1. ชื่อสมุนไพร           น้อยหน่า

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona squamosa L.

          ชื่อวงศ์           ANNONACEAE

          ชื่อพ้อง           ไม่มี

          ชื่ออังกฤษ        Sugar apple, Sweet sop, Custard apple

          ชื่อท้องถิ่น        เตียบ, น้อยแน่, มะนอแน่, มะแน่, มะออจ้า, มะโอจ่า, ลาหนัง, หน่อเกล๊าะแซ, หมักเขียบ

2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขา เปลือกต้นเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาล ใบเดี่ยวรูปรี เรียงสลับไปตามข้อต้น ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ห้อยลง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก สีเหลืองอมเขียว รูปหอก มี 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ หนาอวบน้ำ เกสรตัวผู้และรังไข่จำนวนมาก ผลเป็นผลกลุ่ม รูปกลมป้อม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว เปลือกผลเป็นสีเขียว ผิวขรุขระ เป็นปุ่มกลมนูนเชื่อมต่อกัน เนื้อผลสีขาว เมล็ดรูปไข่สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม

 

3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          -ส่วนใบและเมล็ด          ใช้รักษาเหา

 

4. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์

          สารสำคัญของเมล็ดน้อยหน่าที่ฆ่าแมลงและไข่ของแมลงได้คือ annonin (1,2),  neoannonin (2), squamocin, annonareticin, squamostatin E, squamostatin B1 (3) และ flavonoid (4)

 

5.  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          5.1   ฤทธิ์ฆ่าเหา

                 สารสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์  คลอโรฟอร์ม และเอทานอลจากใบและเมล็ด ผสมในน้ำมันมะพร้าวในสัดส่วนต่างๆ จะมีฤทธิ์ฆ่าเหา โดยสารสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์จะออกฤทธิ์ดีที่สุด ส่วนของเมล็ดจะมีฤทธิ์ดีกว่าใบ และสารสกัดที่ได้จากเมล็ดน้อยหน่าบดกับน้ำมะพร้าวในอัตราส่วน 1:2 จะให้ผลดีที่สุด สามารถฆ่าเหาได้ 98% (5)  การทดสอบในอาสาสมัครที่ลองใช้ครีมหมักผมซึ่งมีสารสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ดในความเข้มข้น 20% พบว่าให้ผลฆ่าเหาได้ดีกว่ายา 25% benzyl benzoate emulsion ซึ่งเป็นยาที่ใช้ฆ่าเหาโดยทั่วไป (6-10) อย่างไรก็ตาม ครีมที่เก็บไว้เป็นเวลานานจะมีประสิทธิภาพลดลง แต่ยังคงมากกว่า 70% (7,9)  เมื่อทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ในรูปแชมพูพบว่าความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ฆ่าเหาบนศีรษะได้ดีและรวดเร็ว คือ ขนาดความเข้มข้น 10% โดยน้ำหนัก จะฆ่าเหาได้ 90.14% ภายในเวลา 10 นาที และ 91.64% ภายในเวลา 20 นาที (11)

          5.2   ฤทธิ์ในการฆ่าแมลง

                 สารสกัดจากเมล็ดและใบน้อยหน่า ส่วนของใบบดเป็นผงคลุกกับเมล็ดถั่วเขียว (ในอัตราส่วนพืช 2 กรัม ต่อเมล็ดถั่วเขียว 20 กรัม) และ ยาฆ่าแมลงศัตรูพืชที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากน้อยหน่าและสะเดา มีฤทธิ์ฆ่าแมลงศัตรูพืช (12-26) เช่น tobacco caterpillar (Spodoptera litura) (12,23,26) ไข่ ตัวอ่อน และ ตัวเต็มวัยของไรขาวในพริก เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน (13)  ตั๊กแตน (Nephoteltix virescen) (21)  ไข่แมลงวันผลไม้ (oriental fruit fly) (22) ด้วงถั่วเหลือง (25) 

       สารสกัดด้วยน้ำจากเมล็ดในความเข้มข้น 10% สามารถฆ่าแมลงสาบ และ ที่ความเข้มข้น 30% จะมีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนแมลงสาบได้ (27)

