1. ชื่อสมุนไพร บัวบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (Linn.) Urban.
ชื่อวงศ์ UMBELLIFERAE (APIACEAE)
ชื่อพ้อง ไม่มี
ชื่ออังกฤษ Asiatic pennywort
ชื่อท้องถิ่น ผักแว่น, ผักหนอก, ปะหนะ, เอขาเด๊าะ
2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยยาวไปตามพื้นดิน แตกรากและใบตามข้อใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกที่ข้อ ข้อละ 2-10 ใบเป็นรูปไต ขอบใบจักมนๆ ดอกออกเป็นช่อคล้ายร่มเดี่ยวๆ หรือมี 2-5 ช่อ ช่อหนึ่งมักมี 3-4 ดอก ก้านช่อดอกเมื่อแรกตั้งตรง ต่อไปจะโค้ง ริ้วประดับมี 2-3 ใบ ก้านดอกย่อยสั้นมาก กลีบดอกสีม่วงอมแดง โคนดอกมีสีจาง เกสรตัวผู้มีขนาดสั้น ผลเป็นผลแห้งไม่มีเนื้อ มีลักษณะแบนและแตกได้
3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ
-ส่วนใบ ใช้รักษาอาการอักเสบจากแมลงกัดต่อย และรักษาแผล
4. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์
สาร asiaticoside, asiatic acid และ madecassic acid มีฤทธิ์สมานแผลและลดการอักเสบ (1-6)
5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
5.1 ฤทธิ์สมานแผล
จากการศึกษาโดยให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานสารสกัดบัวบกในรูปแคปซูลวันละ 6 แคปซูล เป็นเวลา 21 วัน พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบัวบกมีการสมานแผลและรอยแผลในผู้ป่วยดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และไม่พบอาการข้างเคียงใดๆ นอกจากนี้มีรายงานว่าครีมสารสกัดบัวบก 0.25-1% ช่วยรักษาและสมานผิวหนังในคนสูงอายุ (7) และช่วยรักษาแผลอักเสบและแผลแยกหลังผ่าตัดในผู้ป่วย (8, 9) และลดขนาดแผลเรื้อรังที่เกิดจากอุบัติเหตุได้ (10) ส่วนสารละลายในแอลกอฮอล์ทำเป็นสเปรย์ซึ่งมีสารสำคัญ asiaticoside 89.5% เมื่อใช้พ่นที่แผลของผู้ป่วย พบว่าสามารถรักษาแผลให้หายได้เกินครึ่ง แต่มีอาการข้างเคียง คือ การไหม้ของผิวหนัง (burning sensation) (11)
เมื่อป้อนสารสกัดด้วย 95% เอทานอลจากใบเข้าทางปากและทาที่แผลของหนูขาว พบว่ามีผลเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุผิว และเพิ่มการสร้างคอลลาเจน (12, 13, 14) นอกจากนี้ยังมีผลเร่งการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เพิ่มปริมาณคอลลาเจนและกรด uronic (ช่วยในการสมานแผลและเพิ่มความยืดหยุ่นของผิวหนัง)ในหนูแรท (15) และกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหลอดเลือดและเนื้อเยื่อประสาน (16) เมื่อใช้ครีม ขี้ผึ้งและเจลที่มีสารสกัดด้วยน้ำจากบัวบก 5% ทาที่แผลของหนูขาว พบว่ามีผลสมานแผลในเยื่อบุผิว เพิ่มการสร้างคอลลาเจน เพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ โดยผลิตภัณฑ์ในรูปเจลจะให้ผลดีกว่าขี้ผึ้งและครีม (17-19)
5.2 ฤทธิ์ลดการอักเสบ
เมื่อนำผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ได้แก่ สบู่เหลวล้างหน้าและตัว โลชั่น และซีรั่มทาผิว ที่มียาเตรียมบัวบกผสมอยู่ 1, 1.5 และ 3% ตามลำดับ มาทดลองใช้กับผู้ป่วยที่มีผิวหนังอักเสบเรื้อรัง พบว่าสามารถลดการอักเสบของผิวหนังได้ (20) การให้คนรับประทานผงแห้งจากส่วนเหนือดินของบัวบก จะสามารถลดอาการอักเสบได้ (21) ในปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรสารสกัดบัวบกซึ่งประกอบด้วยสาร madecassoside และ terminoloside สำหรับใช้ในเครื่องสำอางและใช้เป็นยาลดการอักเสบ (22) และตำรับยารับประทานซึ่งมีบัวบกเป็นส่วนประกอบ เพื่อใช้รักษาการอักเสบของไตและกรวยไต กระเพาะปัสสาวะ และทางเดินปัสสาวะ (23)
จากการทดลองในหนูพบว่าสารสกัดเอทานอลจากใบ จะมีฤทธิ์ลดการอักเสบอย่างอ่อนในหนูขาว (24) เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำจากทั้งต้น และสารละลายที่มีสารสำคัญ asiaticoside พบว่ามีผลลดการอักเสบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยกรดอะซีติก (25) นอกจากนี้ พบว่าสารซาโปนินและไทรเทอร์ปีนจากบัวบกสามารถลดการอักเสบและอาการบวมในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการบวมที่หู (1-3) นอกจากนี้เมื่อใช้ขี้ผึ้ง MadecassolÒ (สารสกัดจากบัวบก) ซึ่งประกอบด้วยสาร asiatic acid, madecassic acid และ asiaticoside ทาที่ผิวหนังหนูซึ่งเกิดการอักเสบจากการฉายรังสี จะช่วยลดการอักเสบได้ (26)
