1.  ชื่อสมุนไพร           ขมิ้น

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn.

          ชื่อวงศ์           ZINGIBERACEAE

          ชื่อพ้อง           Curcuma domestica Valeton

          ชื่ออังกฤษ        Turmeric

          ชื่อท้องถิ่น        ขมิ้นแกง  ขมิ้นชัน  ขมิ้นหยอก  ขมิ้นหัว  ขี้มิ้น  ตายอ  สะยอ หมิ้น

 

2.  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอม ใบออกเป็นรัศมีติดผิวดิน รูปหอกแกมขอบขนาน ดอกออกเป็นช่อ ทรงกระบอก แทงออกจากเหง้า  มีใบประดับรูปหอก  สีเขียวอ่อนหรือสีขาว เรียงซ้อนกัน รองรับดอกย่อยแต่ละดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาวปลายแยกเป็น 3 แฉก เกสรเพศผู้ลักษณะคล้ายกลีบดอก ยอดเกสรเพศเมียรูปปากแตร รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 ใบ

 

3.  ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          - เหง้าใต้ดินบดเป็นผง     รักษาแผล แมลงกัดต่อย กลากเกลื้อน ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร    รักษาอาการท้องเสีย

 

4.  สารสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสารออกฤทธิ์ หรือสารที่ใช้ประเมินคุณภาพของสมุนไพร

          ag-turmerone, curcumin และอนุพันธ์ของ curcumin เป็นสารออกฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

 

5.  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          5.1   ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลและสมานแผลในกระเพาะอาหาร และฤทธิ์อื่นๆ ต่อระบบทางเดินอาหาร

                 ขมิ้นมีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร โดยเร่งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น กระตุ้นการหลั่ง mucin มาเคลือบกระเพาะอาหารและยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลจาก ag-turmerone และ curcumin (1-3) การทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องจากแผลในกระเพาะอาหารให้ผลการรักษาเทียบเท่ายาลดกรด (ซึ่งมีตัวยา magnesium trisilicate) (4)

                 การทดลองในผู้ป่วยแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้  มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแผล 0.5-1.5 เซนติเมตร ซึ่งมีอาการปวดท้องและอาการอื่นที่แสดงถึงภาวะแผลเปื่อยในกระเพาะอาหารและ/หรือลำไส้เล็ก จำนวน 10 คน ให้รับประทานขมิ้นแคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง 3 มื้อ และก่อนนอน ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เมื่อทำการติดตามผลโดยการส่องกล้องในสัปดาห์ที่ 0, 4, 8 และ 12 สัปดาห์หลังจากเริ่มรักษา มีผู้ป่วยที่มีแผลหาย 7 ราย (70%) โดยแผลหายภายใน 4 สัปดาห์ 5 ราย (50%) แผลหายภายใน 8 สัปดาห์ 1 ราย (10%) และแผลหายภายใน 12 สัปดาห์ 1 ราย (10%) (5)

                 อีกการทดลองทางคลินิก โดยให้ผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcer, GU) จำนวน 5 ราย และแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcer, DU) จำนวน 20 ราย รับประทานยาแคปซูลขมิ้นขนาด 300 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 5 ครั้ง โดยรับประทานก่อนอาหาร 0.5-1 ชั่วโมง 3 มื้อ เวลา 16.00 น. และก่อนนอน ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วย 12 ราย (DU 9 ราย และ GU 3 ราย) จาก 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 48 มีแผลหายภายใน 4 สัปดาห์  ผู้ป่วย 18 ราย (DU 13 ราย และ GU 5 ราย) คิดเป็นร้อยละ 72 มีแผลหายภายใน 8 สัปดาห์ และผู้ป่วย 19 ราย (DU 14 ราย และ GU 5 ราย) คิดเป็นร้อยละ 76 มีแผลหายภายใน 12 สัปดาห์ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่แผลหายแล้วจะไม่กลับมาเป็นแผลอีก (6)

                 มีการศึกษาถึงผลของขมิ้นต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหารอีกมากมาย พบว่าขมิ้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ (7) ฤทธิ์ขับน้ำดี (8-20) ฤทธิ์ลดอาการแน่นจุกเสียด (21-22) และฤทธิ์รักษาอาการท้องเสีย (23-24)

          5.2   ฤทธิ์ลดการอักเสบ

                 การศึกษาแบบสุ่ม ปกปิดสองฝ่ายเทียบกับยาหลอกและทดลองให้ยาแบบสลับกลุ่มกัน (randomized, double-blind, placebo controlled, cross-over study) ในผู้ป่วยข้อกระดูกอักเสบเรื้อรังจำนวน 42 คน โดยใช้ยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของเหง้าขมิ้น 50 มิลลิกรัม/แคปซูล 650 มิลลิกรัม พบว่าการได้รับยาสมุนไพรดังกล่าวสามารถลดความเจ็บปวดที่รุนแรงได้ (25)

          5.3   ฤทธิ์ต้านการแพ้

                 สาร curcumin และสารสกัดด้วยเอทิลอะซีเตทมีฤทธิ์ต้านการแพ้ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสาร histamine (สารสื่อกลางที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้) เมื่อทดลองในหนูแรทและหนูเม้าส์ที่ถูกป้อนขมิ้นเข้าทางปากในขนาด 300 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม (26-28) นอกจากนี้ สารสกัดขมิ้นด้วยเอทิลอะซีเตทและบิวทานอลยังมีกลไกการออกฤทธิ์เหมือนยาต้านฮีสตามีน dimaprit ในหลอดทดลองอีกด้วย (29)

