1.  ชื่อสมุนไพร           ตะไคร้

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (De ex Nees) Stapf.

          ชื่อวงศ์           Poaceae (Gramineae)  

          ชื่อพ้อง           ไม่มี

          ชื่ออังกฤษ        Lapine, Lemon grass, West Indian lemongrass

          ชื่อท้องถิ่น        คาหอม, ไคร, จะไคร, เชิดเกรย, หัวสิงไค, เหลอะเกรย

 

2. ลักษณะพันธุ์ไม้

ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ขึ้นเป็นกอใหญ่ ลำต้นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ใบรูปขอบขนานแคบ สีขาวนวลหรือขาวปนม่วง แผ่นใบสากและคม ดอกออกยาก เป็นช่อกระจาย สีน้ำตาลแดง แทงออกจากลำต้น ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ๆ ดอกหนึ่งมีก้าน อีกดอกไม่มีก้าน ดอกย่อยนี้ยังประกอบด้วยดอกเล็กๆ 2 ดอก ดอกล่างลดรูปเป็นเพียงกลีบเดียวโปร่งแสง ดอกบนสมบูรณ์เพศ มีใบประดับ 2 ใบ ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก

 

3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          -ทั้งต้น            รักษาอาการแน่นจุกเสียด

 

4. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์

น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ คือ menthol (1,2), cineole (1,2), camphor (2,3), linalool (2) จึงลดอาการแน่นจุกเสียด (4) และช่วยขับลม (2) นอกจากนี้มี citral (5-7), citronellol, geraneol (8) และ cineole (9) มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้แก่ E. coli (6)  

 

5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          5.1   ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

                 สารเคมีในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ช่วยขับลม น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้จึงลดอาการแน่นจุกเสียดได้ (4)

          5.2   ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุอาการแน่นจุกเสียดและท้องเสีย

                 เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ (ความเข้มข้นร้อยละ 0.3) มาทดสอบ พบว่าสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ปานกลาง (10)   มีการพัฒนาสูตรตำรับเจล ล้างมือจากน้ำมันตะไคร้สำหรับยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย พบว่าตำรับที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้ดีที่สุด คือ ตำรับที่มีความเข้มข้นของน้ำมันตะไคร้ร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก (11และมีการจดสิทธิบัตรสำหรับสารสกัดตะไคร้ที่เป็นส่วนผสมในยา อาหาร หรือเครื่องสำอาง โดยระบุว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย E. coli ได้ (12)

          5.3   ฤทธิ์ต้านเชื้อรา

       สารสกัดด้วยเอทานอล และน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน ได้  (13, 14) โดยน้ำมันตะไคร้ที่มีสาร citral และ myrcene เป็นส่วนประกอบหลักจะมีฤทธ์ยับยั้งเชื้อราดังกล่าว และเมื่อนำน้ำมันตะไคร้ไปพัฒนาเป็นครีมต้านเชื้อรา พบว่าที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.5 และ 3.0 จะให้ผลต้านเชื้อราได้ดีที่สุดและเหมาะที่จะพัฒนาเป็นตำรับยาต่อไป

       เมื่อนำน้ำมันหอมระเหย และสารสกัดด้วยเฮกเซน, คลอโรฟอร์ม, เอทานอล และน้ำ มาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา พบว่าน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดตะไคร้ด้วยเฮกเซนสามารถต้านเชื้อราได้ทุกชนิด  ส่วนสารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ต้านเชื้อราได้น้อย ในขณะที่สารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และจากผลการทดลองยังพบว่าสารประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหย และในสารสกัดด้วยเฮกเซนที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราได้ดี คือ สาร citral (15)

       มีการจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ตะไคร้ในรูปของ emulsion และ nanocapsule ที่ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ใช้สำหรับรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา E.  floccosum, Microsporum canis และ  T.  rubrum โดยไปยับยั้งการเจริญเติบโตหรือฆ่าเซลล์ของเชื้อราดังกล่าว  (16)

          5.4   ฤทธิ์ต้านยีสต์

       สารสกัดด้วยเอทานอล และน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้สามารถต้านยีสต์ Candida albicans ได้ (13) 

          5.5   ฤทธิ์แก้ปวด

       พบว่าน้ำมันหอมระเหยสามารถบรรเทาอาการปวดได้เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเจ็บปวดด้วยความร้อน  หรือหากป้อนน้ำมันหอมระเหยในขนาดเท่าเดิมทางปากจะสามารถบรรเทาอาการปวดได้เมื่อเทียบกับยา meperidine (17)  