5.4 ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน
สารสกัดใบบัวบกด้วยแอลกอฮอล์ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:1 ใช้ทาภายนอกจะสามารถลดการแพ้ได้ และช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด หรืออักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อย (27)
5.5 ฤทธิ์แก้ปวด
สารสกัดด้วยเอทานอลจากใบ (28) และจากทั้งต้น (29) มีฤทธิ์แก้ปวด เมื่อทดสอบในหนูแรทและหนูเม้าส์
สารสกัดจากส่วนราก ใบและส่วนเหนือดิน รวมทั้งน้ำมันหอมระเหยจากบัวบก มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด เช่น Bacillus subtilis, Escherichia coli, Proteus vulgaris และ Pseudomonas cichorii (30-38) มีรายงานว่าอนุพันธ์บางชนิดของ asiaticoside สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรคในหลอดทดลอง และลดร่องรอยโรคที่เกิดจากเชื้อวัณโรคในตับ ปอด ปมประสาทของหนูตะเภาที่ทำให้เป็นวัณโรคได้ (39)
สารสกัดเอทานอลจากทั้งต้น มีผลต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลาก ได้แก่ Trichophyton mentagrophytes และ T. rubrum (40) ในขณะที่สารสกัดด้วยน้ำร้อน ไม่พบว่ามีผลต้านเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้ (41) ส่วนน้ำมันหอมระเหยจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Aspergillus niger, Rhizopus oryzae, Fusarium solani, Candida albicans และ Colletotrichum musae (42)
5.8 รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
จากการทดสอบในหนูแรทพบว่า สารสกัดด้วยเอทานอล (43) และสารสกัดด้วยน้ำจากทั้งต้น (44) และจากใบ (45) มีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยความเครียดและกรดเกลือในเอทานอล (45) โดยจะลดขนาดของแผล เพิ่มจำนวนของหลอดเลือดขนาดเล็กในเนื้อเยื่อ เพิ่มจำนวนและการกระจายของเซลล์ที่บริเวณแผล (46) ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองในคนที่รับประทานสารสกัดจากบัวบก (Madecassol) พบว่าช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ (47, 48)
ยังไม่มีรายงาน
7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์
7.1 การทดสอบความเป็นพิษ
มีรายงานการแพ้และอักเสบต่อผิวหนังในคน เมื่อใช้ผงแห้ง (49) สารสกัดที่มีกลัยโคไซด์จากบัวบก 2% (50) สารสกัดด้วยน้ำ (51) สารสกัดจากทั้งต้นในความเข้มข้น 2% และสารสกัด Madecassol ที่ประกอบด้วย asiatic acid, madecassic acid และ asiaticoside ทาภายนอก (52)
อย่างไรก็ตามไม่พบความเป็นพิษเมื่อฉีดสารสกัดด้วยเอทานอล 50% เข้าทางช่องท้องหนูเม้าส์หรือเข้าใต้ผิวหนังหรือให้ทางปากของหนูแรทในขนาดสูง (53-55) และยังพบว่าไม่มีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน (56) เมื่อทดสอบความเป็นพิษกับสารซาโปนินจากทั้งต้นในขนาด 2% ไม่พบว่ามีผลฆ่าเชื้ออสุจิของคน (57)
8. วิธีการใช้บัวบกรักษาแมลงกัดต่อย และรักษาแผล
8.1 ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)
ใช้ใบขยี้ทาแก้แมลงกัดต่อย หรือใช้ส่วนใบสด พอกที่แผลสด วันละ 2 ครั้ง
8.2 ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ทำความสะอาดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อก่อนทาครีมที่มีสารสกัดจากบัวบกสด ร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง หากใช้แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ให้หยุดใช้
ควรเก็บครีมใบบัวบกในที่เย็น อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส
เอกสารอ้างอิง
1. Bombardelli E, Patri G, Pozzi R. Complexs of saponins and their aglycons with phosphilipids and pharmaceutical and cosmetic compositions containing them. Patent:U S US 5,166,136, 1992:3pp.
