pharmacobio-Dyn 1983;6(50):281-6. 

6.     มาลิน จุลศิริ. ยาเตรียมสมุนไพรเพื่อรักษาโรคติดเชื้อและการติดเชื้อและการอักเสบ : การศึกษาในห้องปฏิบัติการ. การสัมมนาเรื่อง “สมุนไพรไทย : อาหาร ยา สารกำจัดศัตรูพืชและการส่งออก” 2 กันยายน, กรุงเทพฯ, 2547:ก-5-ก-6. 

7.     ปฐมา สัสดีพันธ์  ประรัชญา ผาสุก  มาลิน จุลศิริ  รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. ฤทธิ์ต้านจุลชีพของกากกานพลูภายหลังการกลั่นน้ำมันหอมระเหยออก. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2535.

8.             Ahmad I, Beg AZ. Antimicrobial and phytochemical studies on 45 Indian medicinal plants against multi-drug resistant human pathogens. J Ethnopharmacol 2001;74:113-23. 

9.             Chaimongkol C, Mesena J, Jatisatienr A, Thongwai N.  Inhibitory effect of extracts from Acorus calamus Linn and Eugenia aromatica on growth of pathogenic bacteria. The 3rd World Congress on Medicinal Plant and Aromatic Plants for Human Welfare, 3-7 Feb, Chiang Mai Thailand, 2003. p.453. 

10.         Kosnik A. Antibiotic properties of vegetable oils. Roczniki Akad Med Biatymstoku 1955;1:227-36. 

11.         Dold H, Knapp A. The antibacterial action of spices. Z Hyg Abstr World Med 1949;6:271. 

12.         Koscik A. Antibiotic properties of vegetable oils. Roezniki Akad Med Biatymstoku 1955;1:227-36. 

13.         Ramadan FM, El-Zanfaly HT, Alian AM, El-Wakeil FA. Antibacterial effects of some essential oils. II. Semisolid agar phase. Chem Mikrobiol Technol Lebensm 1972;1:96-102. 

14.         Chirife J, Nunez L, Ballesteros SA, Bonzzini JP, Herszage L, D’Aquino M.Bactericidal effect of clove oil dispersed in a concentrated sugar solution.  Rev Argent Microbiol 1992;24(1):32-9. 

15.         Burt SA, Reinders RD. Antibacterial activity of selected plant essential oils against Escherichia coli O157:H7. Lett Appl Microbiol 2003;36(3):162-7. 

16.          Rhayour K, Bouchikhi T, Tantaoui-Elaraki A, Sendide K, Remmal A. The mechanism of bactericidal action of oregano and clove essential oils and of their phenolic major components on Escheichia coli and Bacillus subtilis.  J Essent Oil Res 2003;15(5):356-62. 

17.         Dold H, Knapp A. The antibacterial action of spices. Hyg Infektionskrankh 1948;128:696-706. 

18.         Lohmann K, Reininger E, Bauer R. Screening of European anti-inflammatory herbal drugs for inhibition of cyclooxygenase-1 and 2. Phytomedicine 2000;(suppl II):99. 

19.         Hee Hong C, Kyung Hur S, Oh O-J, Sook Kim S, Ae Nam K, Kook Lee S.  Evaluation of natural products on inhibition of inducible cyclooxygenase (COX-2) and nitric oxide synthase (iNOS) in cultured mouse macrophage cells.  J Ethnopharmacol 2002;83:153-9. 

20.         Kim SS, Oh O-J, Min H-Y, et al. Eugenol supresses cyclooxygenase-2 expression in lipopolysaccharide-stimulated mouse macrophage RAW264.7 cells. Life Sci 2003;73(3):337-48. 

21.         Vittone WJ. Antiinflammatory composition. Patent: U S 3,644,620, 1972:1pp. 

22.         Shahawi HM.  Revulsive, analgesic, and antiinflammatory composition.  Patent: Fr M 7691, 1970:4pp

23.          Burstein S, Taylor P, EL-Feraly FS, Tumer C. Prostaglandins and cannabis: V. Identification of p-vinylphenol as a potent inhibitor of prostaglandin synthesis. Biochem Pharmacol 1976;25(17):2003-4.  

