1.  ชื่อสมุนไพร           ฟักทอง

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucurbita moschata Decne.

          ชื่อวงศ์           CUCURBITACEAE

          ชื่อพ้อง           Cucurbita maxima Duch.

          ชื่ออังกฤษ        Pumpkin, Field pumkin, Field pumpkin, Cushaw, Butternut squash, Winter squash, Squash

          ชื่อท้องถิ่น        น้ำเต้า, ฟักเขียว, มะน้ำแก้ว, มะฟักแก้ว, หมักคี้ส่า, หมักอื้อ, เหลือเคส่า, หมากฟักเหลือง

 

2.  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้เลื้อยล้มลุก อายุปีเดียว ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ เป็นรูปไข่กว้างหรือรูปไตแกมรูปโล่ กว้าง 10-35 เซนติเมตร ยาว 7-35 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าเป็น 5-7 แฉก ผิวใบด้านล่างมีขนสีขาว ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังสีเหลือง หรือสีเหลืองแกมส้ม ผลสดรูปกลมแป้น เนื้อในสีเหลืองหรือส้ม เมล็ดรูปไข่สีขาวหม่นหรือเหลืองอ่อน

 

3.  ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          - เมล็ด            รักษาโรคพยาธิตัวตืด

 

4.  สารสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสารออกฤทธิ์ หรือสารที่ใช้ประเมินคุณภาพของสมุนไพร

          Cucurbitine (3-Amino-3 carboxylprrolidnine) ในเมล็ดฟักทอง (C. maxima Duchesne) มีฤทธิ์ขับพยาธิ นอกจากนี้ในเมล็ดฟักทองยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า-3 และ โอเมก้า-6 สูง ได้แก่ linoleic acid, oleic acid, palmitic acid และ stearic acid  มีฤทธิ์ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดและปกป้องตับ  (1)

 

5.  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          5.1   ฤทธิ์ขับพยาธิ

                 ให้ผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ Schistosoma รับประทานเมล็ดฟักทอง 80 กรัม พบว่าสามารถฆ่าพยาธิได้ทันที (2) เมื่อนำสารสกัดจากเมล็ดฟักทองมาแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ละลายได้ทั้งในแอลกอฮอลและอะซีโตน กับส่วนที่ละลายได้เฉพาะในแอลกอฮอล พบว่าทั้งสองส่วนมีฤทธิ์ขับพยาธิตืดวัว (Taenia saginata) ในคน  ขับพยาธิตืดแคระ (Hymenolepsis nana) ในสัตว์ทดลอง และฆ่าพยาธิใบไม้ (Dicrocoelium dendriticum) ในหลอดทดลองได้ (3)  เมื่อป้อนสารสกัดจากเมล็ดฟักทองด้วยเมทานอล 80% ขนาด 5 กรัม/กิโลกรัม (เทียบกับเมล็ดสด) ให้กับหนูเม้าส์ พบว่ามีฤทธิ์ขับพยาธิ H. nana (4) นอกจากนี้สารสกัดด้วยน้ำ อีเธอร์ และแอลกอฮอลจากเมล็ดฟักทองก็มีฤทธิ์ขับพยาธิเช่นเดียวกัน (5)

          5.2   ฤทธิ์ปกป้องตับ

                 สารสกัดเมล็ดฟักทองในน้ำมีฤทธิ์ปกป้องตับที่ถูกทำลายด้วยคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์, D-galactosamine (D-GalN) หรือ lipopolysaccharide (LPS) ในสัตว์ทดลองได้ (6) เมื่อให้เอทานอลพร้อมกับตำรับสมุนไพรที่มีฟักทองเป็นส่วนผสมแก่สัตว์ทดลอง พบว่าช่วยลดพิษของแอลกอฮอลที่มีต่อตับได้ (7) การให้สัตว์ทดลองกินอาหารที่มีเมล็ดฟักทองพันธุ์ Cucurbita pepo L. spp pepo ผสมกับเมล็ดเฟล็กซ์พบว่า ทำให้กรดไขมันอิ่มตัวในเลือดและในตับลดลง ในขณะที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวเพิ่มขึ้น อนุมูลอิสระลดลง กลไกการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น และช่วยปกป้องหลอดเลือดและตับ (8)  โปรตีนที่แยกจากเมล็ดฟักทองพันธุ์ Cucurbita pepo สามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ และช่วยปกป้องตับจากพิษของคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ (9, 10) และยาพาราเซตามอลในสัตว์ทดลองได้  (11)

