1.  ชื่อสมุนไพร           ฝรั่ง

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava Linn.

          ชื่อวงศ์           MYETACEAE

          ชื่อพ้อง           ไม่มี    

          ชื่ออังกฤษ        Guava

          ชื่อท้องถิ่น        จุ่มโป่, ชมพู่, มะก้วย, มะก้วยกา, มะกา, มะจีน, มะมั่น, ยะมูบุเตบันยา, ยะริง, ยาม, ย่ามู, สีดา

    

2.  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม เป็นรูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน มีขนาดกว้าง 3-8 เซนติเมตร และยาว 6-14 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกมีสีขาว ร่วงง่าย เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ผลเป็นผลสด เนื้อผลเป็นสีขาว มีเมล็ดจำนวนมาก รูปกลมแบน

 

3.  ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          - ใบและผล      รักษาอาการท้องเสีย (1, 2)

 

4.  สารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์

          สารที่พบในใบฝรั่ง ได้แก่ quercetin และ quercetin-3-arabinoside ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ (3)  quercetin 3-O-b-L-arabinoside (guajavarin), quercetin 3-O-b-D-glucoside (isoquercetin), quercetin 3-O-b-D-galactoside (hyperin), quercetin 3-O-b-L-rhamnoside (quercitrin) และ quercetin 3-O gentiobioside (4)  ในผลพบ tannin (5) มีฤทธิ์ฝาดสมานใช้แก้อาการท้องเสีย (6)        

 

5.  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          5.1   ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ แก้ท้องเสีย

                 จากการวิจัยฤทธิ์ทางยาของฝรั่งพบว่าการให้ยาเม็ดแคปซูลใบฝรั่งครั้งละ 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน กับผู้ป่วยที่เป็นโรคอุจจาระร่วง 122 คน สามารถลดจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ ระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระ และจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนได้ (7) การให้ยาเม็ดแคปซูลฝรั่งขนาด 500 มิลลิกรัม (ที่มีสารฟลาโวนอยด์ 1 มิลลิกรัม/แคปซูล 500 มิลลิกรัม)  ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วันในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง จำนวน 50 คน จะสามารถลดการบีบตัวของลำไส้และลดระยะเวลาปวดท้องได้ (8) การให้ยาต้มของฝรั่งในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส (Rota virus) 62 คน ทำให้อาการดีขึ้นภายใน 3 วัน ระยะเวลาท้องเสียสั้นลง และไม่พบเชื้อ Rota virus ในอุจจาระมากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (9)

                 สารสกัดใบฝรั่งด้วยคลอโรฟอร์ม เฮกเซน เมทานอล และน้ำ สามารถลดการเคลื่อนไหว และการหดเกร็งของลำไส้เล็กของหนูตะเภาและหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นด้วยอะเซทิลโคลีน (10, 11) สารสกัดใบฝรั่งด้วยเอทานอลร้อยละ 50 สามารถยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้หดตัวด้วยกระแสไฟฟ้า อะเซทิลโคลีน และแบเรียมคลอไรด์ได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถยับยั้งอาการท้องเสียในหนูเม้าส์ที่ถูกชักนำให้เกิดอาการท้องเสียด้วยน้ำมันละหุ่ง โดยฝรั่งจะไปเพิ่มการดูดซึมน้ำในลำไส้และลดการบีบตัวของลำไส้ (12) สารสกัดด้วยน้ำของใบฝรั่งสดสามารถยับยั้งอาการท้องเสียได้ โดยลดจำนวนครั้งของการอุจจาระในหนูซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการท้องเสียด้วยยา microlax ได้ (13)