       น้ำมันจากเมล็ดที่ความเข้มข้น 5% และ 10% มีฤทธิ์ฆ่ายุง Culex fatigans ได้ (28) ส่วนสารสกัดด้วยน้ำจากเมล็ด และสารสกัดด้วยเอทานอลจากเมล็ดและใบ จะมีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลาย (Aedes aegypti) ได้ 100% ใน 48 ชั่วโมง (29) นอกจากนี้พบว่าสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดมีผลฆ่าตัวอ่อนและตัวแก่เต็มวัยของเห็บในวัวและควายได้ (30,31) ส่วนสารสกัดด้วยเอทิลอะซีเตทและสารสกัดด้วยเอทานอล (32) มีฤทธิ์ฆ่าหมัดในสุนัข (32,33)  สารสกัดด้วยเอทิลอีเทอร์จากเมล็ด (20) น้ำมันจากเมล็ด (28) ยังมีฤทธิ์ยับยั้งแมลงที่ทำลายผ้า ได้แก่ Tinea pellionella, (20,28) ,  Anthrenus verbasci (20) และ A. flavipes (28)

 

6. อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ

                 เมื่อให้สารสกัดส่วนที่อยู่เหนือดินด้วย 50% เอทานอล โดยการฉีดเข้าช่องท้องหนูเม้าส์ พบว่ามีพิษปานกลาง (34) น้ำคั้นจากเมล็ดและใบ เมื่อกรอกเข้าปากให้หนูเม้าส์ ขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ไม่ทำให้เกิดพิษถึงตาย และ เมื่อนำน้ำคั้นจากใบมาฉีดเข้าเส้นเลือดดำสุนัขขนาดสูง (300 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม) จะทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงบ้างแต่ผลที่ได้ไม่คงที่ การทดสอบโดยการป้อนน้ำคั้นจากเมล็ดให้หนูแรท พบว่ามีพิษเพียงเล็กน้อย (5)  หนูแรทที่กินสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 3 กรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ไม่พบพิษใดๆ และไม่พบหนูตาย (35) ข้อมูลดังกล่าวจึงอาจสรุปได้ว่าน้ำคั้นจากเมล็ดและใบน้อยหน่ามีพิษน้อยมาก หากให้โดยการรับประทาน  แต่การฉีดเข้าร่างกายจะมีพิษปานกลาง

          7.2   ผลต่อตา

                 การทดสอบโดยการหยอดน้ำคั้นและน้ำมันจากเมล็ดและใบในตากระต่ายพบว่าไม่เป็นอันตรายต่อตา (5)  แต่สารสกัดจากใบและเมล็ดจะทำให้เยื่อตาขาวแดง เยื่อตาขาวรอบกระจกตาบวมอย่างช้าๆ ในขณะที่การตอบสนองของม่านตาและกระจกตายังเป็นปกติ (36)

          7.3   ผลต่อผิวหนัง

                 จากการทดสอบในกระต่ายพบว่าน้ำยาสกัดจากใบและเมล็ดด้วยน้ำ น้ำมัน คลอโรฟอร์ม และเอทานอล ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง  แต่น้ำยาสกัดจากเมล็ดในน้ำมันมะพร้าวมีอันตรายต่อผิวหนังปานกลาง (5)  สารสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์จากใบและเมล็ด และสารสกัดด้วยอีเทอร์จากเมล็ด เมื่อทดสอบกับกระต่ายจะทำให้ผิวหนังกระต่ายร้อนแดง (erythema) และบวมขึ้นอย่างช้าๆ 

          7.4   ผลต่อระบบสืบพันธุ์

                 เมื่อให้หนูแรทเพศเมียกินสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำในอัตราส่วน 1:1  ขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่ามีพิษต่อตัวอ่อน และมีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของไข่ (37,38)   แต่เมื่อให้สารสกัดด้วยน้ำจากเมล็ดกับหนูแรทที่ตั้งท้อง ไม่พบอันตรายใดๆ  (39)

 

8.  วิธีการใช้น้อยหน่ารักษาเหา

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

                   สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

       1. นำใบน้อยหน่า 3-4 ใบ ตำให้ละเอียดคลุกกับเหล้าขาวหรือเหล้าโรง คั้นเอาแต่น้ำมาทาให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ 10 นาที แล้วใช้หวีสางออก (40)

       2. บดเมล็ดน้อยหน่ากับน้ำมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:2 กรองเอาน้ำไปทาให้ทั่วศีรษะ ใช้ผ้าโพกไว้ 1-2 ชั่วโมง (5)

       ข้อควรระวัง

       การใช้ควรระวังไม่ให้น้ำยาเข้าตา เพราะจะทำให้เยื่อบุตาอักเสบได้

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

1.             Moeschler HF, Phager W, Wendisch D. Annonin insecticide. Patent: Ger Offen DE 3,138,763, 1986:31pp. 

2.             Kawazu K, Alcantara JP, Kobayashi A. Search for insect development inhibitor in plants. Part IX. Isolation and structure of neoannonin, a novel insecticide compound from the seeds of Annona squamosal. Agric Biol Chem 1989;53(10):2719-22.