2. Vogel HG, De Souza N.J., D' Sa A. Effect of terpenoids isolated from Centella asiatica on granuloma tissue. Hoechst A.-G., Frankfurt/Main, Fed Rep Ger. Acta Ther 1990;16(4):285-98.
3. Lepetit J-C. Madecassoside-immune regulation of psoriasis-like disorders by natural anti-inflammatory active ingredient. SOFW J 2005;131(4):28, 30, 32, 34.
4. Rosen H, Blumenthal A, McCallum J. Effect of asiaticoside on wound healing in the rat. Proc Soc Exp Biol Med 1967;125(1):279-80.
5. Shim PJ, Park JH, Chang MS, et al. Asiaticoside mimetics as wound healing agent. Bioorg Med Chem Lett 1996;6(24):2937-40.
6. Velasco M, Romero E. Drug interaction between asiaticoside and some anti-inflammatory drugs in wound healing of the rat. Curr Ther Res Clin Exp 1976;19:121.
7. Anon. Skin texture improver. Patent: Fr 1,433,383, 1966:3pp.
8. วีระสิงห์ เมืองมั่น. รายงานผลการวิจัยเรื่องการใช้ครีมบัวบก รักษาแผลอักเสบ. การประชุมโครงการการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาตำรับยาสมุนไพรที่ใช้ในโรงพยาบาล, 30 พฤษภาคม, กรุงเทพฯ, 2526.
9. วีระสิงห์ เมืองมั่น. การใช้ครีมใบบัวบกรักษาแผลอักเสบโดยการทาภายนอก. หนังสือรวบรวมผลงานการวิจัยโครงการพัฒนาการใช้สมุนไพรและยาไทยทางคลินิค (2525-2536).
10. ศิริรัตน์ โกศัลยวัฒน์ จันทรา ชัยพานิช เกษียร ภังคนนท์. การใช้ครีมใบบัวบก 1% รักษาแผลเรื้อรัง. สารศิริราช 2531;40(6):455-61.
11. Morisset R, Cote NG, Panisset JC, et al. Evaluation of the healing activity of hydrocotyle tincture in the treatment of wounds. Phytother Res 1987;1(3):117-21.
12. Suguna L, Sivakumar P, Chandrakasan G. Effects of Centella asiatica extract on dermal wound healing in rats. Indian J Exp Biol 1996;34(12):1208-11.
13. Kaito T, Yasuzo H, Motohide H, Hajime F. Effect of madecassol on wound healing. Oyo Yakuri 1973;7(6):833-43.
14. Poizot A, Daniele D. Modification of the healing kinetics after iterative exeresis in the rat. Action of titrated extract of Centella asiatica (TECA) on duration of healing. C R Hebd Seances Acad Sci, Ser D 1978;286(10):789-92.
15. Maquart FX, Chastang F, Simeon A, et al. Triterpenes from Centella asiatica stimulate extracellular matrix accumulation in rat experimental wounds. Eur J Dermatol 1999;9(4): 289-96.
