มันแกว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pachyrrhizus erosus Urban
วงศ์ Fabaceae
ชื่ออื่น ๆ เครือเขาขน ถั้วบ้ง ถั่วกินหัว ละแวก มันแกวลาว มันละแวก มันลาว Jicama, Yam bean
ลักษณะของพืช ไม้เถาเลื้อยพัน มีหัวใต้ดินเป็นรากสะสมอาหาร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ดอกช่อกระจะออกเดี่ยว ๆ ที่ซอกใบ มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน แบน มีขน เมล็ดมี 4-9 เมล็ด มันแกวมีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง แต่ในปัจจุบันแพร่หลายไปในเขตร้อน เช่น อินโดจีน อินโดนีเซีย จีน เป็นต้น
ส่วนที่เป็นพิษ เมล็ด ใบ
สารพิษที่พบ เมล็ดมีสารพิษ ได้แก่ pachyrrhizin, pachyrrhizone, 12-(A)-hydroxypachyrrhizone, dehydropachyrrhizone, dolineone, erosenone, erosin, erosone, neodehydrorautenone, 12-(A)-hydroxylineonone, 12-(A)-hydroxymunduserone, rotenone นอกจากนี้ยังมีสารซาโปนิน ได้แก่ pachysaponins A และ B ซึ่งละลายน้ำได้ และเป็นพิษต่อปลาทำให้ปลาตาย ส่วนใบของมันแกวมีสารพิษคือ pachyrrhizid ซึ่งมีพิษต่อโคและกระบือมากกว่าม้า
อาการพิษ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ้าได้รับสารพิษมาก อาการจะรุนแรงขึ้นโดยจะมีผลต่อระบบการหายใจ คือ หยุดหายใจ ชัก และถึงแก่ชีวิตได้
ตัวอย่างผู้ป่วย - ผู้ป่วยชายไทย อายุ 28 ปี รับประทานเมล็ดมันแกวเข้าไป 200 กรัม เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่า เป็นเมล็ดถั่วที่รับประทานได้ หลังรับประทานไปได้ 2 ชั่วโมง มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย อ่อนเพลีย และไม่สามารถก้าวเดินได้ จากนั้นไม่รู้สึกตัว หน้าซีด เริ่มมีอาการชัก กระตุกที่มือและเท้า ไม่สามารถควบคุมระบบทางเดินปัสสาวะได้ ท้องเสีย และได้เสียชีวิตหลังจากที่รับประทานไปประมาณ 11 ชั่วโมง
การรักษา รักษาตามอาการต่าง ๆ เช่น ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ช็อค ต้องรีบช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้ด้วยตัวเองหรือใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือเพื่อรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ให้ยาตามความเหมาะสมตามแพทย์ที่ทำการรักษา
บรรณานุกรม - นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. พืชพิษ (Poisonous Plants). ใน รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล และคณะ (บรรณาธิการ). สมุนไพร: ยาไทยที่ควรรู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ๊งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2542.
- นันทวัน บุณยะประภัศร อรนุช โชคชัยเจริญพร (บรรณาธิการ). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน จำกัด, 2542.
- ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน จำกัด, 2544.
- Chin SF, Lin LS, Hu C. Toxicity studies of insecticidal plants in Southwestern China. Coll Agr Nat Sun yat-Sen Univ 1944:56.
- Kalra AJ, Krishnamurti M, Nath M. Chemical investigation of Indian yam beans (Pachyrrhizus erosus) isolation and structures of two new rotenoids and a new isoflavanone erosenone. Indian J Chem 1977;15B:1084-6.
- Krishnamurti M, Sambhy YR, Seshadri TR. Chemical study of Indian yam beans (Pachyrrhizus erosus). Isolation of two new rotenoids: 12-(A)-hydroxydolineone and 12-(A)-hydroxypachyrrhizone. Tetrahedron 1970;26:3023-7.
- Lampe KF, Fagerstram R. Plant toxicity and dermatitis: A manual for physicians. Baltimore: Williams&Wilkins Company, 1968.
- Norton LB. Rotenone in the yam bean (Pachyrrhizus erosus). J Amer Chem Soc 1943;65:2259.
- The Wealth of India. A Dictionary of Indian Raw Materials and Industrial Products. Vol. VII. New Delhi: Publication & Information Directorate, CSIR, 1966.
- Viboolchareon S. The study of pharmacology and toxicology of yam beans seed extraction Pachyrrhizus erosus Urban. (P. angulata). MS. Thesis Chulalongkorn Univ 1976:60 pp.
- Zhang YG, Huang GZ. Poisoning by toxic plants in China report of 19 autopsy cases. Amer J Forensic Med Pathol 1988;9(4):313-9.