1. ชื่อสมุนไพร           ชุมเห็ดไทย

     ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna  tora   (L.) Roxb..

          ชื่อวงศ์           FABACEAE (LEGUMINOSAE)-CAESALPINIOIDEAE

          ชื่อพ้อง           Cassia tora Linn.

          ชื่ออังกฤษ        Foetid cassia,   Sickle senna

          ชื่อท้องถิ่น        กิเกีย, ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก, พรมดาน, ลับมืนน้อย, หญ้าลึกลืน,

                             หน่อปะหน่าเหน่อ

 

2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 3 คู่ รูปไข่กลับ ปลายกลมโคนสอบกลม ดอกช่อ ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ช่อละ 2-4 ดอก กลีบดอกสีเหลือง รูปไข่กลับปลายกลม แต่ละกลีบขนาดไม่เท่ากัน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ค่อนข้างโค้ง เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

 

3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          - ใบ, เมล็ด                 ยาระบาย

 

4. สารสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสารออกฤทธิ์

ชุมเห็ดไทยมีสาร anthraquinone glycoside (1-6) มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย (7)  สาร aloe-emodin และ 1,8-dihydroxy-3(hydroxymethyl)-anthraquinone มีฤทธิ์เป็นยาระบาย (8)

 

5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

5.1   ฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้

       สารสกัดใบชุมเห็ดไทยด้วยเมทานอลเมื่อนำมาทดสอบกับการบีบตัวของลำไส้เล็กพบว่า มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูตะเภา  และลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) ของกระต่าย (9) 

5.2   ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย

       สารสกัดใบและเมล็ดชุมเห็ดไทย ด้วยไดเอทิลอีเทอร์ อะซิโตน เอทิลแอลกอฮอล์ และน้ำ  เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli, Bacillus subtilis พบว่าสารสกัดใบชุมเห็ดไทยไม่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้ ในขณะที่สารสกัดเมล็ดชุมเห็ดไทยสามารถต้านเชื้อ B. Subtilis ได้ปานกลาง แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ E. Coli (10สารสกัดน้ำของใบชุมเห็ดไทยความเข้มข้น 200 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร  เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย E. Coli  พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อดังกล่าวได้เล็กน้อย เมื่อเทียบกับยาปฏิชีวนะ gentimicin 200 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร  (11)  สารสกัดน้ำเมล็ดชุมเห็ดไทย เมื่อนำมาทดสอบกับเชื้อ E. coli ที่เป็นสาเหตุให้ลูกหมูท้องเสีย ในจานเพาะเลี้ยงเชื้อ พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อดังกล่าวได้โดยใช้ความเข้มข้นมากกว่า 20.8 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร   (12)  สาร quinizarin จากเมล็ดชุมเห็ดไทย ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัม/แผ่น มีฤทธิ์ยับยั้งอย่างแรงต่อเชื้อแบคทีเรีย Clostridium perfringens ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียเนื่องจากอาหารเป็นพิษ  แต่ไม่มีผลต่อเชื้อแบคทีเรีย Bifidobacterium adolescentis, B. bifidum, B. longum และ Lactobacillus casei ที่อยู่ในลำไส้ของคน (13)

