ตำลึง




1.  ชื่อสมุนไพร                    ตำลึง

          ชื่อวิทยาศาสตร์           Coccinia  grandis  (L.) Voigt

          ชื่อวงศ์                     Cucurbitaceae

          ชื่อพ้อง                     C. indica Wight & Arn, C. cordifolia (L.) Cogn.

          ชื่ออังกฤษ                  Ivy gourd

          ชื่อท้องถิ่น                  แคเด๊าะ ผักแคบ ผักตำนิน

 

2.  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

     ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยพาดพันไม้อื่นโดยมีมือเกาะ แตกกิ่งก้านสาขากว้างขวาง มักมีรากหัวใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน มี 3-5 พู ผิวเรียบมัน ก้านใบสั้น ดอกสีขาว แยกเป็นดอกเพศผู้ และดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังสั้น ปลายแบ่งออกเป็น 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังปลายแฉกจักลึกลงไปครึ่งกลีบ ด้านในมีขน ผลยาวรูปไข่หรือขอบขนาน มีจงอยแหลม เมื่อสุกมีสีแดง เมล็ดมีจำนวนมาก (1)

 

3.  ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

     ใบใช้แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย ดับพิษร้อน ถอนพิษทั้งปวง แก้ปวดแสบ ปวดร้อน (2)

 

4.  สารสำคัญ

     ใบตำลึงประกอบด้วยสารบีตาแคโรทีน (3) บีตาไซโตสเตอรอล (b-sitosterol) (4) พอลิพีนอล (poly-phenol) (5) วิตามินซี วิตามินอี (6) วิตามินเค 1 (7) แทนนิน (tannin) (6) โปรตีน (8) โปแตสเซียม (9)

    

5.  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

     5.1 ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

          การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำจากใบและเถาตำลึง ขนาด 50, 100 และ 200 มก./กก. ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วย 1% ฟอร์มาลดีไฮด์ เปรียบเทียบกับยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) ขนาด 10 มก./กก. พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ โดยที่สารสกัดน้ำจากใบมีฤทธิ์ดีที่สุด (10) เมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 25, 50, 100, 200 และ 300 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูแรทก่อนและหลังเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนน เปรียบเทียบผลกับยาไดโคลฟีแนค (diclofenac) ขนาด 20 มก./กก. พบว่าการให้สารสกัดก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบสามารถลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนูได้ โดยสารสกัดที่ขนาด 50 มก./กก. จะให้ผลดีที่สุดและเทียบเท่ากับยาไดโคลฟีแนค สำหรับการให้สารสกัดหลังเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ พบว่าสารสกัดทุกขนาด ยกเว้นขนาด 25 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เช่นกัน (11) แต่มีบางงานวิจัยที่พบว่าการป้อนสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 1 ก./กก. ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรท (12) นอกจากนี้มีรายงานว่าผงน้ำคั้นจากผลสด ขนาด 50-200 มก./กก.  มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนนและฮิสตามีน (13)

          สารสกัดอัลกอฮอล์จากใบ ขนาด 1, 2.5, 10 และ 20 มก./กก.  มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนนได้ แต่มีฤทธิ์น้อยกว่ายาเพรดนิโซโลน (prednisolone) ขนาด 5 และ 10 มก./กก. และตำรับครีมที่มีสารสกัดเดียวกันนี้ผสมอยู่ 2% ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือลดรอยแดงจากยุงกัดในอาสาสมัคร จำนวน 5 คน เมื่อเทียบกับครีมเบส (14)

     5.2 ฤทธิ์แก้ปวด

          เมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 25, 50, 100, 200 และ 300 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ปวดด้วยวิธี tail flick test เปรียบเทียบผลกับมอร์ฟีน ขนาด 2 มก./กก. และยาไอบูโปรเฟน (ibuprofen) ขนาด 20 มก./กก. พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์แก้ปวดได้ โดยที่ขนาด 300 มก./กก. จะมีฤทธิ์ดีใกล้เคียงกับมอร์ฟีน (11) สารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 1 ก./กก. (12) ผงน้ำคั้นจากผลสด ขนาด 50-200 มก./กก. (13) มีฤทธิ์แก้ปวดในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยวิธี acetic acid-induced writhing (12, 13) tail flick test (12) และด้วยเครื่อง analgesy meter (13)