24.         Reddy ACP, Lokesh BK. Studies on anti-inflammatory activity of spice principles and dietary N-2-unsaturated fatty acids on carrageenan-induced inflammation in rats. Ann Nutr Metab 1994;386:349-59. 

25.         Pongprayoon U, Baeckstrom P, Jacobsson U, Lindstrom M, Bohlin L. Compounds inhibiting prostaglandin synthesis isolated from Ipomoea pescaprae. Planta Med 1991;576:515-8.  

26.         Dewhirst FE. Eugenol, a prototype phenolic prostaglandin synthetase inhibitor, its anti-inflammatory activity. Its effects on sheep vesicular gland cyclooxygenas and structure-activity relationships for cyclooxygenase inhibition by sixty-three phenolic compounds. Diss Abstr Int B 1979;40:2145. 

27.          Wagner H, Wieser M, Baner R. In vitro inhibition of prostaglandin biosynthesis by essential oils and phenolic compounds. Planta Med 1986;3:184-7.  

28.         Liu J, Wang G, Li R, Shao Z, Zao J. 3,4-Dihydroxyphenethyl alcohol and 3,4-dihydroxybenzoic acid from Eugenia caryophyllata leaves as antiinflammatory agents. Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1,030,184, 1989:4pp. 

29.         Ueda S, Yamashita H, Kuwabara Y. Inhibition of Clostridium botulinum and Bacillus sp. by spices and flavoring compounds. Nippon Shokuhin Kogyo Gakkaishi 1982;29(7):389-92. 

30.         Ali MA, Hossain MM, Sheikh S, Hoque MM. Screening of different solvent extracts of clove (flower bud of Syzygium aromatica) for antibacterial activity.  Bangladesh J Sci Ind Res 1996;31(2):141-6. 

31.         Abdullin KK. Bactericidal effect of essential oils. Uch Zap Kazansk Vet Inst 1962;84:75-9.

32.         Nayak KP, Dutta NK. Role of essential oils and allied drugs in experimental cholera of the rabbit. Indian J Med Res 1961;49:51-4.

33.         Bae E-A, Joo Han M, Kim N-J, Kim D-H. Anti-Helicobacter pylori activity of herbal medicines. Biol Pharm Bull 1998;21(9):990-2. 

34.         Ahmad I, Mehmood Z, Mohammad F. Screening of some Indian medicinal plants for their antimicrobial properties. J Ethnopharmacol 1998;62:183-93. 

35.         McDaniels LM. Herbal ointment containing essential oils. Patent: U S US 6,589,543, 2003:2pp. 

36.         Munday PL, Wilson SK. Comparative efficacy of clove oil and other chemicals in anesthetization of Pomacentrus amboinensis, a coral reef fish. J Fish Biol 1997;51(5):931-8. 

37.         Sladky KK, Swanson C, Stoskopf MK, Loomis MR, Lewbart GA. Comparative efficacy of tricaine methanesulfonate and clove oil for use as anesthetics in red pacu (Piaractus brachypomus). Am J Vet Res 2001;62(3):337-42. 

38.           Hamackova J, Sedova MA, Pjanova SV, Lepicova A. The effect of 2-phenoxyethanol, clove oil and propiscin anesthetics on perch (Perca fluviatilis) in relation to water temperature. Czech Journal of Animal Science 2001;46(11):469-73. 

39.         Tort L, Puigcerver M, Crespo S, Padros F. Cortisol and haematological response in sea bream and trout subjected to the anaesthetics clove oil and 2-phenoxyethanol. Aquacult Res 2002;33(11):907-10. 

40.         Fathi AF, Afshar J, Maham M. Study and comparison of anesthetic effect of clove oil and tricaine in Cyprinus carpio, Hypophthalmichthys molitrix and Ctenopharyngodon idella. Ulum-I Daroei (Tabriz, Islamic Republic of Iran) 2002;(1):61-8. 

41.         Wagner E, Arndt R, Hilton B. Physiological stress responses, egg survival and sperm motility for rainbow trout broodstock anesthetized with clove oil, tricaine methanesulfonate or carcon bioxide. Aquaculture 2002;211(1-4):353-66. 

42.         Pirhonen J, Schreck CB. Effects of anaesthesia with MS-222, clove oil and CO2 on feed intake and plasma cortisol in steelhead trout (Oncorhynchus mykiss).  Aquaculture 2003;220(1-4):507-14.

