1.  ชื่อสมุนไพร           มะนาว

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia ( Christm & Panz ) Swingle

          ชื่อวงศ์           RUTACEAE

          ชื่อพ้อง           Limonia aurantifolia Christm.

          ชื่ออังกฤษ        Common lime, Lime

          ชื่อท้องถิ่น        โกรยชะม้า ปะนอเกล  ปะโหน่งกลยาน  มะนอเกละ  มะเน้าด์เล  ส้มมะนาว  ลีมานีปีห์  หมากฟ้า

 

2.  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามใบเป็นใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับกัน มีรูปไข่รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 เซ็นติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็กๆ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม กลีบดอกร่วงง่าย ผลเป็นผลสด ฉ่ำน้ำ รูปกลม ผิวเกลี้ยงเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจาย เมื่อสุกจะมีสีเหลืองอมเขียว มีรสเปรี้ยวมาก

 

3.  ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          - ผล  บรรเทาอาการเจ็บคอ

 

4.  สารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์

          สารสำคัญในมะนาว คือ citric acid        

 

5.  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          มะนาวมีกรด citric ซึ่งมีรสเปรี้ยว จะกระตุ้นให้มีการขับน้ำลายออกมาทำให้ชุ่มคอ จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ

 

6.  อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7.  ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ

                 เมื่อให้น้ำสกัดจากใบมะนาวทางปาก หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูเม้าส์ ด้วยขนาด 10 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว (เทียบเท่ากับ 1,852 เท่าของขนาดที่ใช้ในคน) ไม่พบความผิดปกติใดๆ (1) เมื่อป้อนสารสกัดรากมะนาวด้วยน้ำครั้งเดียวทางปาก ในขนาด 5 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ให้หนูแรทไม่พบว่าเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรัง แต่พบว่าในหนูที่ได้รับสารสกัด 1.2 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน  มีเอ็นไซม์ในตับเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในช่วงปกติ และไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน (2) 

 

8. วิธีการใช้

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

                 1.   ใช้มะนาว 1 ผล บีบเอาน้ำมะนาวมาชงกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยขับเสมหะ (3)

                 2.   ใช้มะนาวฝานบางๆ จิ้มเกลือกิน (4)

                 3.   ใช้ผลสดคั้นเอาแต่น้ำใส่เกลือจิบบ่อยๆ (5)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

1.     มงคล โมกขะสมิต  กมล สวัสดีมงคล  ประยุทธ สาตราวาหะ.  การศึกษาพิษของสมุนไพรไทย.  วารสารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2514;13(1):36-66.

2.             Siharat C, Nirush L, Umarat S, Amornnat T, Anongnad N, Nadthaganya S, Kanjana J.  Acute and subchronic toxicity study of the water extract from root of Citrus aurantifolia (Christm. et Panz.) Swingle in rats. Songklanakarin J Sci Technol 2007; 29(Suppl 1):125-39.

3.             Anon. Personal interview by Medicinal Plants for Self-Reliance Project.

4.             อาจินต์ ปัญจพรรค์ขุดทองในบ้านกรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อนงค์ศิลป์การพิมพ์, 2524.

5.             กองวิจัยทางมะนาวการแพทย์สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1.  กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2526.