     5.3 ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

          สารสกัดจากส่วนต่างๆ ของตำลึง ได้แก่ ใบ ผล เถา ส่วนเหนือดิน และราก มีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (3, 9, 10, 12, 24, 28-49) โดยสารสกัดตำลึงมีฤทธิ์กระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ (50) เพิ่มระดับอินซูลิน (29, 34, 36) ทำให้มีการสังเคราะห์ไกลโคเจนเพิ่มขึ้น (24, 39) และลดการเปลี่ยนไกลโคเจนมาเป็นกลูโคสเป็นผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง (24)

          การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานระยะเริ่มต้น (ระดับน้ำตาลในเลือด 110-180 มก. /ดล.) ซึ่งได้รับสารสกัด 50% อัลกอฮอล์จากใบและผล ขนาด 1 ก./วัน  เป็นเวลา 90 วัน พบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (fasting blood glucose) และหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง (post-prandial blood glucose) ลดลงร้อยละ 16 และ 18 ตามลำดับ และยังมีผลลดน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) แต่ไม่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด และไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย (46) เมื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานยาเม็ดผงแห้งจากใบตำลึง ครั้งละ 3 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test) โดยให้กลูโคส 50 ก. วัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังทำการทดสอบ พบว่าผู้ป่วยมีความทนต่อกลูโคสดีขึ้น และไม่พบความผิดปกติของน้ำหนักตัว ค่าทางโลหิตวิทยา เอนไซม์แอสพาร์เทตทรานส์อะมิเนส (aspartate transaminase) อะลานีนทรานส์อะมิเนส (ala-nine transaminase) ยูเรีย และไตของผู้ป่วย (9, 47) และในผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานสารสกัดจากตำลึง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้และตัวทำละลาย) ขนาด 500 มก./กก. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดมีผลลดระดับของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายกลูโคส ได้แก่ กลูโคส-6-ฟอสฟาเตส (glucose-6-phosphatase) และแลกเตตดีไฮโดรจิเนส (lactate dehydrogenase) และเพิ่มระดับของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายไขมัน คือ ลิโปโปรตีนไลเปส (lipoprotein lipase) แสดงว่าสารสกัดจากตำลึงทำหน้าที่คล้ายกับอินซูลินในยับยั้งการสร้างน้ำตาลและกระตุ้นการสลายไขมัน ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยได้ (48) 

 

6.  อาการข้างเคียง

     ยังไม่มีรายงาน

 

7.  ความเป็นพิษ

     7.1 การทดสอบความเป็นพิษ

          สารสกัด 50% เอทานอลจากทั้งต้นขนาด 10 ก./กก. ไม่ทำให้เกิดพิษเมื่อป้อนทางสายยางสู่กระเพาะอาหารหรือฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร (15) และเมื่อฉีดสารสกัดเดียวกันนี้เข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าขนาดต่ำสุดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 750 มก./กก. (16)

    

8. วิธีการใช้

     8.1 ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

          ใช้รักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย แพ้ละอองข้าว โดยใช้ใบสด 1 กำมือ (ใช้มากน้อยตามบริเวณที่มีอาการ) ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยแล้วคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆ จนกว่าจะหาย

     8.2 ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

1.   นันทวัน บุณยะประภัศร และคณะ. ก้าวไปกับสมุนไพร เล่ม 3. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์, 2530:194 หน้า.

2.   นันทวัน บุณยะประภัศร อรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ.  สมุนไพรไม้พิ้นบ้าน เล่ม 2. กรุงเทพฯ:

     บริษัท ประชาชน จำกัด, 2541:640 หน้า.

3.   Sungpuag P.  Food sources of b-carotene and their vitamin A activity.  Mahidol university

     annual research abstracts and bibliography of non-formal publication 1991;19:535.

4.   Mukherjee K, Ghosh NC, Datta T.  Coccinia indica Linn. as potential hypoglycaemic agent. 

     Indian J Exp Biol 1972;10(9):347-9.

5.   Singh G, Gupta P, Rawat P, Puri A, Bhatia G, Maurya R.  Antidyslipidemic activity of polyprenol from Coccinia grandis in high-fat diet-fed hamster model.  Phytomedicine 2007;14(12):792-8.

6.   Chanwitheesuk A, Teerawutgulrag A, Rakariyatham N.  Screening of antioxidant activity and antioxidant compounds of some edible plants of Thailand.  Food Chem 2005;92(3): 491-7.

