1. ชื่อสมุนไพร           กล้วย

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa ABB group (triploid) cv. ‘Nam Wa’

          ชื่อวงศ์           MUSACEAE

          ชื่อพ้อง           Musa sapientum L.,

                             Musa paradisiaca L. var sapientum (L.) O. Kutnze

          ชื่ออังกฤษ        Banana, Cultivated banana

          ชื่อท้องถิ่น        กล้วยกะลิอ่อง  กล้วยมะนิอ่อง  กล้วยไข่  กล้วยใต้  กล้วยนาก  กล้วย

                             น้ำว้า  กล้วยเล็บมือ  กล้วยส้ม  กล้วยหอม  กล้วยหอมจันทน์  กล้วยหักมุก 

                             เจก  มะลิอ่อง  ยาไข่  สะกุย

 

2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดิน ส่วนเหนือดินเป็นลำต้นเทียมเกิดจากกาบใบห่อหุ้มซ้อนกันลักษณะคล้ายลำต้น ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ออกเรียงเวียนสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายตัด ขอบเรียบ เส้นกลางใบแข็ง มีเส้นใบจำนวนมากออกจากเส้นกลางใบทั้ง 2 ข้าง ขนานกันไปจรดขอบใบ ก้านใบยาว เป็นร่อง ดอกออกเป็นช่อ (เรียกว่า ปลี) ห้อยลง ก้านช่อดอกแข็ง ดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศเมียจะอยู่ตอนล่างของช่อดอกและบานก่อน แต่ละช่อย่อยจะรองรับด้วยใบประดับขนาดใหญ่สีม่วงแดง (กาบปลี) ดอกย่อยรูปทรงกระบอก มีกลีบดอก 6 กลีบ มี 1 กลีบเดี่ยวขนาดเล็ก ที่เหลืออีก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลทรงกระบอกหรือมีเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกหนาสีเขียว เมื่อสุกเปลือกสีเหลือง มีรสหวานรับประทานได้

 

3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          -ส่วนผลดิบ                 รักษาอาการแน่นจุกเสียดและอาการท้องเสีย

 

4. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์

          สารแทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเสียได้ สาร sitoindoside (ชนิด I, II, III, IV และ V) และ สาร leucocyanidins มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (1) และเนื่องจากสารออกฤทธิ์ sitoindoside เป็นกลุ่มสเตียรอยด์ การใช้ในระยะยาวจึงต้องระมัดระวังเรื่องผลข้างเคียง เนื่องจากยังไม่มีผู้ศึกษาพิษแบบเรื้อรังของสารกลุ่มนี้

 

5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          5.1   ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของท้องเสีย

       กล้วยมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย เช่น Escherichia coli, Bacillus subtilis และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทัยฟอยด์  (2, 3)

5.2   ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

                 กล้วยมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูแรท หนูตะเภาและหนูเม้าส์ จากอาการข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น แอสไพริน เพรดนิโซโลน เป็นต้น (4-13)  สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 60% จากกล้วยหอมและกล้วยพาโลดิบ มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจาก indomethacin (ยาแก้อักเสบ) แต่มีฤทธิ์ต่ำในการรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจากกรดอะซิติค (7)                   สารแขวนลอย และเพคตินในผลกล้วย และกล้วยดิบ สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารแบบเฉียบพลันที่เกิดจาก indomethacin ได้ แต่ให้ผลการรักษาที่ไม่ดีกับแผลในกระเพาะอาหารแบบเรื้อรัง (9)    หนูแรทที่กินผลกล้วยป่าดิบหลังจากได้รับแอสไพรินพบว่าสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยสารสกัดด้วยน้ำจะมีฤทธิ์เป็น 300 เท่าของผงกล้วยดิบ ส่วนกล้วยสุกไม่มีฤทธิ์ (11) แป้งจากผลกล้วยออกฤทธิ์สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเยื่อเมือกในทางเดินอาหาร (4, 12) และเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ ทำให้มีการฟื้นตัวของเซลล์เยื่อบุ (4) นอกจากนี้ยังมีผลกระตุ้นการสร้าง macrophage อันส่งผลให้การรักษาแผลหายเร็วขึ้น (13)