43.         Wagner GN, Singer TD, McKinley RS. The ability of clove oil and MS-222 to minimize handling stress in rainbow trout (Oncorhynchus mykiss Walbaum).  Aquacult Res 2003;34(13):1139-46. 

44.         Iversen M, Finstad B, McKinley RS, Eliassen RA. The efficacy of metomidate, clove oil, Aqui-S and Benzoak as anaesthetics in Atlantic salmon (Salmo salar L.) smolts, and their potential stress-reducing capacity. Aquaculture 2003;221(1-4):549-66. 

45.         Small BC. Anesthetic efficacy of metomidate and comparison of plasma cortisol responses to tricaine methanesulfonate, quinaldine and clove oil anesthetized channel catfish Ictalurus punctatus. Aquaculture 2003;218(1-4):177-85. 

46.         Hamackova J, Lepicova A, Kozak P, Stupka Z, Kouril J, Lepic P. The efficacy of various anaesthetics in tench (Tinca tinca L.) related to water temperature.  Veterinarni Medicina 2004;49(12):467-72.

47.         Soltani M, Marmari G, Mehrabi MR.  Acute toxicity and anesthetic effects of clove oils in Penaeus semisulcatus under various water quality conditions.  Aquacult Int 2004;12(4-5):457-66. 

48.         Davis KB, Griffin BR. Physiological responses of hybrid striped bass under sedation by several anesthetics. Aquaculture 2004;233(1-4):531-48. 

49.         Grush J, Noakes DLG, Moccia RD. The efficacy of clove oil as an anesthetic for the zebrafish, Danio rerio (Hamilton). Zebrafish 2004;1(1):46-53. 

50.         Kildea MA, Allan GL, Kearney RE. Accumulation and clearance of the anaesthetics clove oil and AQUI-S from the edible tissue of silver perch (Bidyanus bidyanus). Aquaculture 2004;232(1-4):265-77. 

51.         Cooke SJ, Suski CD, Ostrand KG, Tufts BL, Wahl DH. Behavioral and physiological assessment of low concentrations of clove oil anaesthetic for handling and transporting largemouth bass (Micropterus salmoides).  Aquaculture 2004;239(1-4):509-29. 

52.         Holloway AC, Keene JL, Noakes DG, Moccia RD. Effects of clove oil and MS-222 on blood hormone profiles in rainbow trout Oncorhychus mykiss, Walbaum. Aquacult Res 2004;35(11):1025-30. 

53.         Velisek J, Svobodova Z, Piackova V. Effects of clove oil anaesthesia on rainbow trout (Oncorhynchus mykiss). Acta Veterinaria Brno 2005;74(1):139-46. 

54.         Mylonas CC, Cardinaletti G, Sigelaki I, Polzonetti-Magni A. Comparative efficacy of clove oil and 2-phenoxyethanol as anesthetics in the aquaculture of European sea bass (Dicentrarchus labrax) and gilthead sea bream (Sparus aurata) at different temperatures. Aquaculture 2005;246(1-4):467-81. 

55.         King V W, Hooper B, Hillsgrove S, Benton C, Berlinsky DL. The use of clove oil, metomidate, tricaine methanesulphonate and 2-phenoxyethanol for inducing anaesthesia and their effect on the cortisol stress response in black sea bass (Centropristis striata L.). Aquacult Res 2005;36(14):1442-9.

56.         Hollander F, Lauber FU, Stein JJ. The pH of gastric mucous secretion. Am J Physiol 1948;152:645-51.

57.         Hollander F, Lauber FU. Eugenol as a stimulus for gastric mucous secretion. Proc Soc Exptl Biol Med 1948;67(1):34-7.

58.         Sone Y, Shiro H. The action of some ether-soluble oils on the motor response of the intestine. Tohoku Journal of Experimental Medicine 1937;30:540-5.

59.         Apisariyakul AC, Puddhasukh D, Niyomka P. Pharmacological screening of Thai natural products. The First Princess Chulabhorn Science Congress, Bangkok, Thailand, Dec 10-13, 1987.