16. Coldren CD, Hashim P, Ali JM, et al. Gene expression changes in the human fibroblast induced by Centella asiatica triterpenoids. Planta Med 2003;69:725-32.
17. Sunilkumar SP, Shivakumar HG. Evaluation of topical formulations of aqueous extract of Centella asiatica on open wounds in rats. Indian J Exp Biol 1998;36(6):569-72.
18. Hong S-S, Kim J-H, Li H, et al. Advanced formulation and pharmacological activity of hydrogel of the titrated extract of C. asiatica. Arch Pharm Res 2005;28(4):502-8.
19. Prasertvithykarn S, Chaichantipyuth C, Uruwannakul B. Centella asiatica oral mucoadhesive gel. Thai J Pharm Sci 1998;22(3):S16.
20. Lee J, Jung E,Park B, et al. Evaluation of the anti-inflammatory and atopic dermatitis-mitigating effects of BSASM, a multicompound preparation. J Ethnopharmacol 2005;96:211-9.
21. Dabral PK, Sharma RK. Evaluation of the role of rumalaya and geriforte in chronic arthritis-a preliminary study. Probe 1983;22(2):120-7.
22. Loiseau A, Sene G,Theron E. Extracts of Centella asiatica rich in madecassoside and terminoloside. Patent: FR Demande FR 2848117, 2004:45pp.
23. Zhao L, Zhao J. Chinese medicinal dripping pill for treating pyelonephritis, cystitis, and urinary tract infection, and its preparation method. Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1857647, 2006:9pp.
24. Dunstan CA, Noreen Y, Serrano G, et al. Evaluation of some Samoan and Peruvian medicinal plants by prostaglandin biosynthesis and rat ear oedema assays. J Ethnopharmacol 1997;57:35-56.
25. Guo JS, Cheng CL, Koo MWL. Inhibitory effects of Centella asiatica water extract and asiaticoside on inducible nitric oxide synthase during gastric ulcer healing in rats. Planta Med 2004;70:1150-4.
26. Chen YJ, Dai YS, Chen BF, et al. The effect of tetradrine and extracts of Centella asiatica on acute radiation dermatitis in rats. Biol Pharm Bull 1999;22(7):703-6.
27. Mokkhasmit M, Ngarmwathana W, Sawasdimongkol K, Permphiphat U. Pharmacological evaluation of Thai medicinal plants. (continued). J Med Assoc Thai 1971;54(7):490-504.
28. Sakina MR, Dandiya PC. A psycho-neuropharmacological profile of Centella asiatica extract. Fitoterapia 1990;61(4):291-6.
29. Sarma DNK, Khosa RL, Chansauria JPN, Sahai M. Antistress activity of Tinospora Cordifolia and Centella asiatica extracts. Phytother Res 1996;10(2):181-3.
30. Srivastava R, Shukla YN, Darokar MP. Antibacterial activity of Centella asiatica. Fitoterapia 1997; 68(5):466-7.
31. Yang HC, Chaug HH, Weng TC. Influence of several Chinese drugs on the growth of some pathologic organisms: preliminary report. J Formosan Med Ass 1953;52:109.
32. Ray PG, Majumdar SK. Antimicrobial activity of some Indian plants. Econ Bot 1976;30:317-20.
33. อารีรัตน์ ลออปักษา สุรัตนา อำนวยผล วิเชียร จงบุญประเสริฐ. การศึกษาสมุนไพรทีมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ (ตอนที่ 1). ไทยเภสัชสาร 2531;13(1):23-35.
34. สุมาลี เหลืองสกุล. ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองของสารสกัดจากสมุนไพร 6 ชนิด. การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13, 20-22 ตุลาคม, สงขลา, 2530. หน้า 522-3.
35. Samy PR, Ignacimuthu S. Antibacterial activity of some folklore medicinal plants used by tribals in Western Ghats of India. J Ethnopharmacol 2000;69:63-71.
36. Hamill FA, Apio S, Mubiru NK, Bukenya-Ziraba R, et al. Traditional herbal drugs of southern Uganda, II: literature analysis and antimicrobial assays. J Ethnopharmacol 2003;84:57-78.