          5.4   ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ

                 ขมิ้นมีผลยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและสารพิษที่สร้างโดยแบคทีเรียหลายชนิดในหลอดทดลอง เช่น Staphylococci ซึ่งเป็นสาเหตุของหนอง (30-38) Samonella Shigella และ E.coli ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และ Streptococcus mutans ที่เป็นสาเหตุของฟันผุ (38-51) เมื่อให้ผู้ป่วยโรคกระเพาะที่ตรวจพบเชื้อ H. pyroli รับประทานขมิ้นชันวันละ 2 กรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าขมิ้นไม่มีผล ฆ่าเชื้อดังกล่าว (52)

                 ขมิ้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังได้หลายชนิด (53-57) โดยเฉพาะในรูปน้ำมันหอมระเหยจะจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก เช่น Microsporum, Trichophyton และ Epidermophyton (58- 72) นอกจากฤทธิ์ต้านเชื้อราในคนแล้ว น้ำมันหอมระเหยจากใบและเหง้าขมิ้น ยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคราในข้าว 5 ชนิด คือ Rhizoctonia solani, Trichochonis padwickii, Helminthosporium oryzae, Fusarium moniliforme และ Curvularia lunata โดยน้ำมันจากใบจะมีฤทธิ์ดีกว่าน้ำมันจากเหง้า (73)

                 มีการทดลองพบว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1) ความเข้มข้น 125 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีผลฆ่าเชื้ออะมีบา (Entamoeba histolytica) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคบิด (74)

          5.5   ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ

                 สารสกัดของขมิ้นสามารถป้องกันการทำลายตับของหนูแรทจากยาพาราเซตามอล (75) D-galactosamine (76) เอทานอล (77) ได้จากผลการทดลองกับเซลล์ตับในหลอดทดลอง (78-80)

          5.6   ฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์และต้านการเป็นพิษต่อยีน

                 สารสกัดด้วยน้ำของขมิ้น สารสกัดด้วยน้ำของขมิ้นที่แยกเอาสาร curcumin ออก (81) สาร curcumin (82-84) สารสกัดด้วยเมทานอลของขมิ้น (85-86) และน้ำมันจากขมิ้นที่แยกเอา oleoresin ออก (87) มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ เมื่อทำการทดสอบในเชื้อแบคทีเรียและในหนูเม้าส์ สารในกลุ่ม phenolic จากขมิ้นมีฤทธิ์ป้องกันความเสียหายของสารพันธุกรรมเมื่อทำการศึกษาในเซลล์ lymphoblastoid TK6 ของมนุษย์ (88)

          5.7   ฤทธิ์สมานแผล

                 ผงขมิ้นที่นำมาผสมกับน้ำแล้วทาแผล พบว่าช่วยเร่งให้แผลที่ไม่ติดเชื้อของกระต่ายและหนูแรทหายได้ 23.3% และ 24.2% ตามลำดับ และสามารถเร่งให้แผลที่มีการติดเชื้อของหนูแรทหายได้ 26.2% (89)

                 ในการทดลองทางคลินิก โดยทายาสมุนไพรซึ่งมีขมิ้นเป็นส่วนประกอบที่ผิวหนัง พบว่ามีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวขึ้นใหม่ เมื่อทดลองใช้ขมิ้นในการรักษาแผลผุพองเปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะในผู้ป่วย 60 ราย แล้ว ติดตามดูแผลพุพองหลังการรักษา 21 วัน พบว่าผู้ป่วยทุกรายหายจากโรค และไม่พบภาวะแทรกซ้อนหรือข้อแตกต่างระหว่างการใช้ขมิ้นและยาปฏิชีวนะ (90)

                 มีการนำสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 ของขมิ้นมาเตรียมเป็นครีมป้ายปาก  แล้วทำการทดลองเพื่อสังเกตฤทธิ์ในการสมานแผล ในอาสาสมัคร 30 คน พบว่าครีมป้ายปากที่มีสารสกัดขมิ้นชัน 1% มีผลทำให้แผลในปากหายภายใน 1 สัปดาห์ (91)

          5.8   ฤทธิ์อื่นๆ

                 ขมิ้นมีโอกาสที่จะพัฒนาเพื่อใช้ในการรักษาโรค cystic fibrosis (92)  ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ (93-95) เป็นส่วนผสมในยาสีฟันเพื่อช่วยขจัดคราบบุหรี่และลดการอักเสบ (96) และใช้ผสมในยาจีนเพื่อการรักษาและป้องกันเนื้องอกและข้ออักเสบ (97) อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์เหล่านี้ยังต้องทำการศึกษาโดยละเอียดต่อไป

 

6.  อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ

                 ในการทดสอบความเป็นพิษด้วยสารสกัดขมิ้นชนิดต่างๆ พบว่ามีพิษปานกลางถึงมากเมื่อให้โดยการฉีด (98)  แต่เมื่อป้อนสาร curcumin แก่หนูเม้าส์พบว่ามีความเป็นพิษปานกลาง (99) สารสกัดขมิ้นมีผลต่ออวัยวะต่างๆ ได้แก่ น้ำหนักปอด หัวใจ อวัยวะสืบพันธุ์ อสุจิ เม็ดเลือด (100) ต่อมไทรอยด์ เซลล์บุผนังกระเพาะปัสสาวะ ไต ลำไส้ (101) ตลอดจนการกินอาหาร (102) ที่เปลี่ยนแปลงไป

จากการทดลองในคนทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 15 คนโดยให้รับประทานขมิ้นขนาด วันละ 2.2 กรัม เป็นเวลา 4 เดือนพบว่าไม่ทำให้เกิดพิษ (103)

          7.2   ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

                 เมื่อผสมขมิ้นร้อยละ 0.5 หรือ curcumin ร้อยละ 0.015 ลงในอาหารเพื่อให้หนูเม้าส์กิน  พบว่าไม่ทำให้โครงสร้างและจำนวนของโครโมโซมของไขกระดูกเปลี่ยนแปลงและไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์   เมื่อให้หนูขาวกินอาหารผสมขมิ้นร้อยละ 0.5 และ 0.05 ซึ่งทำให้สุก ก็ไม่พบพิษต่อโครโมโซมเช่นกัน (104)  การทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium และ Bacillus subtilis สายพันธุ์ต่างๆ พบว่าไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ (58, 105-109) ยกเว้นการทดลองที่ใช้สารสกัดขมิ้น ด้วยเอทานอลร้อยละ 95  พบว่ามีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ Salmonella typhimurium TA102 (110) และ S. typhimurium TA98 (111) ตามลำดับ

          7.3   ความเป็นพิษต่อตัวอ่อน

                 เมื่อให้หนูแรทเพศเมียกินสารสกัดขมิ้นด้วยเอทานอลร้อยละ 95 สารสกัดขมิ้นด้วยน้ำ และ สารสกัดขมิ้นด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ ในขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบความเป็นพิษต่อตัวอ่อน แต่เมื่อป้อนสารสกัดขมิ้นด้วยเอทานอลร้อยละ 95 สารสกัดขมิ้นด้วยน้ำ และสารสกัดขมิ้นด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ ขนาด 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัมแก่หนูแรทหรือกระต่ายเพศเมีย พบว่าไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อน (teratogenic) และเมื่อผสมรากขมิ้นลงไปในอาหารของหนูแรทเพศเมีย ขนาดร้อยละ 0.5 พบว่าไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนเช่นกัน (104, 112, 113)

          7.4   ความเป็นพิษต่อตับ

                 ในการศึกษาพิษกึ่งเรื้อรังในหนูเม้าส์และหนูแรทเพศเมีย โดยผสมผงขมิ้น (ร้อยละ 1, และ 5) และสารสกัดขมิ้นด้วยเอทานอลร้อยละ 95 (ความเข้มข้นร้อยละ 0.05% และ 0.25% ) ในอาหารแล้วให้หนูกิน 14 และ/หรือ 90 วัน พบว่าหนูเม้าส์และหนูแรท ที่ได้รับผงขมิ้นในขนาด 5% เป็นระยะเวลา 90 วัน จะมีน้ำหนักตัวและน้ำหนักตับลดลง และมีเซลล์ของตับตาย  หนูที่ได้รับผงขมิ้นในขนาดร้อยละ 0.2 หรือร้อยละ 1 เป็นระยะเวลา 14 วัน พบพิษต่อตับ โดยพบความเป็นพิษดังกล่าวในหนูเม้าส์มากกว่าในหนูแรท ส่วนสารสกัดขมิ้นด้วยเอทานอลร้อยละ 95  ในขนาดที่ให้ ไม่พบความเป็นพิษ (114)

                 การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของผงขมิ้นในหนูแรท พบความเป็นพิษน้อย การทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง โดยการป้อนหนูแรทด้วยผงขมิ้นขนาด 500 และ 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 28 วัน พบว่าค่าต่างๆ ในเลือดซึ่งแสดงถึงการทำงานของตับที่ผิดปกติมีค่ามากขึ้น แต่การได้รับผงขมิ้นในขนาด 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 28 วัน ไม่พบความเป็นพิษที่รุนแรงในหนูแรท (115)

                 การทดสอบความเป็นพิษของสารในกลุ่ม curcuminoids จากขมิ้นเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าหนูแรทในกลุ่มที่ได้รับการป้อนยาแขวนตะกอน curcuminoids ขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน มีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับ tragacanth ซึ่งเป็นส่วนประกอบของยาแขวนตะกอน และไม่ทำให้เกิดความเป็นแปลงค่าทางโลหิต ที่มีความสัมพัทธ์กับขนาดที่ใช้ และในหนูแรทกลุ่มที่ได้รับการป้อนยาแขวนตะกอน curcuminoids ขนาด 250 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน พบว่ามีน้ำหนักตัว น้ำหนักสัมพัทธ์ของตับ และระดับ alkaline phosphatase (ALP) สูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่ยังอยู่ในช่วงปกติ จากผลการศึกษาทำให้สรุปได้ว่า การที่หนูได้รับ curcuminoids ในขนาดที่ให้ผลทางการรักษาคือ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ และการให้ curcuminoids ขนาดสูงอาจมีผลต่อการทำงานและโครงสร้างของตับ แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงที่กลับเป็นปกติใหม่ได้เมื่อหยุดใช้ curcuminoids (116)

                 ดังนั้นการรับประทานขมิ้นชั้นในขนาดสูงหรือรับประทานติดต่อเป็นเวลานานต้องตรวจการทำงานของตับอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากตับอาจทำงานผิดปกติได้

 