                 ส่วนสกัดของสารกลุ่ม polyphenolic, saponin และ alkaloid จากใบฝรั่ง สามารถยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้เล็กของหนูตะเภาที่เหนี่ยวนำให้หดเกร็งด้วยอะเซทิลโคลีนและโปตัสเซียมคลอไรด์ได้ (14)  สาร quercetin และ quercetin-3-arabinoside จากใบฝรั่ง สามารถต้านการหดตัวของลำไส้เล็กที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยอะเซทิลโคลีน ทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยลง (3)  นอกจากนี้สาร quercetin ในใบฝรั่งยังสามารถยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้เล็กในหนูแรทและหนูตะเภาซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดอาการหดเกร็งด้วยสารละลายโปตัสเซียม  อะเซทิลโคลีน แบเรียมคลอไรด์ ฮีสตามีน และซีโรโทนินได้ (15, 16)  และสามารถลดความสามารถในการซึมผ่านของๆ เหลวของหลอดเลือดฝอยบริเวณท้องซึ่งมีผลช่วยรักษาอาการท้องเสีย (17) สาร quercetin 3-O-b-L-arabinoside (guajavarin), quercetin 3-O-b-D-glucoside (isoquercetin), quercetin 3-O-b-D-galactoside (hyperin), quercetin 3-O-b-L-rhamnoside (quercitrin) และ quercetin 3-O-gentiobioside จากใบฝรั่ง สามารถลดการหดเกร็งของลำไส้เล็กหนูเม้าส์ได้ (4)   สาร asiatic acid จากใบฝรั่งมีผลทำให้กล้ามเนื้อลำไส้เล็กส่วนปลายของกระต่ายคลายตัว (18)  สารสกัดผลฝรั่งดิบด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ต้านการหลั่งอะเซทิลโคลีนในลำไส้เล็กของหนูแรทและหนูตะเภาได้ แต่มีฤทธิ์น้อยกว่าอะโทรปีน โดยฝรั่งมีผลทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้รักษาอาการท้องเสียได้ (19)   สารสกัดฝรั่ง (ไม่ระบุส่วน) สามารถลดการบีบตัวของลำไส้เล็กของหนูแรทได้ (20)  

          5.2   ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

                 สารสกัดเปลือกต้นและใบฝรั่งด้วยเอทานอลร้อยละ 70 ที่ความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วง คือ Vibrio cholerae และ Vibrio parahaemolyticus แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Escherichia coli, Shigella flexneri, Salmonella typhimurium และ Staphylococcus aureus ในจานเลี้ยงเชื้อ (21) สารสกัดใบฝรั่งด้วยเอทานอลร้อยละ 50 ที่ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย Shigella dysenteriae, Sh. Flexneri, E. coli และ S. typhimurium ในจานเลี้ยงเชื้อได้ แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Salmonella enteritidis (23) สารสกัดด้วยทิงเจอร์ร้อยละ 10 ของฝรั่งสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย V. cholerae ที่เป็นสาเหตุของอหิวาตกโรคในจานเลี้ยงเชื้อได้ผลปานกลาง (24) สารสกัดใบฝรั่งด้วยเมทานอลสามารถต้านเชื้อ E. coli (29), Sh.  flexneri, Sh. virchow และ Sh. dysenteriae (30) ในจานเลี้ยงเชื้อได้ นอกจากนี้สารสกัดใบฝรั่งด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ที่ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย Enterococcus faecalis ในจานเลี้ยงเชื้อได้ แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ E. coli และ S. typhimurium (31)

                 สารสกัดใบฝรั่งด้วยน้ำสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Sh. dysenteriae (22, 25), V. cholerae, S. typhi (25) และ E. coli (26) ในจานเลี้ยงเชื้อได้ นอกจากนี้สารสกัดใบฝรั่งด้วยน้ำร้อนยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Vibrio 23 สายพันธุ์ ที่แยกจากกุ้งกุลาดำซึ่งเป็นโรคได้ (27) สารสกัดด้วยน้ำและเอทานอลจากใบฝรั่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ E. coli 6 สายพันธุ์จากการศึกษาในจานเลี้ยงเชื้อ โดยสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ดีกว่าสารสกัดด้วยเอทานอล (28) สารสกัดผลดิบของฝรั่งด้วยเมทานอลสามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย Sh. dysenteriae, Sh. dysenteriae, Sh. dysenteriae, Sh. dysenteriae และ V. cholerae ในจานเลี้ยงเชื้อได้ (19)   

น้ำมันหอมระเหยจากใบฝรั่งสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Bacillus subtilis, E. coli, และ S. typhimurium ในจานเพาะเลี้ยงเชื้อ (32) ซึ่งพบว่าสาร morin 3-O-lyxoside และสาร morin 3-O-arabinoside จากใบฝรั่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. enteritidis และ Bacillus cereus ดีกว่าสาร guaijaverin และ quercetin (33)

                 นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดใบฝรั่งสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสิว  3 ชนิด ได้แก่ Propionibacterium acnes, S. aureus และ S. epidermidis ในจานเลี้ยงเชื้อ (34)