3.             Yu J, Wang D, Luo X, Wang Y, Sun L. Antineoplastic and insecticidal total annonacin and preparing process thereof. Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1,224,016, 1999:9pp. 

4.             Kotkar HM, Mendki PS, Sadan SVGS, Jha SR, Upasani SM, Maheshwari VL.  Antimicrobial and pesticidal activity of partially purified flavonoids of Annona squamosa. Pest Manag Sci 2002;58(1):33-7. 

5.     อรนุช พัวพัฒนกุล. การศึกษาวิจัยการใช้เมล็ดและใบน้อยหน่ารักษาโรคเหา. วารสารเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย 2523;34(2-3):91-105. 

6.     ผาณิตตา คงแคล้ว  พรทิพย์ สุทธิเจริญพร  พิมลพรรณ พิทยานุกูล  วันดี กฤษณะพันธ์.  การตั้งตำรับครีมหมักผมจากสารสกัดเมล็ดน้อยหน่า.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539. 

7.     จริยาพร บุญสุข  ศิริวรรณ อธิคมกุลชัย  วันดี กฤษณพันธ์  พิมลพรรณ พิทยานุกูล  เอมอร โสมนะพันธุ์  อุษาวดี ถาวระ. การประเมินประสิทธิผลของตำรับครีมหมักผมสารสกัดเมล็ดน้อยหน่าต่อเหา. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539. 

8.     ชนิกา คล้ายมงคล  ชนิกา วรรณเสวก  วันดี กฤษณพันธ์  พิมลพรรณ พิทยานุกูล  สุรางค์ แนวกำพล  อุษาวดี ถาวระ. การศึกษาฤทธิ์ของครีมหมักผมสารสกัดเมล็ดน้อยหน่าต่อไข่เหา.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539. 

9.     อัญชลิกา กลิ่นนิยม  อิชยา อยู่เกษ. การศึกษาความคงตัวและประสิทธิผลของตำรับครีมหมักผมสารสกัดเมล็ดน้อยหน่า.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540. 

10.         Tiangda C, Gritsanapan W, Sookvanichsilp N, Limchalearn A. Anti-headlice activity of a preparation of Annona squamosa seed extract. Ann Res Abstr, Bangkok: Mahidol University 2000;27:353. 

11.    กนกพร ตั้งจิตติพร  กุลวดี สกุลงาม.  แชมพูฆ่าเหาจากเมล็ดน้อยหน่า.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2538. 

12.         Rukachaisirikul N, Benchapornkullanij L, Rukachaisirikul V, Permkam S, Dampawan P, Wiriyachitra P. Extraction of substances toxic to Spodoptera litura Fabr. from some readily available plants. Warasan Songkhla Nakkharin 1983;5(4):359-62. 

13.    กนก อุไรสกุล. การใช้สมุนไพรสกัดด้วยไอน้ำจากสะเดา แมงลักคา และตะไคร้หอม เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของไรขาวพริก. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2545. 

14.         Nawanich S.  Some insecticidal plant-extracts for controlling maize weevil, Sitophilus zeamais Motschchulsky. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2002. 

15.         Sharma HC, Sankaram AVB, Nwanze KF. Utilization of natural pesticides derived from neem and custard apple in integrated pest menagement.  Azadirachta indica A. Juss, Int Neem Conf 1996:199-213. 

16.         Chattoraj AN, Tiwari SC. A note on the insecticidal property of Annona squamosa (Annonaceae). Nat Acad Sci India Proc Sect B (Biol Sci) 1965;35(4):351-3. 

17.         Chockalingam S, Kuppusamy A, Punithavathy G, Manoharan T. Toxicity of insecticides, plant extracts and their synergistic effect against Brachythemis contaminata Fab. Pollut Res 1991;10(4):199-202. 

18.         Areekul S, Sinchaisri P, Tigvatananon S. Effect of Thai plant extracts on the oriental fruit fly. I. Toxicity test.  Kasetsart J Nat Sci 1987;21:395-407. 

19.         Mukerjea TD, Govind R. Indigenous insecticidal plants. II. Annona squamosa. J Sci Ind Res 1958;17C:9-15.  

20.         Tanaka Y. Mothproofing agents containing Annona extracts, fiber products treatment with them, and mothproofing covers. Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 10,101,517 [98,101,517], 1998:4pp. 