8. วิธีการใช้

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

          1.     ใช้รักษาแผล แมลงกัดต่อย โดยใช้ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ คนจนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง ใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผล หรืออาจตำจนละเอียดคั้นเอาน้ำใส่แผล โดยก่อนใส่แผลอาจผสมน้ำปูนใน สารส้มหรือดินประสิวเล็กน้อยก่อนพอกบริเวณที่เป็นแผล

          2.     ใช้รักษากลาก เกลื้อน โดยผสมผงขมิ้นกับน้ำ แล้วทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน 2 ครั้งต่อวัน (117, 118)

          3.     ใช้รักษาอาการท้องเสีย นำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งเล็กน้อยพอให้ผงยาจับเป็นก้อนได้   ปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานหลังอาหารและก่อนนอน ครั้งละ 3-5 เม็ด วันละ 3 เวลา ให้ได้ปริมาณผงขมิ้นชัน 1 กรัมต่อวัน (119)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                 รับประทานครั้งละ 2 – 4 แคปซูล (มีผงขมิ้นชัน 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม) วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน บรรเทาอาการจุดเสียด

 

 

เอกสารอ้างอิง

1.             Sinha M, Mukherjee BP, Mukherjee B, Sikdar S, Dasgupta SP. Study of the mechanism of action of curcumin: an antiulcer agent. Indian J Pharm 1975;7:98-9.

2.             Muderji B, Zaidi SH, Singh GB. Spices & Gastric Function: Part I - Effect of Curcuma longa on the gastric secretion in rabbits. J Sci Ind Res. 1981;20:25-8.

3.             Rafatullah S, Tariq M, Al-Yahya MA, Mossa JS, Ageel AM. Evaluation of turmeric (Curcuma Longa) for gastric and duodenal antiulcer activity in rats. J Ethnopharmacol 1999;29:25-34.

4.     อัญชลี อินทนนท์ สมเกียรติ เมธีวีรวงศ์ ประกาย วิบูลย์วิภา พยุงศรี เซียงตระกูล, บรรณาธิการรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการใช้ขมิ้นรักษาอาการปวดท้อง. โครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน กระทรวงสาธารณสุข (โดยความช่วยเหลือขององค์การยูนิเซฟ). สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, 2529. หน้า 7.

5.             Prucksunand C, Indrasukhsri B, Leethochawalit M, Nilvises N, Prijavudhi A, Wimolwattanapun S. Effect of the long turmeric (Curcuma longa Linn.) on healing of peptic ulcer: a preliminary report of 10 case study. Thai J Pharmacol 1986;8(3):139-51.

6.             Prucksunand C, Indrasukhsri B, Leethochawalit M, Hungspreugs K. Phase II clinical trial on effect of the long turmeric (Curcuma longa Linn.) on healing of peptic ulcer. Southeast Asian. J Trop Med Public Health 2001;32(1):208-15.

7.             Deitilhoff P, Petrowicz O, Muller B. Antidyspeptic properties of turmeric root extract (TRE). Phytomedicine 2000;7(S2):P71.

8.             Guttenberg A.Chemische and pharmakologische untersuchungen Uber rhizoma Curcuma magna. Z Ges Exptz Med 1927;54:642.

9.             Franquelo E. Active constituents of Curcuma (Temoelavac). Munch Med Wochchr 1933;80:524-6.

10.         Ramaprasad C, Sirsi M. Indian medicinal plants Curcuma longa-Effect of curcumin and the essential oil of C. longa on bile secretion. J Sci Ind Resb 1956;15C:262-5.

11.         Ramaprasad C, Sirsi M. Curcuma longa and bile secretion; quantitive changes in the bile constituents induced by sodium curcuminate. J Sci Industr Res 1957;16C:108-10.

12.         Jentzsch K, Gonda T, Holler H. Paper chromatography and pharmacological action of the pigments of Curcuma. Pharm Acta Helv 1959;34:195-9.

13.         Gorchakova NK, Grinkevich NI, Fogel AN. Curcuma longa L. as a source of bile-expelling drugs. Farmatsiya (Moscow) 1984;33(3):12-3.

14.         Grabe F. The choleretic activity of Curcuma domestica. Arch Exp Pathol Pharmcol 1934;176:673-82.

15.         Deters M, Siegers C, Muhl P, Hansel W. Choleretic effects of curcuminoids on an acute cyclosporin-induced cholestasis in rat. Planta Med 1999;65(7):610-3.

16.         Rumpel W. Zur pharmakologie des divanillal cyclohexanon (DVC). Arch Pharm 1954;287:350-2.

17.         Kalk H, Weitere experimentelle und klinische Untersuchungen über die gallentreibende Wirkung eines synthetisch gewonnenen Bestandteiles der Kurkuma. Deutsch Med Wochenschr 1942;68(20):502-6.

18.         Siegers CP, Deters M, Strubelt O, Hansel W. Choleretic properties of different curcuminoids in the rat bile-fistula model. Pharm Pharmacol Lett 1997;7(2/3):87-9.

19.         Bell GD, Clegg RJ, Cohu MR, et al. Terpene therapy for gallstone. Effects of individual terpenes on bile flow, bile composition and hepatic cholesterogenesis in the rat. Brit J Pharmacol 1981;721:104-6.

20.         Deters M, Klabunde T, Meyer H, Resch K, Kaever V. Effects of curcumin on cyclosporine-induced cholestasis and hypercholesterolemia and on cyclosporine metabolism in the rat. Planta Med 2003;69:337-43.