          5.3   ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

                 จากการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วย 70 คน ที่มีเหงือกอักเสบ พบว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากใบฝรั่งสามารถลดการอักเสบได้ร้อยละ 19.8 และลดรอยโรคที่ความรุนแรง ได้ร้อยละ 40 เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีส่วนผสมของสารสกัดจากใบฝรั่ง หลังจากใช้เป็นเวลา 3 สัปดาห์ (35) 

                 สารสกัดใบฝรั่งด้วยน้ำขนาด 50-800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าช่องท้องพบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันเมื่อทดสอบกับอุ้งเท้าหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยไข่ขาวสด (36) นอกจากนี้เมื่อฉีดน้ำมันหอมระเหยจากใบฝรั่งเข้าทางช่องท้องของหนูแรทในขนาด 0.8 มิลลิลิตร/กิโลกรัม พบว่าสามารถยับยั้งการอักเสบที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสาร carrageenan ได้ (37) 

สารสกัดจากผลฝรั่งด้วยเมทานอลเมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูแรท พบว่าสามารถยับยั้งการอักเสบของอุ้งเท้าหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสาร carrageenan, kaolin และ formaldehyde ได้ นอกจากนี้สารสกัดผลฝรั่งด้วยเมทานอลเมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์จะสามารถยับยั้งการอักเสบและลดอาการเจ็บปวดที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย acetic acid  ได้ดีกว่าแอสไพรินที่ให้ในขนาดเท่ากันเล็กน้อย (38

เมื่อนำใบฝรั่งมาหมักกับราและแบคทีเรียได้แก่ Phellinus linteus (ส่วนเส้นใย) Lactobacillus plantarum และ Saccharomyces cerevisiae แล้วนำมาสกัดด้วยเอทานอล พบว่าสารสกัดที่ได้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบคือ ไนตริกออกไซด์และ พรอสต้าแกรนดิน อี 2 ในหลอดทดลอง (39) นอกจากนี้สารสกัดฝรั่งด้วยเอทานอลและน้ำยังออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ (39)

                 สารสกัดใบฝรั่งด้วยเอทิลอะซีเตตมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และแก้แพ้โดยยับยั้งการตอบสนองต่อแอนติเจนที่ชักนำให้เกิดการแพ้และการอักเสบ (40)

          5.4   ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

                 สารสกัดใบฝรั่งด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูแรทที่ถูกชักนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีด alloxan เข้าหลอดเลือดดำโดยสารสกัดใบฝรั่งออกฤทธิ์ใน 2 ชั่วโมง มีฤทธิ์สูงสุดในชั่วโมงที่ 6 และหมดฤทธิ์ใน 24 ชั่วโมง (41)

          5.5   ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง

                 สารสกัดใบฝรั่งมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง murine fibrosarcoma และเซลล์มะเร็งเต้านม  (42)

 

6.  อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7.  ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ

                 ในการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันพบว่าสารสกัดใบฝรั่งด้วยเอทานอลและน้ำเมื่อป้อนให้หนู ไม่พบความเป็นพิษ (41, 43-45) แต่เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องพบความเป็นพิษเล็กน้อย (46) ในการทดสอบความเป็นพิษเรื้อรัง เมื่อให้สารสกัดใบฝรั่งด้วยน้ำทางปากแก่สัตว์ทดลอง ในขนาด 0.2, 2 และ 20 กรัม/กิโลกรัมทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน  พบว่าสัตว์ทดลองกลุ่มที่ได้รับสารสกัดมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นช้าลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยที่ไม่พบความแตกต่างของปริมาณอาหารที่รับประทานในหนูทุกกลุ่ม และมีพฤติกรรมโดยทั่วไปเป็นปกติในทุกกลุ่ม นอกจากนี้พบว่าหนูเพศผู้มีเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น ภาวะการทำงานของตับ และไตผิดปกติเนื่องจากมีระดับ alkaline phosphatase (ALP),  serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) และ blood urea nitrogen (BUN) สูงขึ้น ในขณะที่ระดับของโซเดียมและคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง น้ำหนักของตับและไตเพิ่มขึ้น การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์พบการเปลี่ยนแปลงของไขมันในเซลล์ และเกิดภาวะน้ำในไต (hydronephrosis) ส่วนหนูเพศเมียพบว่ามีระดับโซเดียม โปแตสเซียม และอัลบูมินในเลือดเพิ่มขึ้น ขณะที่มีเกร็ดเลือดและโกลบูลินลดลง ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวและไต แต่พบการเกิดตะกอนแคลเซียมในเนื้อไต (nephrocalcinosis) และกรวยไตอักเสบ (pyelonephritis) ในบางตัว (44)

