1.  ชื่อสมุนไพร           คูน

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula L.

          ชื่อวงศ์           FABACEAE (LEGUMINOSEA-CEASALPINIODIEAE)

          ชื่อพ้อง           ไม่มี

          ชื่ออังกฤษ        Golden shower, Indian laburnum, Pudding-pine tree, Laburnum Indian, Laburnum, Purging cassia

          ชื่อท้องถิ่น        กุเพยะ, ชัยพฤกษ์, ปือยู, ปูโย, เปอโซ, แมะหล่าอยู่, ราชพฤกษ์, ลมแล้ง

 

2.  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ยืนต้น ใบเป็นช่อประกอบด้วยใบย่อย 3-8 คู่รูปไข่แกมขอบขนาน เนื้อใบเกลี้ยงค่อนข้างบาง หูใบมีขนาดเล็กและร่วงง่าย ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ 1-3 ช่อ มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่แกมรูปรี ด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองรูปไข่ เกสรเพศผู้ 10 อัน อับเรณูมีขนาดเล็ก เกสรเมียและท่อเกสรมีขน ผลเป็นฝักทรงกระบอก ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีดำมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดรูปรีแบนสีน้ำตาล

 

3.  ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          -ฝัก               เป็นยาระบาย

 

4.  สารสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสารออกฤทธิ์ หรือสารที่ใช้ประเมินคุณภาพของสมุนไพร

          Rhein, aloe-emodin (1)         

 

5.      ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          5.1   ฤทธิ์เป็นยาถ่าย

                 สารสกัดจากฝักคูนขนาด 100 และ 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย (2) และพบว่าสารสกัดจากรากคูนด้วยเมทานอลที่ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acetylcholinesteraseได้ (3) ซึ่งอาจเป็นกลไกที่ทำให้สารสกัดคูนมีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ อย่างไรก็ตามสารสกัดจากฝักคูนที่ความเข้มข้นต่ำคือ 4-8 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้หนูตะเภา (2)

          5.2   ฤทธิ์ต้านเชื้อรา

                 สารสกัดจากใบคูนด้วยเมทานอลสามารถต้านเชื้อรา Trichophyton rubrum, Microsporum gypseum และ Penicillium marneffei (4) สารสกัดจากใบคูนด้วยน้ำที่ความเข้มข้น 1 กรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้งเชื้อรา Epidermophyton floccusum, Trichophyton mentagrophyte และ M. gypseum ได้เล็กน้อย (5) นอกจากนี้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 95 และน้ำสามารถต้านเชื้อ T. rubrum, T. mentagrophyte และ M. gypseum (6) และสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 น้ำ และคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Dermatophytes, Candida albicans, Crytococcus neoformans และ P. marneffei  (7)  การทดสอบสารสกัดฝักคูนด้วยไดคลอโรมีเทน:เมทิลแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1:1 ที่ความเข้มข้น 500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร พบว่าสารสกัดที่ได้มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา C. albicans, และ Saccharomyces cerevisiae ได้ดี ยับยั้ง Aspergillus niger ได้ปานกลาง และออกฤทธิ์ดีขึ้นที่ความเข้มข้นเพิ่มขึ้น (8)

          สารสกัดดอกคูนด้วยเอทิลอะซีเตตออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ดี 6 ชนิด ได้แก่ T. rubrum, T. mentagrophytes, T. simii, E. floccosum และ Scopulariopsis sp. โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คือ 4-hydroxy benzoic acid (9)

