1.  ชื่อสมุนไพร           เล็บมือนาง

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Quisqualis indica L.

          ชื่อวงศ์           COMBRETACEAE

          ชื่อพ้อง           Kleinia quadricolor  Crantz

                   Quisqualis glabra  Burm.f.

                   Quisqualis pubescens  Burm.f.

                   Quisqualis spinosa  Naves ex F. Villar

                   Quisqualis loureiri  G. Don

                   Quisqualis sinensis  Lindl.

                   Quisqualis grandiflora  Miq.

                   Quisqualis longiflora  C. Presl

                   Quisqualis obovata  Schumach. & Thonn.

                   Quisqualis villosa  Roxb.

ชื่ออังกฤษ        Rangoon creeper, Chinese honeysuckle, Drunken sailor

          ชื่อท้องถิ่น        จะมั่ง  จ๊ามัง ไท้หม่อง  มะจีมั่ง  อะดอนิ่ง

 

2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้เถาเนื้อแข็ง กิ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว แตกออกเรียงตรงข้าม มีรูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลม  ดอกออกเป็นช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ใบประดับรูปใบหอกปลายเรียวแหลมหรือรูปวงรี ดอกมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีสีเขียว โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว กลีบดอกเป็นรูปขอบขนาน เมื่อแรกจะเป็นสีขาวและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ผลแห้ง รูปไข่แกมวงรี สีน้ำตาลเข้ม มี 5 พู

 

3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          - เมล็ด            ช่วยถ่ายพยาธิ

 

4. สารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์

สารสำคัญที่มี คือ quisqualic acid มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิไส้เดือน

 

5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          5.1   ฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือนและสารสำคัญในการออกฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือน

       จากการทดสอบในหลอดทดลอง พบว่าผลดิบหรือผลคั่ว และกัมไม่สามารถฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ (1) สารสกัดด้วยน้ำจากผล ความเข้มข้น 500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร   ไม่มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิลำไส้ (Blastocystis hominis) แต่ที่ความเข้มข้น 1,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จะมีฤทธิ์ยับยั้งพยาธิลำไส้ได้ปานกลาง (2) ในประเทศจีนมีการใช้เล็บมือนางแทน santonin ในยาชื่อว่า Shih-Chiin-Tzu (3-5) น้ำมันเล็บมือนางมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายพยาธิอย่างแรง (6) มีสารที่พบในน้ำมันคือ quisqualic acid มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิไส้เดือน โดยขนาดที่ฆ่าพยาธิ Ascaris suum ได้คือ 1/1500 กรัม/มิลลิลิตร (7)

 

6.  อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ

       จากรายงานการทดสอบความเป็นพิษของสาร quisqualic acid ในสัตว์ทดลอง พบว่าการฉีด quisqualic acid เข้าสู่สมองบริเวณ limbic lobe ของหนู (8-10) และ แมว (11, 12) ทำให้สัตว์ชักและแพ้ได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้ยากันชัก pentobarbital ฉีดเข้าช่องท้อง ในขนาดสูงกว่าขนาดรักษา แต่แก้ไม่ได้ด้วยยากันชัก diazepam (13) ส่วนการฉีด quisqualic acid เข้าสู่สมองบริเวณ striatum ของหนูอายุ 7 วัน จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย ส่งผลให้ สมองส่วน striatum และ hippocampus เล็กลง (14) นอกจากนั้น quisqualic acid ยังทำให้เกิดการตาย (necrosis) ของเซลล์ glioma ของหนูที่ใช้เพื่อทดสอบความเป็นพิษ (15) อย่างไรก็ตามพิษดังกล่าวข้างต้นของ quisqualic acid จะเกิดขึ้นเมื่อฉีดเข้าตรงบริเวณประสาทโดยตรงเท่านั้น และควรมีการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป

          7.2   ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

       สารสกัดจากผลด้วยเอทานอล หรือน้ำเมื่อเอาสาร histidine ออก พบว่าม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์เมื่อใช้สารสกัดขนาดเข้มข้น 50 มิลลิกรัม/จานทดสอบของเชื้อ (16)

 

8. วิธีการใช้

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

     ใช้รักษาโรคพยาธิไส้เดือน สำหรับเด็กใช้เมล็ด 2-3 เมล็ด (ประมาณ 4-5 กรัม) ผู้ใหญ่ 5-7 เมล็ด (ประมาณ 10-15 กรัม) บุบพอแตก ต้มเอาน้ำดื่ม (17)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

1.       Chen KK, Hou H. The alleged anthelmintic property of Quisqualis indica with case reports. Am J Med Sci 1926;172(1):113-6.

2.       Yang LQ, Singh M, Yap EH, Ng GC, Xu HX, Sim KY. In vitro response of Blastocystis hominis against traditional Chinese medicine. J Ethnopharmacol 1996;55:35-42.

3.       Devenport GJ. Quisqualis indica, a substitute for santonin. Shanghia China Med J 1981;32:133.

4.       Wu KM. Chemical analysis of and animal experimentation on Quisqualis indica. Nat Med J China 1962;12:161-70.

5.       Kiang PC. Chinese drugs of therapeutic value to western physicians. China Med J 1923;37:742-6.

6.       Brill HC, Wells AH. The physiological active constituents of certain Philippine medicinal plants II. Philippine J Sci 1971;2:16-95.

7.       Ishizaki T, Kato K, Kumada M, et al. Effect of quisqualic acid upon Ascaris suum in vitro in comparison with those of kainic acid, alpha-allokainic acid and pyrantel palmoate. Japan J Parasitol 1973;22(4):181-6.

8.       Zaczek R, Koller K, Cotter R, Heller D, Coyle JT. N-acetylaspartylglutamate: An endogenous peptide with high affinity for a brain glutamate receptor. Proc Natl Acad Sci USA 1983;80(4):1116-9.

9.       Zaczek R, Coyle JT. Excitatory amino acid analogs: Neurotoxicity and seizures. Neuropharmacology 1982;21(1):15-26.

10.   Rondouin G, Lerner-Natoil M, Hashizume A. Wet dog shakes in limbic versus generalized seizures. Exp Neurol 1987;95(2):500-5.

11.   Kaijima M, Tanaka T, Yonemasu Y. Epileptogenic properties of quisqualic acid: microinjection into the unilateral amygdala in cats. Brain Nerve 1987;39(10):971-4.

12.   Funda H, Tanaka T, Kaijima M, Nakai H, Yonemasu Y. Quisqualic acid-induced hippocampal seizures in unanesthetized cats. Neurosci Lett 1985;59(1):53-60.

13.   Addae JI, Stone TW. Effects of anticonvulsants on responses to excitatory amino acids applyed topically to rat cerebral cortex. Gen Pharmacol 1988;19(3):455-62.

14.   Silverstein FS, Chen R, Johnston MV. The glutamate analogue, quisqualic acid in neurotoxic in stratum and hippocampus of immature rat brain. Neurosci Lett 1986;71(1):13-8.

15.   Kato S, Higashida H, Higuchi Y, Tatekenaka S, Negishi L. Sensitive and insensitive states of cultured glioma cells to glutamate damage. Brain Res 1984;303(2):365-74.

16.   Yamamoto H, Mizutani T, Nomura H. Studies on the mutagenicity of crude drug extracts I. Yakugaku Zasshi 1982;102:596-601.

17.   กองวิจัยทางการแพทย์สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1.  กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข, 2526.