 

8. วิธีการใช้

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

                 1.  นำใบฝรั่งประมาณ 10-15 ใบ มาล้างน้ำให้สะอาด แล้วโขลกพอแหลก ใส่น้ำ 1 แก้วใหญ่ นำไปต้มใส่เกลือพอมีรสกร่อย พอเดือดยกลงนำมาดื่มแทนชาได้ผลดี (1)

                 2.  นำผลฝรั่งอ่อนๆ มาฝานเอาแต่เปลือกกับเนื้อเท่านั้น เมล็ดทิ้งไปใส่เกลือเล็กน้อยพอกร่อยๆ แล้วกินรวมกัน หรือจะใช้ต้มดื่มเป็นน้ำฝรั่งก็ได้ (1)

                 3.  นำใบฝรั่งสดที่ไม่อ่อนและไม่แก่เกินไปมาตัดหัวตัดท้ายแล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้สักครู่ ตักน้ำที่ได้จากการแช่ใบฝรั่งมาจิบทีละนิด ไม่ควรจิบมากหรือบ่อยเกินไปเพราะจะทำให้ท้องผูก (2)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

1.             อาจินต์ ปัญจพรรค์. เมืองไทยอมตะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญกิจ, 2522.

2.             อาจินต์ ปัญจพรรค์ขุดทองในบ้านกรุงเทพฯ: อนงค์ศิลป์การพิมพ์, 2524.

3.             Lutterodt GD. Inhibition of gastrointestinal release of acetylcholene by quercetin as a possible mode of action of Psidium quajava leaf extracts in the treatment of acute diarrhoeal disease. J Ethnopharmacol 1989;25(3):235-47.

4.             Lozoya X, Meckes M, Abou-Zaid M, Tortoriello J, Nozzolillo C, Arnason JT.  Quercetin glycosides in Psidium  guajava L. leaves and determination of a spasmolytic principle. Arch Med Res 1994;25(1):11-5.

5.             Do Brasil SM, De Mello FAF, Haag HP, Leme J. Chemical composition of guava. Anais Escola Super Agr "Luiz de ueiroz", Univ Sao Paulo 1961;18:183-4.

6.             Reynolds JEF; ed. Martindale: The extra pharmacopocia.  London: The Pharmaceutical Press 1989. p.779.

7.     ปัญจางค์ ธนังกูล และ ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ. การศึกษาผลทางคลินิกของใบฝรั่งในโรคอุจจาระร่วงสารศิริราช 2530;39(5):263-6.

8.     Lozoya X, Reyes-Morales H, Chavez-Soto MA, et al. Intestinal anti-spasmodic effect of a phytodrug of Psidium guajava folia in the treatment of acute diarrheic disease. J Ethnopharmacol 2002;83:19-24.

9.             Wei L, Li Z, Chen B. Clinical study on treatment of infantile rotaviral enteritis with Psidium guajava L. Zhongguo Zhong  Xi Yi Jie He Za Zhi 2000;20(12):893-5.

10.    มาลิน  จุลศิริ  และคณะ. สารสกัดจากพืชเพื่อแก้โรคท้องร่วง ท้องเดิน. รวมบทคัดย่องานวิจัย การแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.

11.    อัมพวัน อภิสริยะกุล. การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพืชสมุนไพรบางชนิดต่อลำไส้เล็กของหนูขาว. เชียงใหม่เภสัชสาร 2527;3(1):8-16.

12.    วันชัย ไอรารัตน์ วีรพล คู่รงวิริยพันธุ์ จินตนา สัตยาศัย. การศึกษาฤทธิ์ต้านอาการท้องร่วงของน้ำสกัดใบฝรั่งและเปลือกผลทับทิมตากแห้งในสัตว์ทดลอง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2543;15(1):3-11.  