5.3   ฤทธิ์ต้านเชื้อรา
       สารสกัดหยาบของใบชุมเห็ดไทยด้วยเมทานอล เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา 3 ชนิด ที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนัง Microsporum gypseum, Trichophyton rubrum และ Penicillium marneffei  พบว่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญของเส้นใยราได้ 50% (IC50) เท่ากับ 1.8, 1.2, 1.8 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ  และค่า IC50 ต่อการงอกของ macrocondia ของเชื้อ M. gypseum มีค่าเท่ากับ 4.1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร  ซึ่งจากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดส่องกราด พบว่าสารสกัดใบชุมเห็ดไทยทำให้เส้นใยรา และ macrocondia มีลักษณะผิดปกติ หดตัว และเหี่ยวย่น (14)  สารสกัดใบชุมเห็ดไทยด้วย 90% เมทานอล ความเข้มข้น 100, 200, 300 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถต้านเชื้อรา T. mentagophytes ที่ทำให้เกิดโรคกลาก เกลื้อน โดยยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อดังกล่าวได้ เท่ากับ 68.40 ± 9.4, 73.90 ± 9.8, 88.50 ± 9.7 % เมื่อเทียบกับยามาตรฐาน griseofulvin 1,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ที่สามารถยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อราได้ 87.55 ± 10.5ซึ่งจะเห็นได้ว่าสารสกัดใบชุมเห็ดไทยที่ความเข้มข้น 300 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ให้ผลดีที่สุด (15)
       สารสกัดชุมเห็ดไทยด้วยคลอโรฟอร์ม ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร (16สารแอนทราควิโนนกลัยโคไซด์ (18) สามารถต้านเชื้อรา T. Mentagophytes (16-17), T. granulosum (17), T. rubrum และ M. gypseum (16) ได้ แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Epidermophyton floccosum (16
5.4  ฤทธิ์ต้านยีสต์
       สารสกัดใบชุมเห็ดไทยด้วย 90% เมทานอล ความเข้มข้น 100, 200, 300 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถต้านยีสต์ Candida albicans ได้ เท่ากับ 78.23 ± 10.5, 87.52 ± 9.4, 95.30 ± 11.2 % เมื่อเทียบกับยามาตรฐาน griseofulvin 1,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ที่สามารถยับยั้งการสร้างสปอร์ได้ 96.70 ± 8.9 ซึ่งจะเห็นได้ว่าสารสกัดใบชุมเห็ดไทยที่ความเข้มข้น 300 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ให้ผลดีที่สุด (15)  แต่สารสกัดชุมเห็ดไทยด้วยคลอโรฟอร์ม ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ไม่สามารถต้านเชื้อ C. albicans ได้ (16) 

 

6.  อาการข้างเคียง

          ไม่มีข้อมูล

 

7.  ความเป็นพิษทั่วไป

7.1  การทดสอบความเป็นพิษ

       สารสกัดใบชุมเห็ดไทย ขนาด 10, 100, 1,000, 1,500 และ 2,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  เมื่อป้อนหรือฉีดเข้าทางช่องท้องหนูเม้าส์ ไม่พบอาการผิดปกติใดๆภายใน 24 ชั่วโมง (9) เมื่อฉีดสารสกัดเมล็ดด้วยแอลกอฮอล์ 50% เข้าช่องท้องของหนูเม้าส์ พบว่ามีพิษสูงมาก (18)  เมื่อผสมสารสกัดจากเมล็ดแห้งในอาหารให้หนูกิน พบว่าทำให้น้ำหนักตัวลด (19) 

7.2  ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

       สารสกัดจากเมล็ดด้วยน้ำและเมทานอล (100 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) ไม่มีผลต่อการก่อกลายพันธุ์ของ Bacillus subtilis และ S. typphimurium สาย TA 98 และTA 100 (20)

 

8.  วิธีการใช้

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

       ใช้เมล็ดแห้งคั่ว 2 ช้อนคาว ถึง 2 1/2 ช้อนคาว ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม รักษาอาการท้องผูก (21)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

1.             Poethke W, Rao DN, Loescher KD.  Chromatographic characterization of the contents of Cassia tora L. seeds. Pharm Zentr 1968;107(8):571.

2.             Koshioka M, Ikemoto C, Nishimura M, Ishii Y, Takino Y.  Studies on the evaluation of crude drug.   VII. Separation and quantitative estimation of anthraquinones in Cassia seeds on column of sephadex LH-20.  Shoyakugaku Zasshi 1978;32(4):267.

3.             Acharya TK, Chatterjee IB. Isolation of chrysophanic acid-9-anthrone, the major antifungal principle of Cassia tora.   Lloydia 1975;38(3):218-20.