          5.3   ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ

                 น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดฟักทองพันธุ์ Cucurbita pepo มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย Klebsiella pneumoniae, Acinetobacter baumannii, รา Candida albicans  และ Parainfluenza virus type-3 (12)  สารสกัดผลฟักทองด้วยเอทานอลออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียชนิดแกรมบวก Bacillus subtilis ได้ดี (13)  ในขณะที่โพลีแซคคาไรด์ซึ่งสกัดจากเปลือกฟักทองส่วนที่ไม่ละลายในเอทานอล จะมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของ Escherichia coli และ Clostridium perfingens แต่กระตุ้นการเจริญเติบโตของ Lactobacillus brevis, Bifidobacterium bifidum และ Bifidobacterium longum (14)

          5.3   ฤทธิ์อื่นๆ

                 โพลีแซคคาไรด์จากฟักทองมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย strepzotocin (15)  ในขณะที่สารแพคตินมีฤทธิ์ยับยั้งการขนส่งน้ำตาล (14) โพลีแซคคาไรด์หรือแพคตินจากส่วนของเปลือกฟักทองที่ละลายในน้ำ และละลายในด่างมีผลยับยั้งการขนส่งน้ำดี (14)

 

6.  อาการข้างเคียง

          ผู้ที่กินผลฟักทองปริมาณมากเป็นอาหารหลักทุกวันอย่างต่อเนื่อง  อาจมีอาการตัวเหลือง เนื่องจากผลฟักทองมีสารเบต้าแคโรทีนในปริมาณมาก  เบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นที่ร่างกายนำไปสร้างเป็นวิตามินเอ  ดังนั้น การกินอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนมากเกิน (aurantiasis cutis) อาจจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการได้รับวิตะมินเอมากเกินขนาดตามไปด้วย บางรายอาจพบตับทำงานผิดปกติได้ (16)

 

7.  ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ

                 ในสัตว์ที่ให้กินเมล็ดฟักทองปั่นกับน้ำ (10 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร) ขนาด 1 มิลลิลิตร/กิโลกรัม ติดต่อกันนาน 30 วัน ไม่พบว่ามีพิษต่อหนูแรทและลูกหมู (17)  แต่พบความเป็นพิษเมื่อฉีดสารสกัดจากส่วนเหนือดินด้วย 50% แอลกอฮอลเข้าช่องท้องของหนูเม้าส์ (18) นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดจากใบ สารสกัดจากผลฟักทองด้วยเอทานอล แล้วสกัดต่อด้วยเฮกเซน และสารสกัดจากดอกด้วยเอทานอลแล้วสกัดต่อด้วยเอทิลอะซีเตท มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ในขณะที่สารสกัดจากใบฟักทองด้วยแอลกอฮอล์มีพิษเล็กน้อยเมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูเม้าส์ (13

          7.2   ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

                 สารสกัดจากดอกฟักทองด้วยคลอโรฟอร์มขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถลดฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์จากเตตร้าซัยคลินในหนูเม้าส์ได้ (19) ในขณะที่สารสกัดจากผลฟักทองด้วยเฮกเซนและเอทานอล 80% มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของ Salmonalla typhimurium สายพันธุ์ TA 98 และ TA 100 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วย nitrite-treated-1-aminopyrene ในหลอดทดลองได้ (20

 

8.  วิธีการใช้

          8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

                 ใช้เมล็ดฟักทองประมาณ 60 กรัม ทุบให้แตก นำมาผสมกับน้ำตาลและนม หรือน้ำที่เติมลงไปจนได้ปริมาณ 500 มิลลิลิตร แบ่งกิน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมง หลังให้ยาแล้ว 2 ชั่วโมง รับประทานน้ำมันละหุ่งระบายตามเพื่อขับพยาธิที่ตายออก (21)

          8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                 ไม่มี

เอกสารอ้างอิง

1.             Blagrove RJ, Lilley GG, Kortt AA. Partial tryptic digestion of cucurbitin from pumpkin seed.  Aust J Plant Physiol 1981;8(6):507-13.

2.             Pauld H, Guthric JE. Tests with miscellaneous substances for the removal of tapeworms from chickens. J Am Vet Med Assoc 1940;97(762):248-53.

3.             Bailenger J, Seguin F. Anthelmintic activity of a preparation from squash seeds. Bull Soc Pharm Bordeaux 1966;105(4):189-200.