7.   สุวดี แซ่เฮง โสวรส โรจน์สุธี.  การหาปริมาณวิตามินเคในผักพื้นบ้าน.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม. มหิดล, 2007.

8.   Ruby J, Nathan PT, Balasingh J, Kunz TH.  Chemical composition of fruits and leaves eaten by short-nosed fruit bat Cynopterus sphinx.  J Chem Ecol 2000; 26(12): 2825-41. 

9.   Guha J, Sen SP.  The cucurbitacins-a review.  Plant Biochem J 1975;2: 127.

10. Deshpande SV, Patil MJ, Daswadkar SC, Suralkar U, Agarwal A.  A study on anti-inflamma-tory activity of the leaf and stem extracts of Coccinia grandis L. Voigt.  IJABPT 2011;2(3): 247-50.

11. Niazi J, Singh P, Bansal Y, Goel RK.  Anti-inflammatory, analgesic and antipyretic activity of aqueous extract of fresh leaves of Coccinia indica.  Inflammopharmacol 2009;17:239-44.

12. Tangsucharit P, Kukongviriyapan V, Kukongviriyapan U, Airarat W.  Screening for analgesic and anti-inflammatory activities of extracts from local vegetables in the northeast of Thailand.  Srinagarind Med J 2006;21(4):305-10.

13. Rao GMM, Rao CV, Sudhakara M, Pandey MM, Rawat AKS, Sirwaikar A, et al.  Anti-inflam-matory and antinociceptive activities of “Coccinia indica W.&A.” fruit juice powder in animals.  Nat Prod Sci 2004;10(1):20-3.

14. Leelapornpissid P, Manosroi A, Sajawatee P, Chaikul P, Nopsiri V, Manosroi J. Anti-inflam-matory activity of extract from leaves of Coccinia grandis (tum-loeng), formulation and evaluation of cream preparation containing the extract.  16th Annual Symposium of Health Science, Chiang Mai, August 1998:270.

15.   Singh N, Singh P, Vrat S, Misra N, Dixit KS, Kohll RP.  A study on the anti-diabetic activity of Coccinia indica in dogs.  Indian J Med Sci 1985;39:27-9, 42.

16.   Khan azad AK, Akhtar S, Mantab H.  Treatment of diabetes mellitus with Coccinia indica.  Brit Med J 1980;280:1044.

17.   Hossain MZ, Shibib BA, Rahman R.  Hypoglycemic effects of Coccinia indica: inhibition of key gluconeogenic enzyme, glucose-6-phosphatase.  Indian J Exp Biol 1992;30(5):418-20.

18.   Mukherjee K, Ghosh NC, Datta T.  Coccinia indica Linn. as potential hypoglycaemic agent.  Indian J Exp Biol 1972;10(9):347-9.

19.   Kumar GP, Sudheesh S, Vijayalakshmi NR.  Hypoglycaemic effect of Coccinia indica: mechanism of action.  Planta Med 1993;59(4):330-2.

20.   Shibib BA, Amin MA, Hasan AKMM, Rahman R.  A creeper, Coccinia indica, has anti-hyperglycaemic and anti-ureogenic effects in diabetic rats.  J Pak Med Assoc 2012;62(11): 1145-8.

21.   Pari L, Venkateswaran S.  Protective effect of Coccinia indica on changes in the fatty acid composition in streptozotocin induced diabetic rats.  Pharmazie 2003;58(6):409-12.

22.   Islam A, Khan RI, Hossain S, et al.  Antidiabetic and hypolipidemic effects of different fractions of Coccinia cordifolia L. on normal and streptozotocin-induced diabetic rats.  Pak J Pharm Sci 2011;24(3):331-8.

23.   วิลาวัณย์ พร้อมพรม ชูศรี ตลับมุข จีระพรรณ สุขศรีงาม.  ผลของพืชสมุนไพรพื้นบ้านต่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดของหนูที่ทำให้เป็นเบาหวาน.  การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30, นนทบุรี, 19-21 ต.ค. 2547.

24.   Manjula S, Ragavan B.  Hypoglycemic and hypolipidemic effect of Coccinia indica Wight &Arn in alloxan induced diabetic rats.  Ancient science of life 2007;XXVII(2):34-7.

25.   Islam A, Akhtar A, MD. Khan RI, et al.  Oral glucose tolerance test (OGTT) in normal control and glucose induced hyperglycemic rats with Coccinia cordifolia L. and Catharanthus roseus L.  Pak J Pharm Sci 2009;22(4):402-4.