4.             Raghunathan K, Hariharan V, Rangaswami S.  Chrysophanol-1-bata-gentiobioside, a new anthraquinone glycoside from Cassia tora.  Indian J Chem 1974;12(12):1251-3.

5.             Tabata MT, Hiroka N, Ikenque M, Samno Y, Konoshima M. The production of anthraquinones in callus cultures of Cassia tora.   Lloydia 1975;38:131.

6.             Desai HB, Shukla PC. Note on chrysophanic acid in Cassia tora seeds and its removal by different treatments.   Gujarat Agric Univ Res J 1978; 4(1): 60.

7.             Mukerji B.  The Indian Pharmaceutical Codex, Vol 1, Newdelhi, India 1985.

8.             Maity TK, Dinda SC. Purgative activity of Cassia tora leaf extract and isolated aloe-emodin. Indian J Pharm Sci 2003;65(1):93-5. 

9.             Chidume FC, Kwanashie HO, Adekeye JO, Wambebe C, Gamaniel KS.  Antinociceptive and smooth muscle contracting activities of the methanolic extract of Cassia tora leaf.  J Ethnopharmacol 2002;81:205-9. 

10.    พวงน้อย  โลหะขจรพันธ์.  การศึกษาฤทธิ์การฆ่าเชื้อบักเตรีและเชื้อราของสมุนไพรบางชนิด.  วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521.  

11.         Adamu HA, Abayeh OJ, Agho MO, Abdullahi AL, Uba A, Dukku HU, Wufem BM.  An ethnobotanical survey of Bauchi State herbal plants and their antimicrobial activity.  J Ethnopharmacol 2005;99:1-4. 

12.         Kanbutra P, Porntrakulpipat S, Borisutpeth P, et al.  Anti-bacterial activity of Thai medicinal plants on Escherichia coli (F18+). The 2nd International Conference on Medicinal Mushroom and The International Conference on Biodiversity and Bioactive Compounds, 17-19 July, Pattaya, Thailand, 2003.

13.         Lee H-S.  Inhibitory effects of quinizarin isolated from Cassia tora seeds against human intestinal bacteria and aflatoxin B1 biotransformation.  Journal of Microbiology and Biotechnology 2003;13(4):529-36. 

14.         Phongpaichit S, Pujenjob N, Rukachaisirikul V, Ongsakul M. Antifungal activity from leaf extracts of Cassia alata L., Cassia fistula L. And Cassia tora L.  Songklanakarin J Sci Technol 2004;26(5):741-8.    

15.         Mukherjee PK, Saha K, Saha BP, Pal M. Antifungal activities of leaf extract of Cassia tora Linn. (Fam. Leguminosae).  Phytother Res 1996;10(6):521-2.

16.    บัณฑิตย์  ลิมปนชัยพรกุล. คุณสมบัติของสมุนไพรบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง.  รวมบทคัดย่องานวิจัย การแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต, สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543. 

17.         Ito K, Ota N. Effects of vegetable drugs on pathogenic fungi. I Effects of anthraquinone-glycoside containing crude drugs upon the growth of pathogenic fungi.  Bull Pharm Research Inst Japan 1951;(2):23-9. 

18.         Kolatat T, Julkarat P. Effect of Cassia tora on kidney blood circulation. Siriraj Hosp Gaz 1973;25(3):434.

19.         Niranjan GS, Katiyar SK. Chemical examination and biological evaluation of proteins isolated from some wild legumes. J Indian Chem Soc 1981; 58: 70.

20.         Morimoto I, Watanabe F, Osawa T, Okitsu T, Kada T. Mutagenicity screening of crude drugs with Bacillus subtilis Rec-assay and Salmonella/ microsome reversion assay. Mutat Res 1982; 97: 81.

21.         สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.  คู่มือสมุนไพรประจำตู้ยา.  กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์.   มหาวิทยาลัยมหิดล, 2530. หน้า 70.