13.         Lutterodt GD.  Inhibition of microlax-induced experimental diarrhoea with narcotic-like extracts of Psidium gaujava leaf in rats.  J Ethnopharmacol 1992;37:151-7.

14.         Tona L, Kambu K, Ngimbi N, et al.  Antiamoebic and spasmolytic activities of extracts from some antidiarrhoeal traditional preparations used in Kinshasa, Congo.  Phytomedicine 2000;7(1):31-8.

15.         Morales MA, Tortoriello J, Meckes M, Paz D, Lozoya X.  Calcium-antagonist effect of quercetin and its relation with the spasmolytic properties of Psidium guajava L.  Arch Med Res 1994;25(1):17-21.

16.    อัมพวัน  อภิสริยะกุล  นุชนารถ  ชัยชนะ  และ วิลาสินี  อยู่สุขการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเคอร์ซิทิน (Quercetin) ซึ่งพบในใบฝรั่ง (Psidium guajava, Myrtaceae) ต่อการหดตัวของลำไส้เล็กหนูขาวและหนูตะเภา. วารสารเภสัชวิทยา 2536;14-15:35-40.

17.         Zhang W, Chen B, Wang C, Zhu Q, Mo Z. Mechanism of quercetin as an antidiarrheal agent.  Diyi Junyi Daxue Xuebao 2003;23(10):1029-31.

18.         Begum S, Hassan SI, Siddiqui BS, et al. Triterpenoids from the leaves of Psidium guajava.  Phytochemistry 2002;61:399-403.  

19.         Ghosh TK, Sen T, Das A, Dutta AS, Nag Chaudhuri AK. Antidiarrhoeal activity of the methanolic fraction of the extract of unripe fruits of Psidiun guajava Linn.  Phytother Res 1993;7:431-3.

20.    ดาวฤกษ์ เล่ห์มงคล และคณะ. การศึกษาฤทธิ์ของสมุนไพรต่อการบีบตัวของลำไส้หนูขาวรวมบทคัดย่องานวิจัย การแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.

21.         Gritsanapan W, Chulasiri M. A primary study of antidiarrheal plants: I, antibacterial activity. Mahidol Univ J Pharm Sci 1983;10(4):119-23.

22.         Caceres A, Cano O, Samayoa B, Aguilar L. Plants used in Guatemala for the treatment of gastrointestinal disorders. I. Screening of 84 plants against enterobacteria. J Ethnopharmacol 1990;30:55-73. 

23.         Caceres A, Torres MF, Ortiz S, Cano F, Jauregui E.  Plants used in Guatemala for the treatment of gastrointestinal disorders. IV. Vibriocidal activity of five American plants used to treat infections. J Ethnopharmacol 1993;39:73-5.

24.         Chah KF, Eze CA, Emuelose CI, et al. Antibacterial and wound healing properties of methanolic extracts of some Nigerian medicinal plants.  J Ethnopharmacol 2006;104:164-7.

25.         Lin J, Puckree T, Mvelase TP. Anti-diarrhoeal evaluation of some medicinal plants used by Zulu traditional healers.  J Ethnopharmacol 2002;79:53-6.

26.         Chariandy CM, Seaforth CE, Phelps RH, Pollard GV and Khambay BPS.  Screening of medicinal plants from Trinidad and Tobago for antimicrobial and insecticidal properties. J Ethnopharmacol 1999;64:265-70.

27.    สุรีย์ ประเสริฐสุข มรกต สุกโชติรัตน์. ผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดที่มีต่อการเจริญของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคบิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12, กรุงเทพฯ, 2529.

28.    จริยา สินเดิมสุข สมเกียรติ ตีกิจเสริมพงศ์ วีณา จารุปรีชาชาญ. เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรักษาโรคอุจจาระร่วงระหว่าง ใบฝรั่งและเปลือกมังคุด. วารสารเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2532:16(2):32-5.

29.         Kanbutra P, Porntrakulpipat S, Borisutpeth P, et al.  Anti-bacterial activity of Thai medicinal plants on Escherichia coli (F18+). The 2nd International Conference on Medicinal Mushroom and The International Conference on Biodiversity and Bioactive Compounds, 17-19 July, Pattaya, Thailand, 2003. 