60.         Aphisariyakul A. Pharmacological study of some medicinal plants on rat ileums. Chiang Mai Pharm 1987;3(1):8.  

61.         Aphisariyakul A. Investigation of fractions isolated from Thai medicinal plants affecting on isolated rat ileum. Symposium on Science and Technology of Thailand 10th, Bangkok, Thailand, Oct 25-27, 1984. 

62.    โสภิต ธรรมอารี  จันทิมา ปโชติการ  มณฑิรา ตัณฑ์เกยูร  จันทนี อิทธิพานิชพงศ์. ฤทธิ์ของยาสมุนไพร 30 ชนิดที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคท้องร่วงและบิดต่อการบีบตัวของลำไส้เล็กหนูตะเภา. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2528;29(1):39-51.

63.    อัมพวัน อภิสริยะกุล. การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพืชสมุนไพรบางชนิดต่อลำไส้เล็กของหนูขาว. เชียงใหม่เภสัชสาร 2527;3(1):8-16. 

64.    มงคล โมกขะสมิต  กมล สวัสดีมงคล  ประยุทธ สาตราวาหะ. การศึกษาพิษของสมุนไพรไทย.  วารสารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2514;13(1):36-66. 

65.    ปกรณ์ ไทยานันท์. ฤทธิ์ของสารสมุนไพรยับยั้งการทำงานของคอมพลีเมนต์. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2543. 

66.         Sober HA, Hollander F, Sober EK. Toxicity of eugenol: Determination of LD50 on rats. Proc Soc Exptl Biol Med 1950;73(1):148-51.  

67.         Cambel P, Conroy C. Ectopic pancreatic tissue in the stomach wall of an albino rat. Quart J Florida Acad Aci 1951;14(4):239-46. 

68.         Lauber FU, Hollander F. Toxicity of the mucigogue, eugenol, administered by stomach tube to dogs. Gastroenterol 1950; 15(3): 481-6. 

69.         Sticht FD, Smith RM. Eugenol: some pharmacologic observations. J Dent Res 1971;50(6/2):1531-5. 

70.         Kozam G, Mantell GM. The effect of eugenol on oral mucous membranes. Ibid 1978;57(11/12):954-40.  

71.         Somova LO, Nadar A, Rammanan P, Shode FO. Cardiovascular, antihyperlipidemic and antioxidant effects of oleanolic and ursolic acids in experimental hypertension. Phytomedicine 2003;10:115-21. 

72.         Im Lee J, Sun Lee H, Jin Jun W, et al. Purification and characterization of antithrombotics from Syzygium aromaticum (L.) Merr. & Perry. Biol Pharm Bull 2001;24(2):181-7. 

73.         Abraham SK, Kesavan PC. Evaluation of possible mutagenicity of the condiment clove when administered alone or incombination with caffeine in Drosophila melanogaster. Indian J Exp Biol 1978;16(4):518-9.  

74.         Laorungkan D. The development of Thian King and clove as disinfectants and skin antiseptics. MS Thesis, Master of Science (Pharmacy), Mahidol Univ, 1991. 

75.         Mahmoud I, Alkofahi A, Abdelaziz A. Mutagenic and toxic activities of several spices and some Jordanian medicinal plants. Int J Pharmacognosy 1992;30(2):81-5.

76.         Shashikanth KN, Hosono A. In vitro mutagenicity of tropical spices to streptomycin-dependent strains of Salmonella typhimurium TA98. Agric Biol Chem 1986;50(11):2947-8. 

77.         Dhar SK, Nigam MO, Anand KK, Kaul U. Anti-implantation studies of some essential oils and trans-anethole. Indian Drugs 1990;27(10):551. 

78.         กองวิจัยทางการแพทย์สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข, 2526:17.  

79.         หมอชีวกโกมารทัจจ์ตำรายาวิเศษกรุงเทพฯ : ชัยมงคลการพิมพ์, 2517:27.  

80.         อาจินต์ ปัญจพรรค์เมืองไทย 16 ค่ำกรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กิจเจริญ, 2517:77. 

81.          คล้อย จันทร์ศรี. แบบสัมภาษณ์ผู้ใช้โดยโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง

82.         . กุลฑลตำรายาพื้นบ้านกรุงเทพฯ: ปรีชาการพิมพ์, 2524:56.