1. ชื่อสมุนไพร           กระชาย

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.  

          ชื่อวงศ์           ZINGIBERACEAE

          ชื่อพ้อง           Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.,

          ชื่ออังกฤษ        Fingerroot, Chinese ginger, Chinese key

          ชื่อท้องถิ่น        กะแอน, ขิงทราย, จี๊ปู, ซีฟู, เป๊าะซอเร้าะ, เป๊าะสี่, ระแอน, ว่านพระอาทิตย์

 

2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          พืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า มีรากติดเป็นกระจุก รูปทรงกระบอกปลายเรียวแหลม ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อสีเหลือง มีกลิ่นหอม ส่วนที่อยู่เหนือดินประกอบด้วยโคนก้านใบที่เป็นกาบหุ้มซ้อนกันสูง กาบใบมีสีแดงเรื่อๆ แผ่นใบรูปรีปลายแหลม โคนแหลมหรือมน ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ยอด ช่อดอกมีใบประดับเรียงทแยงกัน ดอกที่ปลายช่อจะบานสวย กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมชมพู มีลักษณะเป็นถุงแยกเป็น 2 กลีบ ผลแห้ง แตกได้

 

3.  ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          -ส่วนเหง้า                  รักษาอาการแน่น จุกเสียด

 

4. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์

น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ขับลม (1) และสารฟลาโวนอยด์ เช่น 5, 7-dimethoxyflavone, panduratin A มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (2, 3, 4)

 

5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 

          5.1   ฤทธิ์ขับลม

       กระชายมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีฤทธิ์ขับลม (1)

          5.2   ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

       กระชายสามารถลดการบีบตัวของลำไส้จากการศึกษาในหนูตะเภา (5, 6) และหนูแรท (7-10) โดยกระชายมีสาร cineole ซึ่งมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ (11, 12) ช่วยลดอาการปวดเกร็งได้

          5.3   ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียด

       กระชายมีสาร pinostrobin และ panduratin A ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli (13-16) ที่เป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด

          5.4   ฤทธิ์ลดการอักเสบ

       สาร 5, 7-dimethoxyflavone, panduratin A และ hydroxypanduratin A จากกระชายสามารถลดการอักเสบในหนูแรทได้ (17-19, 3, 4)

 

6.  อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

7.1  การทดสอบความเป็นพิษ

       จากการศึกษาในหนูเม้าส์โดยให้สาร 5, 7-dimethoxyflavone จากกระชายในขนาด 10 เท่าของขนาดรักษาการอักเสบ พบว่ามีพิษต่ำมากและไม่พบการตายเมื่อทดสอบกับหนูเม้าส์ แต่จะมีการหายใจและอุณหภูมิร่างกายลดลง เนื่องจากมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (17) ในขณะที่สารสกัดด้วยน้ำร้อนและน้ำไม่มีผลให้เกิดการกลายพันธุ์ต่อแบคทีเรียในหลอดทดลอง นอกจากนี้ยังพบว่าสาร pinocembrin chalone, pinocembrin, cardamonin และ pinostrobin จากกระชายมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ (20)

 

8. วิธีการใช้เหง้ากระชายรักษาอาการแน่น จุกเสียด

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

                 นำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือต้มกับน้ำสะอาด  รินเอาเฉพาะน้ำดื่ม (21)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

 

1.             Ross MSF, Brain KR. An introduction to phytopharmacy. London: Pithman Medical Publishing Co. Ltd. 1977. p.158-76.

2.             Tasneeyakul W, Panthong A. Anti-inflammatory activity of 5,7-dimethoxyflavone isolated from Boesenbergia pandurata Hollt/Schltr. 6th Congress of  The Pharmacological and Therapeutic Society of Thailand, 1984.

3.             Bharmapravati S, Mahady GB, Pendland SL. In vitro susceptibility of Helicobacter pyroli to extracts of Boesenbergia pandurata and pinostradin. The 3rd World Congress on Medicinal plants and Aromatic plants for Human Welfare, 3-7 Feb, Chiang Mai, Thailand, 2003.