 

6.  อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

7.1  การทดสอบความเป็นพิษ

       การศึกษาวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ ถึงผลของสาร 2-trans-hexenal ในกล้วย พบว่า เมื่อให้อาสาสมัครอมกลั้วปากด้วยสารละลาย 2-trans-hexenal ความเข้มข้น 10 ppm (ส่วนในล้านส่วน) เป็นเวลา 3 วัน เกิดพิษต่อยีน แต่เมื่อเปลี่ยนให้อาสาสมัครกินกล้วย 3-6 ผล เป็นเวลา 3 วัน กลับไม่พบความเป็นพิษที่ต่างจากกลุ่มควบคุม (14) มีรายงานอาการแพ้เนื่องจากยางกล้วย (15-17) นอกจากนี้ สารเอมีนในกล้วยอาจทำให้เกิดอาการไมเกรน ดังนั้นไม่ควรรับประทานกล้วยป่าดิบ ต้องทำให้สุกก่อน (18)

                 เมื่อฉีดสารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำในอัตราส่วน 1:1 จากเปลือกผลแห้ง เข้าช่องท้องหนูเม้าส์ พบว่ามีพิษปานกลาง (19) ส่วนการฉีดน้ำคั้นจากลำต้นเข้าหลอดเลือดแดงใหญ่ของหนูแรท พบว่าทำให้เป็นอัมพาต (20, 21) นอกจากนี้ เมื่อให้น้ำคั้นจากลำต้นทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนู พบว่ามีพิษต่อตับ และทำให้ระดับแคลเซียม ฟอสฟอรัส ออกซาเลท และกรดไกลโคลิกในเลือดลดลง (22)

       จากการทดสอบความเป็นพิษแบบเรื้อรังโดยให้หนูแรทกินแป้งจากกล้วยนาน 5 สัปดาห์ ไม่พบความผิดปกติทางสรีรวิทยา (10) สารสกัดด้วยน้ำจากดอกกล้วยไม่ทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ (23) ในทางตรงกันข้ามสารสกัดด้วยน้ำ (23) และผงแห้งของกล้วยสุกจากกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม และกล้วยไข่ (24) กลับมีฤทธิ์ยับยั้งการกลายพันธุ์ด้วย (23, 24)

 

8.  วิธีการใช้กล้วยรักษาอาการแน่นจุกเสียดและอาการท้องเสีย

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

       ผลกล้วยดิบหรือผลกล้วยดิบที่ฝานบางๆ แล้วตากแห้ง รักษาโรคหรืออาการปวดท้องจุกเสียด (25)

       ผลกล้วยดิบหั่นบางๆ ตากแดดให้แห้งและบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานแก้ท้องเสีย (26)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                     ไม่มี

 

 

เอกสารอ้างอิง

1.             Lewis DA, Fields WN, Shaw GP. A natural flavonoid present in unripe plantain banana pulp (Musa sapientum L. var. paradisiaca) protects the gastric mucosa from aspirin-induced erosions. J Ethnopharmacol 1999;(3):283-8.

2.             Ko R. Action of fruit juices upon the typhoid bacillus. Taiwan Igakukai Zasshi 1917;179:569-80. 

3.             Scott WE, Mckay HH, Schafier PS, Fontaine TD. The partial purification and properties of antibiotic substances from the banana (Musa sapientum). J Clin Invest 1949;28:899-902. 

4.             Goel RK, Gupta S, Shankar R, Sanyal AK. Anti-ulcerogenic effect of banana powder (Musa sapientum var. paradisiaca) and its effect on mucosal resistance. J Ethnopharmacol 1986;18(1):33-44. 

5.             Sithisoonthorn S, Hongcharoen A, Mekmance R. Pharmacological activity of Musa sapientum. Special Project for the Degree of B. Sc. (Pharm.), Faculty of Pharmacy. Bangkok: Mahidol University, 1989. 

6.             Elliott RC, Heward GJF. The influence of a banana supplemented diet on gastric ulcers in mice. Pharmacol Res Commun 1976;8(2);167-71. 

7.     พัชรีวัลย์ ปั้นเหน่งเพชร. การศึกษาฤทธิ์ของกล้วยในการป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาว. รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543. หน้า 125.  

