สะเดา |
1. ชื่อสมุนไพร สะเดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica A. Juss.
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่อพ้อง Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton
ชื่ออังกฤษ neem, neem tree, nim, siam neem tree
ชื่อท้องถิ่น กะเดา สะตัง สะเลียม จะตัง สะเดาบ้าน
2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 16 ม. ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ยาว 15-35 ซม. ใบอ่อนสีแดง ก้านใบยาว 3-7 ซม. โคนก้านโป่งพอง ใบย่อย 4-7 คู่ รูปใบหอกแกมรูปใบเคียวเบี้ยว กว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 5-9 ซม. เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม ปลายใบเรียวแหลมยาว โคนใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย เส้นใบประมาณ 15 คู่ ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1-2 มม. ดอกช่อกระจุกแยกแขนง ยาวได้ถึง 30 ซม. ออกที่ซอกใบมีกลิ่นหอม ใบประดับและใบประดับย่อยรูปใบหอกยาวประมาณ 0.5-1 มม. ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 มม. ปลายแยกเป็นแฉกกลม มีขน ขอบกลีบมีขนครุย กลีบดอกรูปแถบแกมรูปช้อนสีขาว ยาว 4-6 มม. เกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นมัดเดียว อับเรณูรูปกระสวยแคบ ยาวประมาณ 0.8 มม. ผลสดมีเมล็ดเดียว รูปกระสวย ยาวประมาณ 1-2 ซม. สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อสุก (1)
3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ
ยอดและดอกสะเดา มีรสขม ช่วยเจริญอาหาร (2)
4. สารสำคัญ
ใบและดอกพบ azadirachtin (3), azadirone (4), azharone (4), nimbin (4), salanin, nimbolin (4), nimbinene (4), mimbolide (4). meliacinolin (5)
5. การศึกษาทางคลินิกและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาทางคลินิก
ผลป้องกันการเกิดคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก
สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากใบสะเดามีฤทธิ์ต้านการอักเสบและยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปากหลายชนิด เช่น Porphyromonas gingivalis, Fusobacterium nucleatum, Streptococcus mutans, S. salivarious (6-7) จึงมีการนำสะเดามาศึกษาในรูปของน้ำยาบ้วนปากเพื่อลดการอักเสบของเหงือก การศึกษาในอาสาสมัครที่มีปัญหาเหงือกอักเสบ จำนวน 55 คน แบ่งกลุ่มให้บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ส่วนผสมของของสารสกัดเอทานอลจากใบสะเดาความเข้มข้น 20% หรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ chlorhexidine gluconate 0.12% ครั้งละ 15 มล. กลั้วนาน 30 วินาที วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเที่ยงและเย็น ติดต่อกัน 7 วัน พบว่าการกลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากทั้งสองชนิดช่วยลดคราบจุลินทรีย์ และลดความรุนแรงของโรคเหงือกอักเสบในอาสาสมัครได้อย่างมีนัยสำคัญ (8) เมื่อแบ่งให้อาสาสมัครที่มีปัญหาเหงือกอักเสบและคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก จำนวน 45 คนออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มแรกใช้น้ำยาบ้วนปากจากสารสกัดสะเดา (ไม่ระบุชนิดตัวทำละลาย) ความเข้มข้น 0.19% กลุ่มที่สองบ้วนด้วยน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine 0.2% และกลุ่มที่สามบ้วนด้วยน้ำเกลือ ครั้งละ 15 มล. นาน 1 นาที วันละ 2 ครั้ง จากนั้นทำการเปรียบเทียบความรุนแรงของอาการเหงือกอักเสบ ระดับการมีเลือดออกตามไรฟัน (bleeding index) และคราบจุลินทรีย์ ในวันที่ 7 และ 21 ของการศึกษา พบว่าความรุนแรงของเหงือกอักเสบ ระดับการมีเลือดออกและคราบจุลินทรีย์ลดทั้งอย่างมีนัยสำคัญทั้งในกลุ่มที่บ้วนสารสกัดสะเดาและ chlorhexidine โดยไม่พบความแตกต่างนี้ในกลุ่มที่ใช้น้ำเกลือบ้วนปาก (9) การใช้สะเดาในรูปของเจลทาภายในช่องปากช่วยลดการสะสมของเชื้อแบคแบคทีเรียได้เช่นกัน เมื่ออาสาสมัครใช้เจลสารสกัดใบสะเดา ครั้งละ 1 ก. (มีสารสกัด 70%เอทิลแอลกอฮอล์จากใบสะเดา 25 มก./ก.) ทาทั่วช่องปากวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า และก่อนเข้านอน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ติดต่อกัน สามารถยับยั้งการเกิดคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก (plaque index) ได้ดีกว่ากลุ่มที่ใช้ยาหลอก และเจลสารสกัดสะเดาสามารถยับยั้งปริมาณแบคทีเรียในช่องปาก ได้แก่ S. mutans และ Lactobacillus sp. ได้ดีกว่าการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ chlorhexidine gluconate 0.2% กลั้วปากครั้งละ 10 มล. และกลุ่มที่ใช้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (10)
ผลลดน้ำตาลในเลือด
การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 แบ่งกลุ่มให้รับประทานสารสกัดน้ำจากใบสะเดาที่เตรียมจากผงใบสะเดา 500 ก. กับน้ำ 1 ล. แบ่งรับประทานวันละ 5 มล. เป็นเวลา 2 เดือน มีผลระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญ จาก 125±12 มก/ดล. เหลือ 120±9 มก./ดล. โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงนี้กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก (11)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
สารสกัดน้ำจากใบสะเดามีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อป้อนสารสกัดน้ำขนาด 150, 300 และ 600 มก./กก.น้ำหนักตัว เป็นเวลา 7 วัน ให้แก่หนูแรทที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเชื้อ H. pylori ใส่ชื่อเต็ม ยาแอสไพริน และความเครียดจากการได้รับความเย็น พบว่าสารสกัดทั้งสามสามารถลดขนาดของแผล (ulcer index) และยับยั้งการเกิดแผล (percentage inhibition) ได้ในทุกโมเดล โดยฤทธิ์จะเพิ่มขึ้นตามขนาดของสารสกัดที่ใช้ และสารสกัดน้ำที่ขนาด 600 มก./กก. น้ำหนักตัว สามารถลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และเพิ่มระดับ pH ในกระเพาะอาหารให้สูงขึ้นเทียบเท่ากับกลุ่มที่ได้รับยาแผนปัจจุบัน ranitidine ขนาด 20 มก./กก.น้ำหนักตัว (12)
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
มีรายงานว่าดอกและใบสะเดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เนื่องจากสารสกัดน้ำจากใบสะเดา (5) และสาร meliacinolin ซึ่งพบในใบสะเดา (5) สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยน้ำตาล คือ α-amylase และ α-glucosidase และมีผลกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน (14) เป็นผลทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง
การศึกษาเปรียบเทียบผลของสารสกัดเอทานอลจากดอกและใบสะเดาในการลดน้ำตาลในเลือดของหนูปกติ โดยป้อนสารสกัดที่ขนาด 100 มก./กก.น้ำหนักตัว ก่อนการทดสอบด้วยการป้อนน้ำตาลกลูโคส พบว่าสารสกัดจากดอกและใบสะเดาออกฤทธิ์ลดน้ำตาลอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ชั่วโมงที่ 2 หลังการป้อน และสารสกัดจากส่วนใบให้ฤทธิ์ลดน้ำตาลได้มากกว่าสารสกัดจากส่วนดอก (15) การทดสอบป้อนสารสกัดเอทานอลจากใบสะเดา วันละ 500 มก./กก.น้ำหนักตัว เป็นเวลา 50 วัน ให้แก่หนูแรทที่เป็นเบาหวานจากการเหนี่ยวนำด้วย streptozotocin (STZ) ให้ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ใกล้เคียงกับกลุ่มที่ฉีดยาเบาหวาน glibenclamide 600 มคก./กก.น้ำหนักตัว ระดับน้ำตาลกลับสู่ค่าปกติได้ตั้งแต่สองสัปดาห์หลังการป้อน และใบสะเดายังออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันความเสียหายของเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของหนูแรทที่เป็นเบาหวาน (16) สารสกัด 90% เอทานอลจากใบสะเดา ขนาด 1 ก./กก.น้ำหนักตัว ให้ผลลดระดับน้ำตาลทั้งในหนูแรทปกติ และหนูแรทที่เป็นเบาหวานจากการเหนี่ยวนำด้วย alloxan ลง 36.91% และ 30.20% ตามลำดับ (17)
เมื่อป้อนสาร meliacinolin ที่แยกได้จากสารสกัดคลอโรฟอร์มจากใบสะเดา ขนาด 10-30 มก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลา 28 วัน ให้แก่หนูแรทปกติและหนูแรทที่เป็นเบาหวานจากเหนี่ยวนำด้วย STZ เปรียบเทียบกับการป้อนด้วยยา glibenclamide 4 มก./กก.น้ำหนักตัว สาร meliacinolin ทั้งสามขนาดสามารถน้ำตาลในเลือดทั้งในหนูปกติและหนูที่เป็นเบาหวานได้ และที่ขนาด 30 มก./กก จะให้ประสิทธิภาพลดน้ำตาลในหนูเบาหวานใกล้เคียงกับการใช้ยา glibenclamide โดยพบว่าสาร meliacinolin ช่วยเพิ่มปริมาณไกลโคเจนสะสมในตับ เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ glucosekinase และ hexokinase ในตับ และลดการทำงานของเอนไซม์ glucose-6-phosphatase ซึ่งเป็นค่าที่เปลี่ยนแปลงไปจากภาวะเบาหวานให้กลับสู่ระดับปกติ ร่วมกับกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน เป็นผลให้น้ำตาลในเลือดลดลง (13)
นอกจากช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังมีรายงานว่าสารสกัดน้ำจากใบสะเดายังมีผลป้องกันการเกิดเบาหวานได้ เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากใบสะเดา ขนาด 500 มก./กก.น้ำหนักตัว ที่เวลา 2 สัปดาห์ก่อนการเหนี่ยวนำให้กระต่ายเกิดภาวะเบาหวานด้วย alloxan สามารถชะลอการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ป้อนด้วยน้ำเปล่า และการป้อนสารสกัดน้ำใบสะเดาต่อเนื่องไปอีก 4 สัปดาห์ หลังการเกิดเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับหนูปกติ และให้ฤทธิ์เทียบเท่าการฉีดยา glibenclamide 40 มคก/กก.น้ำหนักตัว (18)
6. อาการข้างเคียง
ยังไม่มีรายงาน
7. การทดสอบความเป็นพิษ
รายงานความเป็นพิษ
การทดสอบความเป็นพิษ
การทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของสารสกัดเมทานอลจากส่วนดอก โดยป้อนให้หนูกินที่ขนาด 6, 9 และ 12 ก./กก. น้ำหนักตัว พบขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 12 ก./กก.น้ำหนักตัว (19) การทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง เมื่อป้อนสารสกัดเอทานอลจากดอก ขนาด 150, 750 และ 1,500 มก./กก. เป็นระยะเวลา 90 วัน ไม่พบความผิดปกติของค่าชีวเคมีและอวัยวะภายใน แต่ระดับของ alkaline phosphatase, creatinine และ potassium ion ในสัตว์ทดลองเพศเมียมีแนวโน้มต่ำกว่าค่าปกติ แต่ไม่ถึงนัยสำคัญทางสถิติ (19)
เมื่อให้สารสกัดน้ำจากใบสะเดาโดยการฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูแรท มีค่า LD50 เท่ากับ 6.2 มล./กก.น้ำหนักตัว ตามลำดับ (20) เมื่อให้สารสกัดจากใบสะเดาด้วย 70% เอทานอลทางสายยางสู่กระเพาะอาหารของหนูเม้าส์ พบค่า LD50 เท่ากับ 13 ก./กก. (21) ป้อนสารสกัดเอทานอลจากใบ ขนาด 2 ก./กก.น้ำหนักตัว ให้แก่หนูแรท ไม่ก่อให้เกิดแบบแบบเฉียบพลันและไม่พบความเป็นพิษเมื่อสังเกตอาการต่อเนื่องอีก 14 วัน (22)
8. วิธีการใช้
8.1 ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)
ยอดและดอกสะเดาลวกหรือต้ม รับประทานร่วมกับน้ำปลาหวาน จะช่วยเจริญอาหารได้
8.2 ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ไม่มี
เอกสารอ้างอิง
1. นันทวัน บุณยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. หนังสือสมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม 4. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด, 2543: 740 หน้า.
2. สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน. หนังสือสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2541: 176 หน้า.
3. Sadeghian MM, Mortazaienezhad F. Investigation of compounds from Azadirachta indica (Neem). Asian J Plant Sci. 2007;6:444-5.