          5.3   ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

                 สารสกัดจากใบคูนด้วยไดเอทิลอีเธอร์ เอทิลอะซีเตท ไดคลอโรมีเทน เมทานอล และน้ำที่ความเข้มข้น 3,000-5,000 ส่วนในล้านส่วน (ppm) สามารถยับยั้งเชื้อ Escherichia coli, Klebsiella aerogenes, Proteus vulgaris และ Pseudomonas aerogenes (10) สารสกัดจากใบและเปลือกคูนด้วยน้ำสามารถต้านเชื้อ E. coli  (11) สารสกัดจากผลคูนด้วยเมทานอลสามารถยับยั้งเชื้อ Bordetella bronchiseptica, Stapphylococcus aureus และ Bacillus cereus (12) นอกจากนี้สารสกัดจากกิ่งด้วยเอทานอลร้อยละ 95 (13) และสารสกัดจากเปลือกลำต้นด้วยเอทานอลร้อยละ 70 (14) มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus ได้ การทดสอบสารสกัดฝักคูนด้วยไดคลอโรมีเทน:เมทิลอัลกอฮอล์ในอัตราส่ วน 1:1 ที่ความเข้มข้น 500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร พบว่าสารสกัดออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Streptococcus faecalis ได้ดี  ยับยั้งเชื้อ Bordetella bronchiseptica, Micrococcus luteus , S. aureus, Klebsiella pneumoniae และ P. aeruginosa ได้ปานกลาง ยับยั้งเชื้อ Staphylococcus epidermidis และ E. coli ได้เล็กน้อย แต่ไม่ยับยั้งเชื้อ B. cereus var mycoides, Bacillus pumilus และ Bacillus subtilis และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นสารสกัดเป็น 1,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร พบว่าสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อทุกชนิดข้างต้นได้ดี ยกเว้นเชื้อ E. coli และ P. aeruginosa จะยับยั้งได้ปานกลาง (8)

                 นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดฝักคูนช่วยเสริมฤทธิ์ยา amoxicillin โดยการใช้สารสกัดนี้ร่วมกับยา amoxicillin จะสามารถยับยั้งเชื้อ Salmonella enterica, Serovar Typhi ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดื้อยาหลายชนิดได้ดีกว่าเมื่อใช้ยาหรือสารสกัดคูนเดี่ยวๆ (15)

                 สารสกัดใบคูนด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Micrococcus roseus, Micrococcus luteus, P. aeruginosa, S. aureus ได้เล็กน้อย (16) แต่ยับยั้งและฆ่าเชื้อ Aeromonas hydrophila และ Streptococcus agalactiae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคระบาดในปลาได้ดี (17)

สารสกัดดอกคูนด้วยเฮกเซน, คลอโรฟอร์ม, เอทิลอะซีเตต, เมทิลแอลกอฮอล์ และน้ำออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวก ได้แก่ B. subtilis, S. aureus, S. epidermidis และ Enterococcus faecalis ส่วนแบคทีเรียชนิดแกรมลบที่สารสกัดนี้สามารถยับยั้งได้ในการทดสอบนี้มีเพียงชนิดเดียวคือ P. aeruginosa (18)

          5.4   ฤทธิ์ต้านโปรโตซัว

                 สารสกัดฝักคูนด้วยเฮกเซนออกฤทธิ์ต้านโปรโตซัว Leishmania ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) ในระยะที่พบในแมลงพาหะ (promastigote) เมื่อนำสารสกัดนี้ไปแยกจะพบสาร clerosterol ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อโปรโตซัวดังกล่าวทั้งในระยะที่พบในแมลงพาหะ และระยะที่พบในเซลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (amastigote) (19)

 

6.  อาการข้างเคียง   

          มีรายงานว่าผู้ป่วย 49 คน รับประทานต้นคูนแล้วเกิดพิษ โดยมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปากเจ็บ ง่วงซึม เพ้อคลั่ง และท้องเสีย (20)

 

7.  ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ

                 การทดสอบพิษเฉียบพลัน เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำของฝักคูนให้หนูเม้าส์ พบว่ามีความเป็นพิษเล็กน้อย การศึกษาพิษกึ่งเรื้อรัง พบว่าสารสกัดของฝักไม่ทำให้เกิดพยาธิสภาพกับอวัยวะอื่นๆ (2) เมื่อป้อนสารสกัดฝักให้กับกระต่ายทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร ขนาด 8 กรัม/กิโลกรัม พบว่าไม่ทำให้เกิดพิษ (21) น้ำต้มฝักที่มีปริมาณแอนทราควิโนนรวมและแอนทราควิโนนไกลโคไซด์รวมร้อยละ 1.45-1.85 โดยน้ำหนัก และร้อยละ 0.38-0.71 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ไม่พบความเป็นพิษเฉียบพลันต่อหนูเม้าส์และหนูแรทภายหลังจากได้รับสารสกัด 5 กรัม/กิโลกรัม ไม่ปรากฏว่าหนูตายหรือแสดงอาการผิดปกติใน 14 วัน (1)  