       ชาชงตะไคร้ เมื่อป้อนให้หนูเม้าส์กินเป็นเวลา 30 นาที ก่อนที่จะเหนี่ยวนำหนูให้ปวดอุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนน 100 ไมโครกรัม/อุ้งเท้า  หรือด้วยสาร prostaglandin E2  และ dibutyryl cyclic AMP พบว่าสามารถยับยั้งอาการปวดจากการที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารคาราจีแนน และ prostaglandin E2 ได้  แต่ไม่ได้ผลหากเหนี่ยวนำให้ปวดด้วย dibutyryl cyclic AMP  นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยตะไคร้  และสาร myrcene เมื่อป้อนให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการปวดด้วย prostaglandin E2  พบว่าสามารถยับยั้งอาการปวดได้ (18)

          5.6   ฤทธิ์ขับน้ำดี

       ตะไคร้มีสารช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยย่อย คือ borneol (19-21), fenchone (22) และ cineole (21)

          5.7   ฤทธิ์ขับลม

       ยาชงตะไคร้เมื่อให้รับประทานไม่มีผลขับลม แต่ถ้าให้โดยฉีดทางช่องท้องจะให้ผลดี (23)

 

6.  อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ

       มีผู้ทดสอบพิษของชาที่เตรียมจากตะไคร้พบว่าเมื่อให้อาสาสมัครสุขภาพดีรับประทานชาตะไคร้ 1 ครั้ง หรือรับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเลือด เม็ดเลือดและปัสสาวะ มีบางรายเท่านั้นที่มีปริมาณบิลลิรูบิน และ amylase สูงขึ้น จึงนับว่าปลอดภัย (24) น้ำมันตะไคร้เมื่อผสมในน้ำหอม โดยผสมน้ำมันตะไคร้ร้อยละ 0.8 พบว่ามีอาการแพ้ อย่างไรก็ตามการแพ้นี้อาจเกิดจากสารอื่นได้ (25) และมีรายงานความเป็นพิษต่อถุงลมปอดเมื่อสูดดมน้ำมันตะไคร้ (26)

                 เมื่อให้น้ำมันหอมระเหยตรงเข้าทางกระเพาะอาหารกระต่าย พบว่ามีพิษเล็กน้อย ส่วนพิษในหนูแรทไม่ชัดเจน (27) และเมื่อป้อนสารสกัดใบด้วยแอลกอฮอล์และน้ำในอัตราส่วน 1:1 เข้ากระเพาะอาหารหนูเม้าส์ พบว่ามีพิษ (28) แต่สารสกัดใบด้วยน้ำ เมื่อให้ทางปากกลับไม่พบพิษ ไม่เป็นพิษต่อตัวอ่อน และไม่มีผลต่อน้ำหนักตัวของหนูแรท (29) การป้อนยาชงตะไคร้ให้หนูแรทในขนาด 20 เท่าของขนาดที่ใช้ในคนเป็นเวลานาน 2 เดือน ก็ไม่พบความเป็นพิษ (29) สำหรับการศึกษาพิษเฉียบพลันของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ พบว่าหนูแรทกลุ่มที่ได้ตะไคร้จะโตเร็วกว่ากลุ่มควบคุม แต่ค่าเคมีในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง (30) 

          7.2   ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

                 สารสกัดตะไคร้ด้วยเอทานอลร้อยละ 80 สารสกัดด้วยน้ำ ตะไคร้แห้ง และน้ำต้มใบตะไคร้กับเนื้อ (วัว ไก่ หมู) ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน Staphylococcus typhimurium TA98 และ TA100 (31-35)

          7.3   พิษต่อยีน

                 ตะไคร้สด ไม่มีพิษต่อยีน (36) และ b-myrcene ซึ่งเป็นสารสำคัญก็ไม่พบพิษเช่นกัน (37)

          7.4   พิษต่อเซลล์

                 น้ำมันหอมระเหยและสาร citral ซึ่งเป็นสารที่ได้จากน้ำมันหอมระเหยจากใบ มีความเป็นพิษต่อเซลล์ P388 mouse leukemia (38, 39)  อย่างไรก็ตาม สารสกัดจากใบด้วยเมทานอล มีฤทธิ์ไม่แน่นอนต่อเซลล์มะเร็ง CA-9KB (40) แต่ในขนาด 20 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ Raji (41)

 

8. วิธีการใช้ตะไคร้รักษาอาการแน่นจุกเสียด

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

          1.     นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ เติมน้ำต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ติดต่อกัน 3 วัน จะหายปวดท้อง (42, 43)

          2.     นำลำต้นแก่สดๆทุบพอแหลกประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม (44)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

1.             Haginiwa J, Hasada M, Morishita I. Properties of essential oil components of aromatics and their phamacological effect on mouse intestine. Pharmacological studies on crude grugs.   VII.   Yakugaku Zasshi. 1963;83:624.