4.             Tuchinda P, Reutrakul V, Claeson P, Pongprayoon U, Sematong T, Santisuk T, Taylor WC. Anti-inflammatory cyclohexenyl chalcone derivatives in Boesenbergia pandurata. Phytochem 2002;59(2):169-73.

5.             Manyom N, Panthong A, Kanjanapothi D, Taesotikul T. Pharmacological activities of 5,7-dihydroxyflavanone isolated from Boesenbergia pandurata Schltr. (red variety). Thai J Pharm Sci 1992;16(4):346.

6.             3.  Thamaree S, Pachotikarn C, Tenkeyoon M, Itthipanichpong C. Effects on intestinal motility of thirty herbal medicines used in the treatment of diarrhoea and dysentery. Chula Med J 1985;29(1):39-51.

7.             Apisariyakul A, Puddhasukh D, Niyomka P. Pharmacological screening of Thai natural products. The First Princess Chulabhorn Science Congress, 10-13 Dec, Bangkok Thailand, 1987.

8.             Apisariyakul A, Anantasarn V. A pharmacological study of the Thai medicinal plants used as cathartics and antispasmodics. 10th Conference of Science and Technology of Thailand, 25-27 Oct, Chiang Mai, Thailand, 1984.

9.             Apisariyakul A. Investigation of fractions isolated from Thai medicinal plants affecting on isolated rat ileum. 10th Conference of Science and Technology of Thailand, Oct 25-27, Chiang Mai, Thailand, 1984.

10.         Apisariyakul A. A pharmacological screening of the plants on isolated rat ileum. Chiang Mai Pharm 1984; 3(1): 8-16.

11.         Haginiwa J, Harada M, Morishita I. Properties of essential oil components of aromatics and their pharmacological effect on mouse intestine. Pharmacological studies on crude drugs. VII. Yakugaku Zasshi 1963;83:624.

12.         Evans BK, James KC, Luscombe DK. Quantitative structure-activity relationships and carminative activity. J Pharm Sci 1978;67:277.

13.         สันติ ทิพยางค์. สารกันเสียจากพืชสมุนไพรบางชนิด. รายงานการวิจัยสำนักงานคณะกรรม การวิจัยแห่งชาติ, 2542.

14.         ศิริลักษณ์ ฤทธิรักษา. การคัดแยกน้ำมันหอมระเหยบางชนิดที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย. รายงานการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2539.

15.         Iamthammachard S. Study on the effects of some medicinal plants in the family Zingiberaceae on the growth of some bacteria. M.Sc. (Teaching Biology) Thesis. Chiang Mai: Chiang Mai University; 1982.

16.         Iamthammachard S, Sukchotiratana M. Effects of some medical plants in the family Zingiberaceae on the growth of some bacteria. 13th Conference of Science and Technology of Thailand, 20-22 Oct, Songkla Thailand, 1987.

17.         Tasneeyakul W. A study on antiinflammatory activity of 5,7-dimethoxyflavone isolated from Boesenbergia pandurata extract in albino rats. M.Sc. Thesis. Chiang Mai: Chiang Mai University; 1984.

18.         Tasneeyakul W, Panthong A. Anti-inflammatory activity of 5,7-dimethoxyflavone isolated from Boesenbergia pandurata Hollt/Schltr. 6th Congress of  The Pharmacological and Therapeutic Society of Thailand, 1984.

19.         Tuchinda P, Reutrakul V, Claeson P, Pongprayoon U, Sematong T, Santisuk T, Taylor WC. Anti-inflammatory cyclohexenyl chalone derivatives in Boesenbergia pandurata. Phytochem 2002;59(2):169-73.

20.         Nakahara K. Physiologically active flavonoids from Boesenbergia pandurata grown in Thailand. Nogyo Oyabi Engei 2001;76(7):761-8.

21.         สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. คู่มือสมุนไพรประจำตู้ยา. กรุงเทพฯ:คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล, 2531. หน้า 54.