                 สารสกัดฝัก เปลือกต้น และเมล็ดด้วยเอทานอล:น้ำ ในอัตราส่วน 1:1 เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ พบว่าขนาดสูงสุดที่สัตว์ทดลองทนได้ เท่ากับ 250 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (22)

                 การศึกษาความเป็นพิษของสาร clerosterol ซึ่งแยกได้จากสารสกัดฝักคูนด้วยเฮก เซนต่อเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมพบว่า เป็นพิษน้อยกว่ายา pentamidine ที่ใช้ในการรักษาโรค Leishmaniasis 3.6 เท่า  (19)

          7.2   พิษต่อเซลล์

                 สารสกัดจากฝัก เปลือกต้น และเมล็ดด้วยเอทานอล:น้ำ ในอัตราส่วน 1:1 พบว่ามีพิษต่อเซลล์มะเร็ง CA-9KB  (22) ส่วนสารสกัดกิ่งด้วยน้ำและเมทานอลในอัตราส่วน 1:1 พบว่าไม่มีพิษต่อเซลล์ Vero ที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร (23)

                 การศึกษาความเป็นพิษของสาร clerosterol ซึ่งแยกได้จากสารสกัดฝักคูนด้วยเฮกเซนต่อเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมพบว่า เป็นพิษน้อยกว่ายา pentamidine ที่ใช้ในการรักษาโรค Leishmaniasis 3.6 เท่า  (19)

          7.3   ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

                 การศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของคูน พบว่าคูนไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA 98 และ TA 100 (24)

 

8.  วิธีการใช้

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

                 ใช้เนื้อในฝักหรือใช้ทั้งฝักต้มกับน้ำใส่เกลือนิดหน่อย รับประทานตอนเช้า ก่อนอาหาร หรือก่อนนอน เป็นยาระบาย (25, 26)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                                          ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

 

1.     Gritsanapan W, Sakulpanich A, Thongpraditchote S. Anthraquinone content and toxicity test of Cassia fistula pod extracts. Planta Med 2010;76. 

2.             Akanmu MA, Iwalewa EO, Elujoba AA, Adeelusola KA. Pharmacological investigations and toxicological screening of an aqueous infusion of the pods of Cassia fistula in rodents.  International Congress and 49th Annual Meeting of the Society for Medicinal Plant Research, 2-6 Sep, Erlangen, Germany, 2001.

3.             Ingkaninan K, Temkitthawon P, Chuenchom K, Yuyaem T, Thongnoi W. Screening for acetylcholiesterase inhibitory activity in plants used in Thai traditional rejuvenating and neurotonic remedies. J Ethnopharmacol 2003;89: 261-4.

4.             Pongpaichit S., Pujenjob N, Rukachaisirikul V, Ongsakul M. Antifungal activity from leaf extracts of Cassia alata L., Cassia fistula L. and Cassia tora L. Songklanakarin J Sci Technol 2004;26(5):741-8.

5.             Mishra DN, Dixit V, Mishra AK. Mycotoxic evaluation of some higher plants against ringwarm causing fungi. Indian drugs 1991;28(7):300-3.

6.             Chutiyasantiyanon C, Sirikul S, Buntawekul S, Termrattanasirikul A. A study of medicinal plants used for skin diseases. Special project for the degree of B. Sc. (Pharm), Faculty of Pharmacy, Bangkok: Mahidol University, 1984.

7.     แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ, อ้อมบุญ ล้วนรัตน์. การศึกษาสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านราโรคผิวหนังและราฉวยโอกาส. ทำเนียบผลการวิจัย 2003;11(11):62-3.