21.         Thamlikitkul V, Dechatiwongse T, Chantrakul C, et al. Randomized double blind study of Curcuma domestica Val. for dyspepsia. J Med Assoc Thai 1989;72(11):613-20.

22.         Ross MSF, Brain KK. An introduction to phytophasrmacy. London: Pithman Medical Publishing Co. Ltd., 1977. p.158-76.

23.         Shankar TNB, Murthy VS. Effect of turmeric (Curcuma longa) on the growth of some intestinal bacteria in vitro. J Food Sci Technol 1978;15(4):152-3.

24.         Bhavanishankar TN, Murthy S. Curcumin-induced alteration in the glucose metabolism of Escherichia coli. J Gen Appl Microbiol 1986;32(4):263-70.

25.         Kulkarni RR, Patki PS, Jog VP, Gandage SG, Patwardhan B. Treatment of osteoarthritis with a herbomineral formulation: a double-blind, placebo-controlled, cross-over study. J Ethnopharmacol 1991;33:91-5.

26.         Yano S, Terai M, Shimizu R, et al. Antiallergic activity of Curcuma longa (II) Features of inhibitory actions on histamine release from mast cells. Nat Med 2000;54:325-9.

27.         Futagami Y, Yano S, Hons S, et al. Antiallergic activity of Curcuma longa (III) Effects of curcuminoids. Wakan Iyakugaku Zasshi 1966;13(4):430-1.

28.         Yano S, Terai M, Shimizu R, et al. Antiallergic activity of Curcuma longa (I) Effectiveness of extracts containing curcuminoids. Nat Med 2000;54:318-24.

29.         Kim DC,Kim SH,Choi BH, et al. Curcuma longa extract protects against gastric ulcers by blocking H2 histamine receptors. Biol Pharm Bull 2005;28(12):2220-4.

30.         Banerjee A, Nigam SS. Antimicrobial efficacy of the essential oil of Curcuma longa.  Indian J Med Res 1978;68:864-6.

31.         Ramaprasad C, Sirsi M. Study on Indian medicinal plants: Curcuma longa; in vitro antibacterial activity of curcumin and the essential oil. J Sci Ind Res (India) 1956; 15C:239-41.

32.         Negi PS, Jayaprakasha L, Jagan Mohan Rao L, Sakariah KK. Antibacterial activity of tumeric oil: a byproduct from curcumin manufacture. J Agric Food Chem 1999;47:297-300.

33.         Wongseri V, Siripong P. Antibacterial activity of curcuminoid compounds from Curcuma zedoaria Roscoe rhizomes. Thai Cancer J 1995;21(1):17-24.

34.         Dahl TA, Mc Gowan WM, Shand MA, et al. Photokilling of bacteria by the natural dye curcumin. Arch Microbiol 1989;151(2):183-5.

35.         Bhavani Shankar TN, Murthy VS. Effect of turmeric (Curcuma longa) fractions on the growth of some intestinal and pathogenic bacteria in vitro. Indian J Exp Biol 1979;17:1363-6.

36.         Shankar TNB, Murthy VS. Effect of turmeric Curcuma longa fractions on the growth of some intestinal an pathogenic bacteria in vitro. Indian J Exp Biol 1979;17(12):1363-6.

37.         Huhtanen CN. Inhibition of Clostridium botulinum by spice extracts and aliphatic alocohols. J Food Prot 1980;43(3):195-6.

38.         Iamthammachard S, Sukchotiratana N. Effects of some medicinal plants in the family Zingiberaceae on the growth of some bacteria. Symposium on Science and Technology of Thailand 13th, 20-22 Oct, Songkhla, Thailand, 1987.

39.         Chauhan UK, Soni P, Shrivastava R, Mathur KC, Khadikar PV. Antimicrobial activities of the rhizome of Curcuma longa linn. Oxid Commun 2003;26(2):266-70.

40.         Ungphaiboon S,Supavita T,Singchangchai P, Sungkarak S, Rattanasuwan P, Itharat A. Study on antioxidant and antimicrobial activities of turmeric clear liquid soap for wound treatment of HIV patients. Songklanakarin J Sci Technol 2005;27(Suppl 2):569-78.

41.         Uechi S, Ishmine Y, Hongo F. Antibacterial activity of essential oil derived from Curcuma sp. (Zingiberaceae) against food-borne pathogenic bacteria and their thermal stability. Ryukyu Daigaku Nogakubu Gakujutsu Hokoku 2000;47:129-36.

42.         Kao Corp, Japan. Bactericidal sesquiterpene. Patent:Jpn Kokai Tokkyo Koho Jp 09,157,205 [97,157,205] 1997;6pp.

43.         Rath Chandi C, Dash SK, Mishra RK, Ramchandraiah OS, Azeemoddin G, Charyulu JK.  A note on the characterization of susceptibility of turmeric (Curcuma longa) leaf oil against Shigella species. Indian Drugs 1999;36(20):133-6.

44.         Rath Chandi C, Dash SK, Mishra RK, Charyulu JK.  Anti E. coli activity of turmeric (Curcuma longa L.) essential oil. Indian Drugs 2001;38(3):106-11.

45.         Apisariyakul A, Siri-Sa-Ard P, Kabsri W, Boonchu M, Krirojananan, Pawichai S. A pharmacological study of antibacterial activity of turmeric oil and curcumin isolated from Curcuma longa linn., (Zingiberaceae). The 3rd World Congress On Medicinal Plant And Aromatic Plants For Human Welfare, Chiang Mai Thailand, 3-7 Feb 2003.