8.             Pannangpetch P, Vuttivirojana A, Kularbkaew C, Tesana S, Kongyingyoes B, Kukongviriyapan V. The antiulcerative effect of Thai Musa species in rats.  Phytother Res 2001;15(5):407-10. 

9.             Dunjic BS, Svensson I, Axelson J, Adlercreutz P, Ar’Rajab A, Larsson K, Bengmark S. Green banana protection of gastric mucosa against experimentally induced injuries in rats. A multicomponent mechanism?  Scand J Gastroenterol 1993;28(10):894-8. 

10.         Costa M, Antonio MA, Souza Brito ARM. Effects of prolonged administration of Musa paradisiaca L. (banana), an antiulcerogenic substance, in rats. Phytother Res 1997;11(1):28-31. 

11.         Best R, Lewis DA, Nasser N. The anti-ulcerogenic activity of the unripe plantain banana (Musa spp.). Br J Pharmacol 1984;82:107-16. 

12.         Mukhopadhyaya K, Bhattacharya D, Chakraborty A, Goel RK, Sanyal AK. Effect of banana powder (Musa sapientum var. paradisiaca) on gastric mucosal shedding. J Ethnopharmacol 1987; 21(1): 11-9. 

13.          Chattopadhyay S, Chaudhuri S, Ghosal S. Bioactive phytosterol conjugates. Part 3. Activation of peritoneal macrophages by sitoindoside IV, an anti-ulcerogenic acylsterylglycoside from Musa paradisiaca. Planta Med 1987;52:16-8. 

14.         Dittberner U, Schmetzer B, Golzer P, Eisenbrand G, Zankl H. Genotoxic effects of 2-trans-hexenal in human buccal mucosa cells in vivo. Mutat Res 1997;390(1-2):161-5. 

15.         Dompmartin A, Szczurko C, Michel M, et al. Two cases of urticaria following fruit ingestion, with cross-sensitivity to latex. Contact Dermatitis 1994;30(4):250-2. 

16.         Makinen-Kiljunen S. Banana allergy in patients with immediate-type hypersensitivity to natural rubber latex: characterization of cross-reacting antibodies and allergens. J Allergy Clin Immunol 1994;93(6):990-6. 

17.         Fernandez de Corres L, Moneo I, Munoz D, Bernaola G, Fernandez E, Audicana M, Urrutia I. Sensitization from chestnuts and bananas in patients with urticaria and anaphylaxis from contact with latex. Ann Allergy 1993;70(1):35-9. 

18.         Gruenwald J, Brendler T, Jaenicke C, et al (eds.). PDR for herbal medicines (2ndEdition). New Jersey: Medical Economic Company, 2000.

19.         Dhar ML, Dhar MN, Dhawan BN, Mehrotra BN, Srimal RC, Tandon JS. Screening of Indian plants for biological activity. Part IV. Indian J Exp Biol 1973;11:43-54. 

20.         Benitez MA, Navarro E, Feria M, Trujillo J, Boada J. Pharmacological study of the muscle paralyzing activity of the juice of the banana trunk.  Toxicon 1991;29(4/5):511-5.  

21.         Singh YN, Dryden WF. Muscle paralyzing effect of the juice from the trunk of the banana tree. Toxicon 1985;23(6):973-81. 

22.         Kailash P, Varalakshmi P. Effect of banana stem juice on biochemical changes in liver of normal and hyperoxaluric rats. Indian J Exp Biol 1992;30(5):440-2. 

23.         Saseelung S. Antimutagenicity of water extract from Thai indiginous vegetables using somatic mutation and recombination test. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2003. 

24.         Kruawan K, Kangsadalampai K, Limpichaisopon K. Antimutagenic of different lyophilized ripe bananas on mutagens in Ames test and somatic mutation and recombination test. Thai J Pharm Sci 2004;28(1-2):83-94. 

25.         โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองคู่มือสมุนไพรน่าใช้ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: บริษัทเอดิสันเพรสโปรดักส์จำกัด, 2528. หน้า 84. 

26.         พระหอมแบบสัมภาษณ์ผู้ใช้โดยโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง.