ชะเอมเทศ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์         Glycyrrhiza  glabra   L.

วงศ์                              Fabaceae (Leguminosae)

ชื่อพ้อง                    -

ชื่ออื่นๆ                   Common licorice, Licorice, Russian licorice, Spanish licorice

 

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

1. การทดสอบความเป็นพิษในมนุษย์

เมื่อนำสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศ ไปใช้เป็นยาระบายในคน  พบ 5 ราย เกิดเป็นพิษโดยมีอาการความดันโลหิตสูง โดยระดับโพแทสเซียมไอออนเพิ่ม พลาสมาเรนินและระดับ aldosterone  ลดลง (1) นอกจากนี้คนที่รับประทานสารสกัดน้ำจากรากไม่ระบุขนาด พบว่ามีอาการความดันโลหิตสูง กระดูกจมูก ขากรรไกร นิ้วมือนิ้วเท้าโตกว่าปกติ (acromegaly) และมีอาการบวมน้ำร่วมด้วย (2) นอกจากนี้ยังพบรายงานอาการความดันโลหิตสูงเมื่อรับประทานรากชะเอมเทศ ได้แก่ หญิงรับประทานรากชะเอมเทศไม่ระบุขนาด (3) หญิงอายุ 40 ปี รับประทานรากชะเอมเทศ ขนาด 100 ก./วัน (4) คนไข้หญิงประวัติเป็นโรคเบื่ออาหาร (5) ชายอายุ 36 ปี รับประทาน ขนาด 25 ก./วัน นาน 1 เดือน (6) และเด็กชายอายุ 15 ปี รับประทานลูกอมที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบอยู่ 0.5 ก.  (7)  นอกจากนี้ยังมีรายงานความเป็นพิษของตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบโดยก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง   ได้แก่
หญิงรับประทานตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ขนาด 0.25 กก./วัน (8) และยังมีรายงานว่าหญิงรับประทานชาชงชะเอมเทศ ขนาด 3 ล./วัน มีอาการความดันโลหิตสูง (9)

รายงานความเป็นพิษอื่นๆ ได้แก่ ชายอายุ 15 ปี รับประทานรากชะเอมเทศขนาด 100-200 ก./วัน มีอาการกล้ามเนื้อไม่มีแรง (10) ผู้ที่รับประทานรากชะเอมเทศ (ไม่ระบุขนาด) พบความเป็นพิษต่อตับ (11) เมื่อรับประทานสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศ (ไม่ระบุขนาด) พบความเป็นพิษ (12) ผู้หญิงอายุระหว่าง 38-55 ปี รับประทานสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศ ขนาด 25-200 ก. ทุกวันเป็นเวลา 6 เดือนถึง 5 ปี พบความผิดปกติของ renin-angiotensin-aldosterone จากกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียโพแตสเซียมในกระดูก (13-14) หญิงอายุ 69 ปี รับประทานสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศขนาด 150 มก./วัน ติดต่อกันนาน 1 เดือน พบมีอาการ pseudoaldosteronism (15) คนไข้เพศชายรับประทานรากชะเอมเทศ ขนาด 150 มก./วัน มีอาการบวมน้ำที่ปอด หลังจากรับประทานติดต่อกันนาน 3 วัน (16) เด็กชายรับประทานรากชะเอมเทศ(ไม่ระบุขนาด) มีอาการ pseudohyper-aldosteronism (17) นอกจากนี้ มีรายงานว่าผู้ใช้มีอาการป่วยและตาย เมื่อรับประทานชะเอมเทศ (ไม่ระบุส่วนและขนาด) แต่เป็นเพียง review article (18) เมื่อให้ผู้ป่วย 31 คนรับประทานยาต้มจากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ขนาด 200 มล./วัน ไม่พบความเป็นพิษ (19) ผู้ที่รับประทานสารสกัดน้ำจากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ โดยมี glycyrrhizin อยู่ 48-58 % ขนาด 0.63 ก./กก. ให้นาน 90 วัน ไม่พบความเป็นพิษ เมื่อรับประทานขนาด 2.5 ก./กก. นาน 3 เดือน พบความเป็นพิษ แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดการใช้ (20) นอกจากนี้ยังมีหญิงอายุ 22 ปี รับประทานตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบแล้วมีผลต่อการทำงานของสมองส่วน cerebral ซึ่งทำให้มีอาการ ปวดหัว และอาเจียน (8) ผู้ที่รับประทานสารสกัดน้ำจากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ขนาด 45-75 ก. 4 รายเกิดอาการผิวหนังและซีรั่มสีจางลง (21)

2. การทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง

สารสกัดเอทานอล-น้ำ (1:1) จากราก ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าค่าที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 681 มก./กก. (22) และสารสกัดน้ำซึ่งมี glycyrrhizin อยู่ 48-58 % ฉีดเข้าช่องท้องหนูขาว หนูถีบจักร พบว่าค่าที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 1.5 ก./กก. เมื่อป้อนทางปากหนูขาว หนูถีบจักร พบว่าค่าที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 16 ก./กก. เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูขาว หนูถีบจักร พบว่าค่าที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 4.2 ก./กก.(20) อีกการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอล 30% จากราก ไม่ระบุขนาดป้อนให้ทางปากหนูถีบจักรพบว่า ค่าที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 32 มล./กก. (23) สารสกัดจากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าค่าที่ทำให้สัตว์ทดลองตายมากที่สุด (MLD) เท่ากับ 23.6 ก/กก (5) นอกจากนี้การทดสอบตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ทดสอบในหนูถีบจักรเพศผู้เพศเมีย พบว่าค่า LD50มากกว่า 5 ก./กก. (24) และสารสกัดเอทานอลจากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ทดลองในหนูถีบจักรพบว่าค่า LD50 เท่ากับ 1.8 ก./กก.(25)

3. พิษต่อตัวอ่อน

สารสกัดเอทานอล 40% จากราก ขนาด 1.6 มล./กก. ทดสอบในกระต่ายและหนูขาวที่ตั้งท้อง ไม่พบความเป็นพิษต่อตัวอ่อน นอกจากนี้การศึกษาความเป็นพิษ พบว่าเมื่อให้สารสกัดดังกล่าวเป็นเวลา 13 สัปดาห์ ไม่พบความเป็นพิษต่อทุกระบบ (26) ยังพบว่าสารสกัดเอทานอล 95% จากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ขนาด 250 มก./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนูขาวที่ท้อง พบความเป็นพิษต่อตัวอ่อนแต่ผลที่ได้ไม่แน่นอน (equivocal) (27) และสารสกัดไม่ระบุส่วน ขนาด 200 มก./กก. ทดสอบในหนูขาวและหนูถีบจักร ไม่พบความเป็นพิษต่อระบบต่างๆของร่างกาย (28) นอกจากนี้ยาชงจากรากชะเอมเทศ ไม่ระบุขนาด ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารสุนัขและหนูขาว ไม่พบความเป็นพิษ (29)

4. พิษต่อเซลล์

สารสกัดน้ำจากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ความเข้มข้น 250 มคก./มล. และ 500 มคก./มล. ทดสอบในการเพาะเลี้ยง CA-mamary-microalveolar  พบว่าความเข้มข้นขนาด 250 มคก. มีความเป็นพิษต่อเซลล์อย่างอ่อน ส่วนความเข้มข้น 500 มคก. ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ (14) นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดน้ำร้อนจากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ความเข้มข้น 500 มคล./มล. ทดสอบในการเพาะเลี้ยง cells-HE-1 ความเข้มข้น 250 มคล./มล. ทดสอบในการเพาะเลี้ยง  CA-JTC-26 พบว่าที่ความเข้มข้น 500 มคล. ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ส่วนความเข้มข้น 250 มคล. พบว่ามีพิษต่อเซลล์ (30)  อีกการทดลองหนึ่งพบว่าสารสกัดเอทานอล-น้ำ (1:1) จากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ขนาด 25 มคก./มล. ทดสอบในการเพาะเลี้ยง CA-9KB ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ (24) สารสกัดน้ำจากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ขนาด 2 มก./มล. ทดสอบในการเพาะเลี้ยง Hela cells ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ (31) สารสกัดน้ำ สารสกัดเมทานอล จากรากชะเอมเทศ ความเข้มข้น 100 มคก/มล. ทดสอบในการเพาะเลี้ยง Vero cells ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ (32) นอกจากนี้สารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศ ความเข้มข้น 10% (33) ความเข้มข้น 400 มคล./มล. (34) ทดสอบในการเพาะเลี้ยง Hela cells และ cell-MT2 ตามลำดับ ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ สารสกัดเมทานอลจากราก ทดสอบในการเพาะเลี้ยง Ishikava cells และ S-30 cells พบว่าค่า IC50 เท่ากับ มากกว่า 20 มคก./มล. แต่ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ (35)

5. ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

สารสกัดน้ำจากตำรับที่มีชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ ไม่ระบุความเข้มข้น ทดสอบในการเพาะเลี้ยง Salmonella typhimurium TA100, TA98 ไม่พบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์  (36)

 

เอกสารอ้างอิง

1.      Scali M, Pratesi C Zennaro MC, Zampollo V, Armanini D. Pseudohyperaldosteronism from liquorice-containing laxatives.  J Endocrinol Invest 1990;13(10):847-8.

2.      Taylor AA, Bartter FC.  Hypertension in licorice intoxication, acromegaly, and cushing's syndrome.  Hypertens Physiopathol Treat 1977;1977:755.

3.      Cumming AMM.  Metabolic effects of liquorice.  Brit Med J 1977;1977(1):906.

4.      Heikens J, Fliers E, Endert E, Ackermans M, Van montfrans G.  Liquorice-induced hypertension - a new understanding of an old disease: case report and brief review.  Neth J Med 1995;47(5):230-4.

5.      Ishikawa S, Kato M, Tokuda T, et al.  Licorice-induced hypokalemic myopathy and hypokalemic renal tubular damage in anorexia nervosa.  Int J Eat Disord 1999;26(1):111-4.

6.      Jimenez AB, Murillo LJ, Perez FJM, et al.  Acute rhadbomyolysis and tetraparesis secondary to hypokalemia due to licorice ingesta.  An Med Intern (Madrid) 1995;12(1):33-5.

7.      Van der zwan A.  Hypertension encephalopathy after liquorice ingestion.  Clin Neurol Neurosurg 1993;95(1):35-7.

8.      Dellow EL, Unwin RJ, Honour JW.  Pontefract cakes can be bad for you: refractory hypertension and liquorice excess.  Nephrol Dial Transplant 1999;14(1):218-20.

9.      Brouwers AJ, van der meulen j.  Licorice hypertension also caused by licorice tea.  Ned Tijdschr Geneeskd 2001(145):744-7.

10.  Caradonna P, Gentioloni N, Servidei S, Perrone GA, Greco AV, Russo MA.  Acute myopathy associated with chronic licorice ingestion: reversible loss of myoadenylated deaminase activity.  Ultrastruct Pathol 1992;16(5):529-35.

11.  Graham-brown R.  Toxicity of Chinese herbal remedies.  Lancet 1992;340(8820):673-4.

12.  Morgan JP.  The Jamaica ginger paralysis.  J Amer Med Ass 1982;248(15):1864-7.

13.  Epstein MT, Espiner EA, Donald RA, Hughes H.  Liquorice toxicity and the renin-angiotensin-aldosterone axis in man.  Brit Med J 1977;1977(1):209.

14.  Sato A.  Studies on anti-tumor activity of crude drugs. I. The effects of aqueous extracts of some crude drugs in shortterm screening test.  Yakugaku Zasshi 1989;109(6):407-23.

15.  Kageyama K, Watanobe H, Nishie M, Imamura KI, Suda T.  A case of pseudoaldosteronism induced by a mouth refresher containing licorice.  Endocrine J 997;44(4):631-2 .

16.  Chamberlain JJ, Abolink IZ.  Pulmonary edema following a licorice binge.  West J   Med 1997;167(3):184-5.

17.  Cataldo F, Di stefano P, Violante M, Traverso G, Mule M. Pseudohyperaldosteronism secondary to liquorice intoxication associated with haemorrhagic gastritis.  Ped Med Chir 1996;18(3):219-21.

18.  Lutomski J, Nieman C.  Liquorice, Glycyrrhiza glabra  L. - composition, uses and analysis.  Food chem 1990;38:119-43.

19.  Sheehan MP, Stevens H, Ostlere LS, Atherton DJ, Brostoff J, Rustin MH.  Follow-up of adult patients with atopic eczema treated with Chinese herbal therapy for 1 year.  Clin Exp Dermatol 1995;20(2):136-40.

20.  Komiyama K, Kawakubo Y, Fukushima T, et al.  Acute and subacute toxicity test on the extract from Glycyrrhiza.  Oyo Yakuri 1977;14:535-48.

21.  Anttila VJ, Makela JP, Soininen K, Helminen V, Tenhunen R.  Discolouration of skin and serum after sweet ingestion.  Lancet 1993;341(8858):1476-7.

22.  Aswal BS, Bhakuni DS, Goel AK, Kar K, Mehrotra BN, Mukherjee KC.  Screening of Indian plants for biological activity: part X.  Indian J Exp Biol 1984;22(6):312-32.

23.  Leslie GB.  A pharmacometric evaluation of nine bio-strath herbal remedies.  Medita 1978;8(10): 3-19.

24.  สุจิตรา ทองประดิษฐ์ ยุวดี วงษ์กระจ่าง วิสุดา สุวิทยาวัฒน์ จรุงจันทร์ กิจผาติ.  การศึกษาความเป็นพิษของยาหอม.  วารสารสมุนไพร 2542;6(1):1-10.

25.  Jagetia GC, Baliga MS, Aruna R, Rajanikant GK, Jain V.  Effect of abana (a herbal preparation) on the radiation-induced mortality in mice.  J Ethnopharmacol 2003;86:159-65.

26.  Leslie GB, Salmon G.  Repeated dose toxicity studies and reproductive studies on nine bio-strath herbal remedies.  Swiss Med 1979;1(1/2):1-3.

27.  Chaturvedi GN, Mahadeo P, Agrawal AK, Gupta JP.  Some clinical and experimental studies on whole root of Glycyrrhiza glabra Linn. (yashtimadhu) in peptic ulcer.  Indian Med Gaz 1979;113:200-5.

28.  Tsurumi K, Fujimura H.  Change of purgative activity and subacute toxicity by successive administration of cathartic preparation (dk-ext) made from water extract of rhubarb and licorice.  Oyo Yakuri 1975;10(2):329-41.

29.  Ubasheev IO, Lonshakova KS, Matkhanov EI, Azhunova TA, Tolmacheva EL, Strubinova VN.  Cellular-molecular assessment of toxicity and embryotoxicity of cholagogic herbal tea.  Khim Farm ZH 1988;22(4):445-50.

30.  Sato A. Cancer chemotherapy with oriental medicine. I.  Antitumor activity of crude drugs with human tissue cultures in in vitro screening.  Int J Orient Med 1990;15(4):171-83.

31.  Badam L.  In vitro antiviral activity of indigenous glycyrrhizin, licorice and glycyrrhizic acid (sigma) on Japanese encephalitis virus.  J Commun Dis 1997;29(2):91-9.

32.  Hattori M, Nakabayashi T,: Lim YA, et al.  Inhibitory effects of various ayurvedic and Panamanian medicinal plants on the infection of Herpes simplex virus-1 in vitro and in vivo.  Phytother Res 1995;9(4):270-6.

33.  May G, Milluhn G.  Antiviral activity of aqueous extracts from medicinal plants in tissue cultures.  Arzneim-forsch 1978;28(1):1-7.

34.  Bedoya LM, Palomino SS, Abad MJ, Bermejo P, Alcami J.  Screening of selected plant extracts for in vitro inhibitory activity on human immunodeficiency virus.  Phytother Res 2002;16(6): 550-4.

35.  Liu J, Burdette JE, Xu H, Gu C, et al.  Evaluation of estrogenic activity of plant extracts for the potential treatment of menopausal symptoms.  J Agr Food Chem 2001;49(5):2472-9.

36.  Sakai Y, Nagase H, Ose Y, Sato T, Kawai M, Mizuno M.  Effects of medicinal plant extracts from Chinese herbal medicines on the mutagenic activity of benzo[a]pyrene.  Mutat Res 1988;206(3):327-34.