4.             Elisha EE, Twaij HAA, Ali NM, Tarish JH, Al-omary MM. The anthelmintic activity of some Iraqi plants of the Cucurbitaceae. Int J Crude Drug Res 1987;25(3):153-7.

5.             Srivastava MC, Tewari JP, Singh SW, Gupta MI, Mistra KC. Phytopharmacology of Cucurbita maxima seeds. Labdev 1967;5(1):64-5.

6.             Hase K, Kadota S, Basnet P, Numba T. Hapatoprotective effects of traditional medicines. Isolation of the active constituent from seeds of Celosia argentea. Phytother Res 1996;10:387-92.

7.             Kap JP, Min JL, Hyunmin K, Kang SK, Sang-Han L, Ikhyun C, Hyung HL. Saeng-Maek-San, a medicinal herb complex, protects liver cell damage induced by alcohol. Biol. Pharm Bull 2002; 25(11):1451-5.

8.             Makni M, Fetoui H, Gargouri NK, et al. Hypolipidemic and hepatoprotective effects of flax and pumpkin seed mixture rich in ω-3 and ω-6 fatty acids in hypercholesterolemic rats. Food Chem Toxicol 2008;46:3714-20.

9.             Nkosi CZ, Opoku AR, Terblanche SE. Antioxidative effects of pumpkin seed (Cucurbita pepo) protein isolate in CCl4-induced liver injury in low-protein fed rats. Phytother Res 2006;20:935-40.

10.         Mohamed Reham A, Ramadan Reham S, Ahmed Lamiaa A. Effect of substituting pumpkin seed protein isolate for casein on serum liver enzymes, lipid profile and antioxidant enzymes in CCl4-intoxicated rats. Adv Biol Res 2009;3(1-2):9-15.

11.         Nkosi CZ, Opoku AR, Terblanche SE. In vitro antioxidative activity of pumpkin seed (Cucurbita pepo) protein isolate and its in vivo effect on alanine transaminase and aspartate transaminase in acetaminophen-induced liver injury in low protein fed rats. Phytother Res 2006;(20):780-3.

12.         Bilge S, Ilkay O, Berrin O, Murat K, Sinem A, Gamze O. Antimicrobial and antiviral activities of 2 seed oil samples of Cucurbita pepo L. and their fatty acid analysis. Nat Prod Commun 2007; 2(4): 395-398.

13.         Villaseñor IM, Arlene LO, Lunadel B, Daclan C, Armi JGM. Microbiological and pharmacological studies on extracts of Cucurbita maxima. Phytother Res 1995;9:376-8.

14.         Hyun J, Chang-Hyun L, Geun-Seoup S, Young-Soo K. Characterization of the pectic polysaccharides from pumpkin peel.  LWT 2006;39(5): 554-61.

15.         Hongyan Z, Xia C, Yali R, Jue Y, Jiliang X. Protective effects of pumpkin polysaccharide on streptozotocin-induced islet injury. Zhongguo Yiyuan Yaoxue Zazhi  2007;27(12):1647-9.

16.         Kazuki N, Hiroo H, Shuichi K, Takeshi N, Yasuhiro A, Noriko N. Vitamin A toxicity secondary to excessive intake of yellow-green vegetables, liver and laver. J Hepatol 1999;31:142-8.

17.         De Queiroz-Nato A, Mataqueiro MI, Santana AE, Alessi AC. Toxicological evaluation of acute and subacute oral administration of Cucurbita maxima seed extracts to rat and swine. J Ethnopharmacol 1994;43:45-51.

18.         Aswal BS, Bhakuni DS, Goel AK, Kar K, Mehrotra BN, Mukherjec KC. Screening of Indian plants for biological activity: Part X. Indian J Exp Biol 4984;22(6):312-32.

19.         Villasenor IM, Lemon P, Palileo A, Bremner JB. Antigenotoxic spinasterol from Cucurbita maxima flowers. Mutat Res 1996;360(2):89-93.

20.         Dung LH, Kangsadalampai K, Butryee C. In vitro antimutagenic studies of some sticky rice cooked with ivy gourd leaves, Momordica cochinchinensis and pumpkin fruits, mungbean and black bean seeds. Ann Res Abst, Bangkok: Mahidol University, 2001.

21.         กองวิจัยทางการแพทย์.  สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1.   กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.กระทรวงสาธารณสุข 2526, หน้า 59.