37. ณัฐพันธุ์ ตันตินฤพงษ์ ตุลาภรณ์ ม่วงแดง. การพัฒนาสบู่สมุนไพรต้านเชื้อ. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2000.
38. พิมพร ลีลาพรพิสิฐ สุมาลี พฤกษากร ไชยวัฒน์ ไชยสุต และคณะ. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรักษาสิวจากน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากพืชไทย. การประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 3, 30 สิงหาคม-3 กันยายน, นนทบุรี, 2549. หน้า 40.
39. Boiuteau P, Dureuil M, Ratsimamanga AR. Antitubercular properties of oxyasiaticoside (water-soluble derivatives of asiaticoside from C. asiatica). Compt Rend Acad Sci 1949;228(13):1165-7.
40. Yang HC, Chaug HH, Weng TC. Influence of several Chinese drugs on the growth of some pathologic organisms: preliminary report. J Formosan Med Ass 1953;52:109-12.
41. Ikegami F, Sekine T, Iijima O, et al. Anti-dermatophyte activities of tea seed cake and Pegu-catechu. Thai J Pharm Sci 1993;17(2):57-9.
42. Minija J,Thoppil JE. Antimicrobial activity of Centella asiatica (L.) Urb. essential oil. Indian Perfumer 2003;47(2):179-81.
43. Sarma DNK, Khosa RL, Chansauria JPN, Sahai M. Antiulcer activity of Tinospora Cordifolia Miers and Centella asiatica Linn extracts. Phytother Res 1995;9(8):589-90.
44. Cheng CL, Koo MWL. Effects of Centella asiatica on ethanol induced gastric mucosal lesions in rats. Life Sci 2000;67(21):2647-53.
45. Tan PV, Njimi CK, Ayafor JF. Screening of some African medicinal plants for antiulcerogenic activity: Part 1. Phytother Res 1997;11(1):45-7.
46. Cheng CL, Guo JS, Luk J, et al. The healing effects of Centella extract and asiaticoside on acetic acid induced gastric ulcers in rats. Life Sci 2004;74(18):2237-49.
47. Shin HS, Choi IG, Lee MH, Park KN. Clinical trials of madecassol (Centella asiatica) on gastrointestinal ulcer patient. Korean J Gastroenterol 1982;14(1):49-56.
48. Cho KH, Chung TJ, Kim SJ, Lee TH, Yoon CM. Clinical experiences of madecassol (Centella asiatica) in the treatment of peptic ulcer. Korean J Gastroenterol 1981;13(1):49-56.
49. Danese P, Carnevali C, Bertazzoni MG. Allergic contact dermatitis due to Centella asiatica extract. Contact Dermatitis 1994;31(3):201.
50. Izu R, Aguirre A, Gil N, Diaz-Perez JL. Allergic contact dermatitis from a cream containing Centella asiatica extract. Contact Dermatitis 1992;26(3):192-3.
51. Bilbao I, Aguirre A, Zabala R, Gonzalez R, Raton J, Diaz Perez JL. Allergic contact dermatitis from butoxyethyl nicotinic acid and Centella asiatica extract. Contact Dermatitis 1995;33(6):435-6.
52. Eun HC, Lee AY. Contact dermatitis due to medecassol. Contact Dermatitis 1985;13(5):310-3.
53. Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehrotra BN, Ray C. Screening of Indian plants for biological activity: part I. Indian J Exp Biol 1968;6:232-47.
54. Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P. Study on toxicity of Thai medicinal plants. Bull Dep Med Sci 1971;12(2/4):36-65.
55. De Lucia R, Sertie JAA, Camargo EA, Panizza S. Pharmacological and toxicological studies on Centella asiatica extract. Fitoterapia 1997;68(5):413-6.
56. Matsui ADS, Hoskin S, Kashiwagi M, Aguda BW, Zebart BE, Norton TR, Cutting WC. A survey of natural products from Hawaii and other areas of the Pacific for an antifertility effect in mice. Int Z Klin Pharmakol Ther Toxikol 1971;5(1):65-9.
57. Setty BS, Kamboj VP, Garg HS, Khanna NM. Spermicidal potential of saponins isolated from Indian medicinal plants. Contraception 1976;14(5):571-8.