30.         Direkbusarakom S, Aekpanithanpong U. The efficiency of the crude extract from the leaf of guajava (Psidium guajava L.) on Vibrio spp. isolated from disease tiger prawn (Peanaeus monodon).  First Joint Seminar: Advance in research on pharmacologically active substances from natural sources, 3-5 December, Chiang Mai, Thailand, 1992.

31.         Voravuthikunchai S, Lortheeranuwat A, Jeeju W, et al.  Effective medicinal plants against enterohaemorrhagic escherichia coli O157:H7. J Ethnopharmacol 2004;94:49-54.

32.         Roengsumran S, Petsom A, Thaniyavarn S, Pornpakakul S, Khantahiran S.  Antibacterial activity of some essential oils. J Sci Res Chula Univ 1997;22(1):13-9.

33.         Danno G, Arima H. Antibacterial flavonoid glycosides from guava.  Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho Jp 2004250406 2004:12pp.  

34.         Qa’dan F, Thewaini A, Afifi DA Ali. Rana, Elkhawad A and Matalka KZ. The antimicrobial activities of Psidium guajava and Juglans regia leaf extracts to acne-developing organisms. Am J Chinese Med 2005;33(2):197-204.

35.    ชลธิชา  อมรฉัตร  เทอดพงษ์  ตรีรัตน์  เพชรรัตน์  ไกรวพันธ์. ผลของน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมสารสกัดใบฝรั่งต่อการอักเสบของเหงือก. หนังสือรวบรวมผลงานการวิจัย โครงการพัฒนาการใช้สมุนไพร และยาไทยทางคลินิก (2525-2536) โดยคณะกรรมการโครงการพัฒนาการใช้สมุนไพรและยาไทยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า105-113.

36.         Ojewole J A O. Antiinflammatory and analgesic effects of Psidium guajava Linn. (Myrtaceae) leaf aqueous extract in rats and mice. Methods Find Exp Clin Pharmacol 2006;28(7):441-6.

37.         Kavimani S, Karpagam R, Jaykar B. Anti-inflammatory of volatile oil of Psidium guajava.  Ind J Pharm Sci 1997;59(3):142-4.

38.         HussamTS, Nasralla SH, Chaudhuri AKN. Studies on the antiinflammatory and related pharmacological activities of Psidium guajava: A preliminary report.  Phytother Res 1995;9(2):118-22.

39.         Choi SY, Hwang JH, Park SY, Jin YJ, Ko HC, Moon SW, Kim SJ. Fermented guava leaf extract inhibits LPS-induced COX2 and iNOS expression in mouse macrophage cells by inhibition of transcription factor NF-kB. Phytother Res 2008;22:1030-4.

40.         Han EH, Hwang YP, Kim HG, et al. Ethyl acetate extract of Psidium guajava inhibits IgE-mediated allergic responses by blocking FceRI signaling. Food Chem Toxicol 2011;49:100-8.

41.    Yadav BV, Bodhankar SL, Dhaneshwar SR. Antihyperglycaemic activity of ethanol extract of Psidium guajava leaves in alloxan induced diabetic mice.  Pharmacologyonline. 2008;1:474-85.

42.         Kaileh M, Berghe WV, Boone E, Essawi T, Haegeman G. Screening of indigenous Palestinian medicinal plants for potential anti-inflammatory and cytotoxic activity. J Ethnopharmacol 2007;113:510-6. 

43.    Monteagudo E, Boffill M, Bermúduez D, et al.  Acute toxicity evaluation of six medicinal plants using three alternative methods. Pharmacologyonline 2006;3:639-43.

44.    เอมมนัส อัตตวิชญ์ ปราณี ชวลิตธำรง พัช รักษามั่น ปราณี จันทเพ็ชร. การศึกษาพิษของใบฝรั่งวารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2538;37(4):289-305.

45.         Jaiarj P, et al. Acute and subacute toxicity and antimicrobial activity of Psidium guajava L. extract. Ann Res Abstr, Bangkok: Mahidol University, 1986. p. 371.

46.         Jaiarj P, Khoohaswan P, Wongkrajang Y, et al. Anticough and antimicrobial activities of Psidium guajava Linn. leaf extract. J Ethnopharmacol 1999;67(2):203-12.

47.         Tan B. Pharmaceutical formulations containing Psidium guajava leaf extract for the treatment of diarrhea and diabetes in infants. Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu, CODEN: CNXXEV CN 101176757 A 20080514, Application: CN 1012-3364 20070625, 2008:7pp.