46.    สุภาภรณ์ คำแก่นคูณ. การยับยั้งแบคทีเรียก่อสิวโดยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ. บทคัดย่อวิทยานิพนธ์. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.

47.         Garg SC, Jain RK. Antimicrobial activity of the essential oil of Curcuma longa. Indian Perfumer 2003;47(2):199-202.

48.         Iyengar MA, Rama Rao MP, Bairy I, Kamath MS. Antimicrobial activity of the essential oil of Curcuma longa leaves. Indian Drugs 1995;32(6):249-50.

49.         Srinivasan D, Nathan S, Suresh T. Antimicrobial activity of certain Indian medicinal plants used in folkloric medicine. J Ethnopharmacol 2001;74:217-20.

50.         Ahmad I, Mehmood Z, Mohammad F. Screening of some Indian medicinal plants for their antimicrobial properties. J Ethnopharmacol 1998;62(2):183-93.

51.         Sankaranarayanan J, Jolly CI. Phytochemical, antibacterial and pharmacological investigations on Momordica  charantia Linn., Emblica officinalis Gaertn. and Curcuma longa Linn.  Indian J Pharm Sci 1993;55(1):6-13.

52.         Damrihanunt K, Poonsupaya M, Pithyanukul P, Wuthiudomlert M, Krisanabhun W.  Curcuma cream. Special Project for the Degree of B. Sc. (Pharm.), Faculty of Pharmacy, Bangkok: Mahidol University, 1990.

53.         Misra SK, Sahu KC. Screening of some indigenous plants for antifungal activity againt dermatophytes.  Ind J Pharmacol 1977;9(4):269-72.

54.         Sawada T, Yamahara J, Shimazu S, Ohta T. Evaluation of crude drugs by bioassay. III. Comparison with local variation of contents and the fungistatic action of essential oil from the roots of Curcuma longa. Shoyakugaku Zasshi 1971;25 (1):11-6.

55.         Mishra DN, Dixit V, Mishra AK. Mycotoxic evaluation of some higher plants against ringworm causing fungi. Indian Drugs 1991;28(7):300-3.

56.    เจริญ อัจฉราฤทธิ์. การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัด จากสมุนไพรไทย. Special project for the degree of B.Sc. (pharm), Faculty of Pharmacy, Bangkok: Mahidol University, 1983.

57.    ดำรง พงศ์พุทธชาติ. ผลยับยั้งของพืชสมุนไพรบางชนิดต่อเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง. รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย 2543;184.

58.         Alkofahi A, Batshoun R, Owais W, Najib N. Biological activity of some Jordanian medicinal plant extracts. Part II. Fitoterapia 1997;68(2):163-8.

59.         Naovi SAH, Khan MSY, Vohora SB. Anti-bacterial, anti-fungal and anthelmintic investigations on Indian medicinal plants. Fitoterapia 1991;62(3):221-8.

60.         Von J, Lutomski B, Kedzia WD. Effect of an alcohol extract an active ingredients from Curcuma longa on bacteria and fungi. Planta Med 1974;26:9-19.

61.         Dahl TA, Mc Gowan WM, Shand MA, Srinivasan VS. Photokilling of bacteria by the natural dye curcumin. Arch Microbiol 1989;151(2):183-5.

62.         จิตติมา มานะกิจ จุฑามาศ วิเวโก. น้ำยาบ้วนปากสมุนไพร. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 1998.

63.    กนิษฐา พรสวัสดิ์ชัย กัญญา งามโกศล. การพัฒนาตำรับยาสีฟันสมุนไพร. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 1998.

64.         Rojsitthisak P, Limpanon Y, Thipmongkolsilp N,  Kongtong B, Wongtavatchai J. In vitro inhibitory effect of tumeric extract from Curcuma longa Linn. on shrimp pathogenic vibrios. Thai J Pharm Sci 2005;29(Suppl):86.

65.         Ragasa CY, Laguardia MA, Rideout JA. Antimicrobial sesquiterpenoids and diarylheptanoid from Curcuma domestica. Acgc Chem Res Commun 2005;18:21-4.

66.         Park B-S, Kim J-G, Kim M-R, et al. Curcuma longa L. constituents inhibit sortase a and S. aureus cell adhesion to fibronectin. J Agric Food Chem 2005;53(23):9005-9.

67.         Mahady GB, Pendland SL, Stoia A, Hamill FA.  In vitro susceptibility of Helicobacter pyroli to botanicals used traditionally for the treatment of gastrointestinal disorders.  Phytomedicine 2000;(suppl II):95.

68.         Mahady GB, Pendland SL, Yun G, Lu ZZ. Turmeric (Curcuma longa) and curcumin inhibit the growth of Helicobacter pyroli, a group 1 carcinogen. Anticancer Res 2002;22(6C):4179-81.

69.         Foryst-Ludwig A, Neumann M, Schneider-Brachert W, Naumann M.  Curcummin blocks NF-KB and the motogenic response in Helicobacter pyroli-infected epithelial calls.  Biochem Biophys Res Commun 2004;316(4):1065-72.

70.    อุดม ชคินทร, จรินทร์ โรจน์บวรวิทยา. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและผลข้างเคียงของแคปซูลขมิ้นชัน กับ Climetedine ในการรักษาผู้ป่วยโรคกระเพราะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะอาหารและแผลในลำไส้ส่วนต้น. การสัมมนาเรื่อง "สมุนไพรไทย: อาหาร ยา สารกำจัดศัตรูพืชและการส่งออก" 2 กันยายน, โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนแวนชั่น กรุงเทพฯ, 2547.