26.   Haque E, Saha SK, Islam D, Islam R.  Comparative study between the effect of Coccinia cordifolia (leaf and root) powder on hypoglycemic and hypolipidemic activity of alloxan induced type 2 diabetic Long- Evans rats.  J Diabetes Endocrinol 2012; 3(4): 37-43.

27.   Kohli S, Kumar PN.  Combined effect of Coccinia indica leaf extract with acarbose in type II diabetes induced neuropathy in rats.  JIPBS 2014;1(2):77-87.

28.   Mallick C, Mandal S, Barik B, Bhattacharya A, Ghosh D.  Protection of testicular dysfunc-tions by MTEC, a formulated herbal drug in streptozotocin induced diabetic rat.  Biol Pharm Bull 2007;30(1):84-90.

29.   Shakya VK.  Antidiabetic activity of Coccinia indica in streptozotocin induced diabetic rats.  Asian J Chem 2008:20(8):6479-82.

30.   Kar A, Choudhary BK, Bandyopadhyay NG.  Comparative evaluation of hypoglycaemic activity of some Indian medicinal plants in alloxan diabetic rats.  J Ethnopharmacol 2003; 84:105-8.  

31.   Balaraman AK, Singh J, Dash S, Maity TK.  Antihyperglycemic and hypolipidemic effects of Melothria maderaspatana and Coccinia indica in streptozotocin induced diabetes in rats.  Saudi Pharmaceutical Journal 2010;18:173-8.

32.   เสริมเกียรติ บ้วนวงศ์ อดิศักดิ์ แซ่ลี้ เพ็ญโฉม พึ่งวิชา ยุวดี วงษ์กระจ่าง.  ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและบำบัดอาการเบาหวานของตำลึง.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม. มหิดล, 1985.

33.   ถวัลย์ จรดล บัณฑิต ธีราธร บุญเจือ ธรณินทร์.  ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของน้ำสกัดเถาตำลึง.  สารศิริราช 2515;24(6):934-40.

34.   Mukerji.  Effect of Coccinia indica on alloxan diabetes in rabbits.  Indian J Med Sci 1953; 7:665-72.

35.   Brahmachari HD, Augusti KT.  Orally effective hypoglycemic principles from Coccinia indica.  J Pharm Pharmacol 1963;15(6):411-2.

36.   Mueller-Oerlinghausen B, Ngamwathana W, Kanchanapee P.  Investigation into Thai medicinal plants said to cure diabetes.  J Med Ass Thailand 1971;54(2):104-11.

37.   Niedzielski K, Swift L.  Effect of Coccinia indica on blood glucose levels in alloxan-induced diabetic mice.  J Biol Res 2002;3:1-5.

38.   Kuriyan R, Rajendran R, Bantwal G, Kurpad AV.  Effect of supplementation of Coccinia cordifolia extract on newly detected diabetic patients.  Diabetes Care 2008;31(2):216-20.

39.   Azad KAK, Akhtar S, Mahtab H.  Coccinia indica in the treatment of patients with diabetes mellitus.  Bangladesh Med Res Council Bull 1979;5(2):60-6.

40.   Kamble SM, Kamlakar PL, Vaidya S, Bambole VD.  Influence of Coccinia indica on certain enzymes in glycolytic and lipolytic pathway in human diabetes.  Indian J Med Sci 1998; 52(4):143-6.

41.   Munasinghe MAAK, Abeysena C, Yaddehige IS, Vidanapathirana T, Piyumal KPB.  Blood sugar lowering effect of Coccinia grandis (L.) J. Voigt: Path for a new drug for diabetes mellitus.  Experimental Diabetes Research [Internet]. 2011 [cited 2017 June 12] Available from: https://www.hindawi.com/journals/jdr/2011/978762/.

42.   Purintrapiban J, Keawpradub N, Jansakul C.  Role of the water extract from Coccinia indica stem on the stimulation of glucose transport in L8 myotubes.  Songklanakarin J Sci Technol 2006;28(6):1199-208.

43.   Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P.  Study on toxicity of Thai medicinal plants.  Bull Dept Med Sci 1971;12(2/4):36-65.

44.   Bhakuni OS, Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehrotra BN.  Screening of Indian plants for biological activity Part II.  Indian J Exp Biol 1969;7:250-62.