8.             Kumar VP, Chauhan NS, Padh H, Rajani M. Search for antibacterial and antifungal agents from selected Indian medicinal plants. J Ethnopharmacol 2006;107:182–8.

9.             Duraipandiyan V, Ignacimuthu S. Antibacterial and antifungal activity of Cassia fistula L.: An ethnomedicinal plantJ Ethnopharmacol 2007;112:590-4.

10.         Samy RP, Ignacimuthu S, Sen A. Screening of 34 Indian medicinal plants for antibacterial properties. J Ethonopharmacol 1998;62:173-82.

11.         Kanbutra P, Porntrakulpipat S, Borisutpeth P, Sarachoo K, Jivaganon J, Aromdee C, Wongkham S. Antibacterial activity of Thai medicinal plants on Esherichia coli (F18+). The 2nd International Conference on Medicinal Mushroom and The International Conference on Biodiversity and Bioactive Compounds, 17-20 July, Pattaya, Thailand, 2003.

12.         Bonjar S. Evaluation of antibacterial properties of some medicinal plants used in Iran. J Ethnopharmacol 2004;94:301-5.

13.         Pongpun A, Chumsri P, Taworasate T. The antimicrobial activity of some Thai medicinal plants. J Pharm Sci 1982;9(4):88-91.

14.         Gristsanapun W, Chulasiri M. A preliminary study of antidiarrheal plants: I, Antibacterial activity. J Pharm Sci 1983;10(4): 119-23.

15.    Ali, Nafisa Hassan; Kazmi, Shahana Urooj; Faizi, Shaheen. Activity of synergistic combination amoxy-cassia against Salmonella. Pak J Pharm Sci 2007;20(2):140-5.

16.         Ratnam KV, Raju RRV. Uses and antimicrobial properties of certain medicinal plants from the wild life sanctuary in Andhra Pradesh. J Trop Med Plants 2006;7(1):

17.    ประสาทพร บริสุทธิ์เพ็ชร, พิทัย กาญบุตร, สมโภชน์ วีระกุล, กิ่งกาญจน์ สาระชู, สาธร พรตระกูลพิพัฒน์. Anti-bacterial Activity of Thai Medicinal Plant Extracts on Aeromonas hydrophila and Streptococcus agalactiae Isolated from Diseased Tilapia (Oreochromis niloticus). The 31st Congress on Science and Technology of Thailand at Suranaree University of Technology, 18 - 20 October, Nakhon Ratchasima, 2005

18.         Duraipandiyan V, Ignacimuthu S. Antibacterial and antifungal activity of Cassia fistula L.: An ethnomedicinal plantJ Ethnopharmacol 2007;112:590-4.

19.         Sartorelli P. Andrade SP, Melhem M SC, Prado FO, Tempone AG. Isolation of Antileishmanial Sterol from the Fruits of Cassia fistula using Bioguided Fractionation. Phytother Res 2007;21:644-7.

20.         Bramley A, Goulding R. Laburnum “Poisoning”. Brit Med J 1981;283(6301):1220-1.

21.         Akhtar MS. Hypoglycaemic activites of some indigenous medicinal plants traditionally used as antidiabetic drugs. J Pak Med Ass 1992;42(11):271-7.

22.         Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehrotra BN, Ray C. Screening of Indian plants for biological activity: Part I. Indian J Exp Biol 1968;6:232-47.

23.         Hattori M, Nakabayashi T, Lim YA, et al. Inhibitory effects of various Ayurvedic and Panamanian medicinal plants on the infection of Herpes simplex virus-1 in vitro and in vivo.  Phytother Res 1995;9(4):270-6.

24.    แก้ว กังสดาลอำไพ วรรณี โรจนโพธิ์. การประเมินฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสมุนไพรไทยในรูปของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและสมุนไพรบางชนิด โดยวิธีเอมส์เทสต์. รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.

25.         คล้อย จันทร์ศรีแบบสัมภาษณ์ผู้ใช้โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง, 2525.

26.         . กุณฑลตำรายาพื้นบ้านกรุงเทพฯ: ปรีชาการพิมพ์, 2524.