71.         พิบูลย์ เลาหทัย, ชัยสิทธิ์ รัตนสังวาลย์. ค้นคว้าหาสมุนไพรต้านเชื้อราที่พบได้ในประเทศไทย. สารศิริราช 1976;28(9):1577.

72.         Venkitraman S.  Antifungal activity of certain rhizomes Curcuma longa, C. mada, etc.  Ind J Physiol Pharmac 1978;22(2):237.

73.         Apisariyakul A, Vanittanakom N, Buddhasukh D. Antifungal activity of turmeric oil extracted from Curcuma longa (Zingiberaceae). J Ethnopharmacol 1995;49(3):163-9.

74.         Conner DE, Beuchat LR. Inhibitory effects of plant oleoresins on yeast.  Interact Food Proc Int Iums-Icfmh Symp 12th 1984;447-51.

75.         Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehhrota BN, Ray C. Screening of Indian plants for biological activity: part I. Indian J Exp Biol 1968;6:232-47.

76.         Somchit MN, Zuraini A, Bustamam AA, Somchit N, Sulaiman MR, Noratunlina R. Protective activity of turmeric (Curcuma longa) in paracetamol-induced hepatotoxicity in rats. Int J Pharm 2005;1(3):252-6.

77.         Phatvej W, Thubthimthed S, Khayungarnnawee A, Suntorntanasat T. Choleretic and antihepatitis effects of Curcuma longa Linn. and Ipomoea aquatica Forsk. crude extracts. Thai J Pharm Sci 2004;28(Suppl):26.

78.         Naik RS,Mujumdar AM,Ghaskadbi S. Protection of liver cells from ethanol cytotoxicity by curcumin in liver slice culture in vitro. J Ethnopharmacol 2004;95:31-7.

79.         Song EK, Cho H, Kim JS, et al. Diarylheptanoids with free radical scavenging and hepatoprotective activity in vitro from Curcuma longa. Planta Med 2001;67(9):876-7.

80.         Subramanian L,Selvam R. Prevention of CCl4-induced hepatotoxicity by aqueous extract of turmeric. Nutr Res (NY) 1999;19(3):429-41.

81.         Kiso Y, Suzuki Y, Watanabe N, Oshima Y, Hikino H. Antihepatotoxic principles of Curcuma longa rhizomes. Planta Med 1983;49:185-7.

82.         Azuine MA,Kayal JJ,Bhide SV. Protective role of aqueous turmeric extract against mutagenicity of direct-acting carcinogens as well as benzo[a]pyrne-induced genotoxicity and carcinogenicity. J Cancer Res Clin Oncol 1992;118(6):447-52.

83.         Egan ME, Pearson M, Weiner SA, et al. Curcumin, a major constituent of turmeric, corrects cystic fibrosis defects. Science (Washington, DC, United States) 2004;304(5670):600-2.

84.         Kolpe U, Ramaswamy V, Satish Rao BS, Nagabhushan M. Turmeric and curcumin prevents the formation of mutagenic maillard reaction products. Int Congr Ser 2002;1245:327-34.

85.    บังอร ศรีพานิชกุลชัย. การศึกษาฤทธิ์กลายพันธุ์และฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของพืชสมุนไพร. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 1995.

86.         Ramos A, Visozo A, Piloto J, Garcia A, Rodrigues CA, Rivero R. Screening of antimutagenicity via antioxidant activity in cuban medicinal plants. J Ethnopharmacol 2003;87:241-6.

87.         Jayaprakasha GK, Jena BS, Negi PS,Sakariah KK. Evaluation of antioxidant activities and antimutagenicity of turmeric oil: a byproduct from curcumin production. J Biosci 2002;57(9/10):828-35.

88.         Premkumar K, Kavitha S, Santhiya ST, Ramesh A. Interactive effects of saffron with garlic and curcumin against cyclophosphamide induced genotoxicity in mice. Asia Pac J Clin Nutr 2004;13(3):292-4.

89.         Gujral ML, Chowdhury NK, Saxena PN. Effect of indigenous remedies on the healing of wounds and ulcers. Jima 1953;22(7):273-6.

90.         Nguyen LMT, Dang VG, Le TS. Formulation and optimization of the recipe of Centella asiatica and Curcuma longa cream.  Tap Chi Hoa Hoc 2001;1:15-8.

91.    สมพร อาจริยะกุล สุจินต์ ศรศรีวิชัย ดารณี ยิ่งพิศิษฐ์.  การใช้ขมิ้นชันรักษาโรคผิวหนังพุพองในผู้ป่วยเด็ก.  รายงานการวิจัยทุนวิจัยสมุนไพรกับสาธารณสุขมูลฐาน 2529. หน้า 1-62.

92.    อรัญญา มโนสร้อย และคณะ. การพัฒนาตำรับครีมป้ายปากที่มีส่วนผสมของขมิ้นชัน. รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต, สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543;45-6.

93.         Egan ME, Pearson M, Weiner SA, et al. Curcumin, a major constituent of turmeric, corrects cystic fibrosis defects. Science (Washington, DC, United States) 2004;304(5670):600-2.

94.         Prucksunand C, Petchroungrong B, Somanas S, Prucksunand P. Blocking effect of turmeric jucie (Curcuma longa linn.) on the action potential of isolated frog sciatic nerve. Ann Res Abst, Bangkok: Mahidol University. 2000;27:306.