2.             Evans BK, James KC, Luscombe DK. Quantitatives structure-activity relationships and carminative activity. J Pharm Sci 1978;67:277.

3.             Cabo J, Crespo ME, Jimenez J, Zarzvelo A. The activity of the major components of their essential oils. The spasmolytic activity of various aromatic plants from the province of granada.   I. Plant Med Phytother 1986; 203: 213-218.

4.      Ross MSF, Brain KK. An introduction to phytopharmacy.  London: Pitman Medical Publishing Co. Ltd., 1977. p.158-76.

5.             Onawunmi GO. Evaluation of the antimicrobial activity of citral. Dept Pharm Obafemi Awolowo Univ Nigeria. Lett Appl Microbiol 1989;9(3):105-8.

6.             Inouye S, Goi H, Miyauchi K, Muraki S, Ogihara M, Iwanami Y. Inhibitory effect of volatile constituents of plants on the proliferation of bacteria-antibacteria activity. J Antibact Antifungal Agents 1983;11(11):609-15.

7.             Honda G, Koga K, Koezuka Y, Tabata M. Antidermatophytic compounds of Perilla frutescens Branton var. crispa decne. Shoyakugaku Zasshi 1984;238(1):127-30.

8.             Megalla SE, El-Kelltawi NEM, Ross SA. A study of antimicrobial action of some essential oil constituents. Herba Pol 1980;26(3):181-6.

9.             Prakash S, Sinha GK, Pathak RC. Antibacterial and antifungal properties of some essentials oils extracted from medicinal plants of the kumaon region. Indian Oil Soap J 1972;379:230-2.

10.          Cimanga K, Kambu K, Tona L, et al. Correlation between chemical composition and antibacterial activity of essential oils of some aromatic medicinal plants growing in the Democratic Republic of Congo. J Ethnopharmacol 2002;79:213-20. 

11.    พรพีรา  ปัทมานันท์  สายัณห์  เลื่องชัยเชวงเจลสมุนไพรฆ่าเชื้อ. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544.  

12.          Okamoto H, Okada F. Sterilizing/antimicrobial agents containing 1,2-octanediol and lemon grass extract, and their uses. Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 2005232013, 2005:9pp.   

13.    บัณฑิตย์  ลิมปนชัยพรกุล. คุณสมบัติของสมุนไพรบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง. รวมบทคัดย่องานวิจัย การแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต, สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.  

14.          Wannissorn B, Jarikasem S, Soontorntanasart T.  Antifungal activity of lemon grass oil and lemon grass oil cream.  Phytother Research 1996;10:551-4.  

15.    อัจฉรา  เหมทานนท์  สุมาลี  เหลืองสกุล  ธารารัตน์  ศุภศิริ. ฤทธิ์ของสารสกัดจากตะไคร้ในการต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังบางชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 2532;5(2):115-23.      

16.          Rauber CS, Henriques A, Teresinha G, Silvia S, Schapoval EES. Pharmaceuticals for treatment of skin infections caused by Candida and dermtophytic fungi employing essential oil of Cymbopogon citrtusPatent: Braz Pedido PI BR 2002003521, 2004:38 pp.   

17.          Viana GSB, Vale TG, Pinho RSN, Matos FJA. Antinociceptive effect of the essential oil from Cymbopogon citratus in mice. J Ethnopharmacol 2000;70:323-7. 

18.          Lorenzetti BB, Souza GEP, Sarti SJ, Filho DS, Ferreira SH. Myrcene mimics the peripheral analgesic activity of lemongrass tea. J Ethnopharmacol 1991;34:43-8.  

19.          Vogel G. Predictability of the activity of drug combinations. Yes or No. Arzneim-forsch 1975; 1356.

20.          Yamachara J, Kobayashi M, Yamasaki T, Sawada T, Uji A. Pharmacological effects of treaditional preparation "Kiogan". Shoyakugaku zasshi 1987;38(4):297-301.

21.          Bell GD, Clegy RJ, Cohn MR, et al. Terpene therapy for gallstones effects of individual monoterpenes on bile flow, bile composition and hepatic cholesterogenesis in the rat. Brit J Pharmacol 1981;71(1):104-6.

22.          Opeyke DL J. Monographs on fragrance raw material fenchone. Food Cosmet Toxicol 1976;14:769-71.

23.          Carlini EA, Contar JDDR, Silva-Filho AR, Silviera-Filho NGD, Frochtengasten ML, Bueno OFA. Pharmacology of lemon grass (Cymbopogon Citratus): I. Effect of teas prepared from the leaves of laboratory animals. Pharmacol 1986;17(1):37-64.