21.         Mariappan V, Saxena RC. Effect of custard-apple (Annona squamosa) oil and neem (Azadirachta indica) oil on survival of Nephoteltix virescens (Homoptera: Cicadellidae) and on rice tungro virus transmission. J Econ Entomol 1983;76(3):573-6. 

22.         Areekul S, Sinchaisri P, Tigvatananon S. Effects of Thai plant extracts on the oriental fruit fly. II. Repellency test.  Kasetsart J Nat Sci 1988;22:56-61. 

23.         Patil JS, Murthy UD. A study of insecticidal properties of Annona squamosa Linn. Indian Drugs 1996;33(11):551-4. 

24.         Jaswanth A, Ramanathan M, Ravindra Babu S, Manimaran S, Ruckman K.  Evaluation of insecticidal activity of Annona squamosa against the storage pest Sitophilus oryzae. Indian drugs 2002;39(5):297-8. 

25.    มยุรา สุนย์วีระ. ผลของพืชสมุนไพรบางชนิดต่อการป้องกันการเข้าทำลายของด้วงถั่วเหลือง Callosobruchus chinensis L. วารสารกีฏและสัตววิทยา 2535;14(2):93-6. 

26.         Raman GV, Rao MS, Reddy RK, Srimannnarayana G, Venkateswarlu B.  Effect of seed and leaf extracts of custard apple and neem on crop damage, larval reduction and yield on Rabi groundnut against Spodoptera litura F. Biotechnol Appl Integr Pest Manage 2000:93-6. 

27.    มยุรา สุนย์วีระ. แนวทางการป้องกันกำจัดแมลงสาบอเมริกันโดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร.  การสัมมนาแนวทางการพัฒนาสมุนไพรของประเทศไทย, 13-14 กันยายน,กรุงเทพฯ, 2543. หน้า 210-7 

28.    Cheema PS, Dixit RS, Koshi T, Perti SL. Indigenous insecticides. II. Insecticidal properties of seed oil of Annona squamosa. J Sci Ind Res 1958;17C:132-4. 

29.    ดุษฎี ไชยธงรัตน์  เพ็ญพักตร์ เจนสารศาสตร์.  สมุนไพรที่มีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2545. 

30.         Chungsamarnyart N, et al. Effective plant crude-extracts on the tick (Boophilus microplus) I. Larvicidal action. Kasetsart J Witthayasan Kasetsart 1988;22(5):37-41. 

31.         Chungsamarnyart N, Jiwajinda S, Jansawan W. Effects of plant crude-extracts on the cattle tick (Boophilus microplus) insecticidal action I.  Kasetsart J Nat Sci (Suppl) 1990;24:28-31. 

32.    ทิวา รัตนธรรม  อรรถพล การิเทพ.  แชมพูสมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2545. 

33.         Chungsamarnyart N, Mahatheeranont S, Rattankkreetakul C, Jiwajinda S, Jansawan W.  Isolation of acaricidal substances against tropical cattle ticks from sugar apple seeds. Kasetsart J Nat Sci (Suppl) 1992;26:41-5. 

34.         Bhakuni DS, Dhar ML, Dhar MM, Dhawan SH, Mehrotra BN. Screening of Indian plants for biological activities.  Part II.  Indian J Exp Biol 1969;7:250-62.  

35.         Shirwaikar A, Rajendran K, Dinesh Kumar C, Bodla R. Antidiabetic activity of aqueous leaf extract of Annona squamosa in streptozotocin-nicotinamide type 2 diabetic rats. J Ethnopharmacol 2004;91:171-5. 

36.         Sookvanichsilp N, Gritsanapan W, Somanabandhu A, Lekcharoen K, Tiankrop P. Toxicity testing of organic solvent extracts from Annona squamosa: Effects on rabbit eyes and ear skin.  Phytother Res 1994;8:365-8. 

37.         Mishra A, Dogra JV, Singh JN. Post- coital antifertility activity of Annona squamosa and Ipomoea fistulosa. Plant Med 1978;35:283. 

38.         Rao VSN, Dasardhan P, Krishnaiam KS. Antifertility effect of some indigenous plants. Indian J Med Res 1979;70:517-20.

39.         Damasceno DC, Volpato GT, Sartori TCF, Rodrigues PF, Perin EA, Calderon IMP, Rudge MVC. Effects of Annona squamosa extract on early pregnancy in rats. Phytomedicine 2002;9:667-72. 

40.         ยียวน.   ยาชาวบ้านเกล็ดชาวเมือง.   กรุงเทพฯ: เอเซียการพิมพ์, 2520.