95.         Charunruangterakul N, Lertkowit N, Kengthong S, Tantisira MH. Evaluation of local anesthetic effect of tumeric extract. Thai J Pharm Sci 2005;29(Suppl):124.

96.         Supniewski JV, Hano J. The pharmacological action of phenylethylcarbinol and p-toluylmethylcarbinol. Bull Intern Acad Polon Sci Classe Med 1935;573-89.

97.         Yao H,Yang X. Manufacture of toothpaste containing zinc phytate and Curcuma longa extracts for removing smoking stains and dental calculi. Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1593376 2005;8pp.

98.         Yegnanarayan R, Saraf AP, Balwani JH. Comparison of antiinflammatory activity of various extracts of Curcuma longa (Linn). Indian J Med Res 1976;64(4):601-8.

99.         Srimal RC, Dhawan BN. Pharmacology of diferuloyl methane (curcumin), a non-steroidal anti-inflammatory analogs in rats. J Pharm Pharmacol 1973; 25(6): 447-52.

100.     Zhang J, Zhang Y, Wang M. Medicine for preventing tumor. Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1552435 2004.

101.     Miquel J, Martinez M, Diez A, et al. Effects of turmeric on blood and liver lipoperoxide levels of mice: lack of toxicity. AGE (Chester Pa) 1995;18(4):171-4.

102.     Sittisomwong N, et al.  Acute and subchronic toxicity of turmeric. Bull Depart Med Sci 1990;32(3):101-11.

103.     Sharma RA, McLelland HR, Hill KA, et al. Pharmacodynamic and pharmacokinetic study of oral Curcuma extract in patients with colorectal cancer. Clin Cancer Res 2001;7(7):1894-900. 

104.     Vijayalaxmi. Genetic effects of turmeric and curcumin in mice and rats. Mutat Res 1980;79(2):125-32.

105.     Chang IM, Guest IC, Lee-Chang J, et al. Assay of potential mutagenicity and antimutagenicity of Chinese herbal drugs by using SOS chromotes (E. Coli PQ37) and SOS UMU test (S. typhimurium TA1535/ PSK 1002).  Proc First Korea-Japan Toxicology Symposium Safety Assessment of Chemicals in vitro 1989:133-45.

106.     Nagabhushan M, Bhide SV.  Nonmutagenicity of curcumin and its antimutagenic action versus chili and capsaicin. Nutr Cancer 1986;8(3):201-10.

107.     Sivaswamy SN, Balachandran B, Balanehru S, Sivaramakrishnan VM. Mutagenic activity of South Indian food items.  Indian J Exp Biol 1991;29(8):730-7.

108.     Jensen NJ. Lack of mutagenic effect of turmeric oleoresin and curcumin in the Salmonella/mammalian microsome test.  Mutat Res 1982;105(6):393-6.

109.     Shah RG, Netrawali MS. Evaluation of mutagenic activity of turmeric extract containing curcumin, before and after activation with mammalian cecal microbial extract or liver microsomal fraction, in the Ames Salmonella test.  Bull Environ Contam Toxicol 1988;40(3):350-7.

110.     Mahmoud I, Alkofahi A, Abdelaziz A.  Mutagenic and toxic activities of several spices and some Jordanian medicinal plants.  Int J Pharmacog 1992;30(2):81-5.

111.     Shashikanth KN, Hosono A.  In vitro mutagenicity of tropical spices to streptomycin dependent strains of Salmonella typhimurium TA98. Agr Biol Chem 1986;50(11):2947-8.

112.     Garg SK. Effect of Curcuma longa on fertility in female albino rats.Bull P.G.I. 1971;5:178.

113.     Garg SK. Effect of Curcuma longa (Rhizomes) on fertility in experimental animals. Planta Med 1974;26:225-7.

114.     Deshpande SS, Lalitha VS, Ingle AD, Raste AS, Gadre SG, Maru GB. Subchronic oral toxicity of turmeric and ethanolic turmeric extract in female mice and rats. Toxicol Lett 1998;95(3):183-93.

115.     Liao Jw, Tsai Sj, Wang Sc, Hwang JS. Safety evaluation of turmeric (Curcuma longa l.) Powder via oral gavage for 28 days in rats. Zhiwu Baohu Xuehui Huikan 2003;45(3):237-55.

116.     Chavalittumrong P, Chivapat S, Rattanajarasroj S, Punyamong S, Chuthaputti A, Phisalaphong C. Chronic toxicity study of curcuminoids in rats. Songklanakarin J Sci Technol 2002;24(4):633-47.

117.     เชษฐา. สมุนไพรในชีวิตประจำวัน.  กรุงเทพฯ: พีแอลการพิมพ์, 2525, หน้า 82.

118.     พระภิกษุสุเทพ แพทอง. แบบสัมภาษณ์ผู้ใช้โดยโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง.

119.  ยุทธนา ศิริวัธนนุกูล สุรพล ชลดำรงค์กุล สมเกียรติ ทองรักษ์. ผลของฟ้าทะลายโจร ใบฝรั่ง ขมิ้นชัน ไพล และเปลืออกผลมังคุดต่อการรักษาโรคท้องร่วงในลูกสุกร. การประชุมวิชาการ : สมุนไพรไทยโอกาสและทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมผลิตสัตว์, 24-25 ตุลาคม, โรงแรมมารวยการ์เด้น, กรุงเทพฯ, 2545. หน้า 115-27.