24.          Leite JR, Seabra MD, Maluf E, et al. Pharmacology of lemongrass (Cymbopogon citratus Stapf). III. Assessment of eventual toxic, hypnotic and anxiolytic effects on humans. J Ethnopharmacol 1986;17(1):75-83.

25.          Wohrl S, Hemmer W, Focke W, Gotz M, Jarisch R. The significance of fragrance mix, balsam of Peru, colophony and propolis as screening tools in the detection of fragrance allergy. Br J Dermatol 2001;145(2):268-73.

26.          Gruenwald J, Brendler T, Jaenicke C, et al (eds.). PDR for herbal medicines (2nd edition). New Jersey: Medical Economic Company, 2000:858 pp.

27.          Anon. Lemongrass oil West Indian. Food Cosmet Toxicol 1976;14:457.       

28.          Parra AL, Yhebra RS, Sardinas IG, Buela LI. Comparative study of the assay of Artemia salina L. and the estimate of the medium lethal dose (LD50 value) in mice, to determine oral acute toxicity of plant extracts. Phytomedicine 2001;8(5):395-400.

29.          Souza Formigoni MLO, Lodder HM, Filho OG, Ferreira TMS, Carlini EA.  Pharmacology of lemongrass (Cymbopogon citratus Stapf). II. Effects of daily two month administration in male and female rats and in offspring exposed "in utero". J Ethnopharmacol 1986;17(1):65-74.

30.          Mishra AK, Kishore N, Dubey NK, Chansouria JPN. An evaluation of the toxicity of the oils of Cymbopogon citratus and Citrus medica in rats. Phytother Res 1992;6:279-81.

31.          Vinitketkumnuen U, Puatanachokchai R, Kongtawelert P, Lertprasertsuke N, Matsushima T. Antimutagenicity of lemon grass (Cymbopogon citratus Stapf) to various known mutagens in Salmonella mutation assay. Mutat Res 1994;341(1):71-5.

32.          Kauderer B, Zamith H, Paumgartten FJ, Speit G. Evaluation of the mutagenicity of b-myrcene in mammalian cells in vitro. Environ Mol Mutagen 1991;18(1):28-34.

33.          Ostraff M, Anitoni K, Nicholson A, Booth GM. Traditional Tongan cures for morning sickness and their mutagenic/toxicological evaluations. J Ethnopharmacol 2000;71(1/2):201-19.

34.          Onbunma S, Kangsadalampai K, Butryee B, Linna T. Mutagenicity of different juices of meat boiled with herbs treated with nitrite. Ann Res Abst, (Jan 1 – Dec 31, 2001) Bangkok: Mahidol University 2002;29:350. 

35.          Ungsurungsie M, Suthienkul O, Paovalo C. Mutagenicity screening of popular Thai spices. Food Chem Toxicol 1982;20:527-30.

36.          Ruiz AR, De La Torre RA, Alonso N, Villaescusa A, Betancourt J, Vizoso A. Screening of medicinal plants for induction of somatic segregation activity in Aspergillus nidulans. J Ethnopharmacol 1996;52(3):123-7.

37.          Zamith HP, Vidal MN, Speit G, Paumgartten FJ. Absence of genotoxic activity of b-myrcene in the in vivo cytogenetic bone marrow assay. Braz J Med Biol Res 1993;26(1):93-8. 

38.          Dubey NK, Takeya K, Itokawa H. Citral: a cytotoxic principle isolated from the essential oil of Cymbopogon citratus against P388 leukemia cells. Curr Sci 1997;73(1):22-4.

39.          Dubey NK, Kishore N, Varma J, Lee SY. Cytoxicity of the essential oil of Cymbopogon citratus and Ocimum gratissimum. Indian J Phar Sci 1997;59(5):263-4. 

40.          Arisawa M. Cell growth inhibition of KB cells by plant extracts. Nat Med 1994;48(4):338-47.

41.          Murakami A, Kondo A, Nakamura Y, Ohigashi H, Koshimizu K. Possible anti-tumor promoting properties of edible plants from Thailand, and identification of an active constituent, cardamonin, of Boesenbergia pandurata.  Biosci Biotech Biochem 1993;57(11):1971-3.

42.          เปี่ยม บุญยะโชติตำรายาไทยแผนโบราณ เล่ม 11.  กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ, 2514. หน้า 113.

43.    กองวิจัยทางการแพทย์.  สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1.   กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข, 2526. หน้า 41.

44.          พระเทพวิมลโมลี.  ตำรายากลางบ้านกรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มงกุฏราชวิทยาลัย, 2524. หน้า 136.