4. Siddiqui BS, Ali ST, Kashif S. A new flavonoid from the flowers of Azadirachta indica. J Nat Prod Res. 2006;20(3):2415.
5. Perez-Gutierrez RM, Damian-Guzman M. Meliacinolin: a potent α-glucosidase and α-amylase inhibitor isolated from Azadirachta indica leaves and in vivo antidiabetic property in streptozotocin-nicotinamide-induced type 2 diabetes in mice. Biol Pharm Bull. 2012;35(9):1516-24.
6. Heyman L, Houri-Haddad Y, Heyman SN, Ginsburg I, Gleitman Y, Feuerstein O. Combined antioxidant effects of Neem extract, bacteria, red blood cells and lysozyme: possible relation to periodontal disease. BMC Complement Altern Med. 2017;17(1):399-46.
7. Lekshmi P, Sowmia N, Viveka S, Raja BJ, Jeeva S. The inhibiting effect of Azadirachta indica against dental pathogens. Asian J Plant Sci Res. 2012;2(1):6-10.
8. Botelho MA, Santos RA, Martins JG, et al. Efficacy of a mouthrinse based on leaves of the neem tree (Azadirachta indica) in the treatment of patients with chronic gingivitis: a double‐blind, randomized, controlled trial. J Med Plant Res. 2018;2(11): 3416.
9. Chatterjee A, Saluja M, Singh N, Kandwal A. To evaluate the antigingivitis and antipalque effect of an Azadirachta indica (neem) mouth rinse on plaque induced gingivitis: a doubleblind, randomized, controlled trial. J Indian Soc Periodontol. 2011;15(4):398401.
10. Pai MR, Acharya LD, Udupa N. Evaluation of antiplaque activity of Azadirachta indica leaf extract gel a 6week clinical study. J Ethnopharmacol. 2004;90(1):99103.
11. Dineshkumar B, Analava M, Manjunatha M. Antidiabetic and hypolipidaemic effects of few common plants extract in type 2 diabetic patients at Bengal. Int J Diabetes Metab. 2010;18:5965.
12. Bhajonia PS, Meshrama GG, Lahkarb M. Evaluation of the antiulcer activity of the leaves of Azadirachta indica: an experimental study. Integr Med Int. 2017;3:106.
13. Kazeem MI, Dansu TV, Adeola SA. Inhibitory effect of Azadirachta indica A. Juss leaf extract on the activities of α-amylase and α-glucosidase. Pak J Biol Sci. 2013;16:1358-62.
14. Chattopadhyay RR. Possible mechanism of antihyperglycemic effect of Azadirachta indica leaf extract, part IV. Gen Pharmacol. 1996;27:4314.
15. Jayasree T, Ubedulla S, Vinay M, et al. Evaluation and comparison of hypoglycemic activity of ethanol extract of neem flower with leaves in Wistar albino rats. IJBR. 2013;2(6):12731.
16. Akinola OB, Martins C, Dini L. Chronic treatment with ethanolic extract of the leaves of Azadirachta indica ameliorates lesions of pancreatic islets in streptozotocin diabetes. Int J Morphol. 2010;28(1):291302.
17. Akter R, MahabubUzZaman M, Rahman MS. Comparative studies on antidiabetic effect with phytochemical screening of Azadirachta indica and Andrographis paniculata. IOSR J Pharm Biol Sci. 2013;5(2):1228.
18. Khosla P, Bhanwra S, Singh J, Seth S, Srivastva RK. A study of hypoglycemic effect of Azairachta indica in normal and alloxan diabetic rabbits. Indian J Pharmacol. 2000;4(1):6974.
19. Kupradinun P, Tepsuwan A, Tanthasri N, et al. Toxicity testing of flowers of neem tree (Azadirachta indica A. Juss). Thai J Vet Med. 2010;40(1):4755.
20. Bakr SA. Evaluation of acute toxicity of water extract of Azadirachta indica leaves and seeds in rats. Pak J Biol Sci. 2013;16(14):697700.
21. Okpanyi SN, Ezeukwu GC. Anti-inflammatory and antipyretic activities of Azadirachta indica. Planta Med. 1981;41:34-39.
22. Kanagasanthosh K, Shanmugapriyan S, Kavirajan V. Evaluation of acute toxicity, anti‐inflammatory activity and phytochemical screening of ethanolic extract of Azadirachta indica leaves. Int J Res Dev Pharm Life Sci. 2015;4(5), 173742.